ส่อง 3 วิธีสร้างรายได้ในยุคดิจิทัล

แนะนำ 3 วิธีสร้างรายได้เสริมใหม่ในยุคดิจิทัล ด้วยการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน ให้มาช่วยสร้างโอกาสหารายได้ให้กับเรา ด้วยไอเดียแบบง่ายๆ ตามนี้

ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเรา นอกจากจะช่วยสร้างความบันเทิง และอำนวยความสะดวกให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้นแล้ว เทคโนโลยีก็ยังได้ช่วยสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับเรา หลายคนเลือกเป็นรายได้เสริม ได้เพิ่มเดือนละ 30,000 บาท จนถึงหลายแสนบาทต่อเดือน  และก็มีอีกหลายคนที่หันมายึดเป็นอาชีพหลัก พี่มิ้งค์ได้รวบรวมไอเดียแบบง่ายๆ ในการสร้างรายได้เสริม (หรือรายได้หลัก) ในยุคดิจิทัลมาฝากครับ

1.ขายสินค้าและบริการของคนอื่น

ไอเดียแรกทำได้เร็ว แค่เราใช้โซเชียลได้คล่อง จากนั้นติดต่อขอเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่อยู่แล้วในท้องตลาด ที่ฮิตๆ อย่างอาหารเสริมหรือเครื่องสำอาง แต่ถ้าใครเก่งภาษาและมีความรู้ไอทีมากหน่อย ก็อาจไปหาของไปขายใน eBay หรือเว็บประมูลออนไลน์ ซึ่งถ้าเป็นกลุ่มตลาดต่างชาติ เราก็สามารถหาสินค้าท้องถิ่นไปขายได้ อาทิ กางเกงนักมวย หรือพวกงานกระเป๋าผ้าทอพื้นเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น

หรือถ้าไม่ต้องการไปวิ่งหาของมาขาย ก็อาจเลือกขายของผ่านบริการ Dropship ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีสินค้าคงคลังให้เราเลือกขาย แล้วสามารถนำสินค้าไปโพสลงเว็บของเรา ทำการขายออนไลน์ได้ โดยเราไม่ต้องซื้อของตุน และเสียค่าเดินทาง ค่าส่ง เพราะทางบริษัทจะจัดการให้เราหมดทุกอย่าง ไอเดียการขายสินค้านี้ทำง่าย ไม่ต้องลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้ยุ่งยาก แต่ก็มีความเสี่ยงหากวันหนึ่งเจ้าของสินค้าลงมาขายแข่งกับเรา

2.รับรีวิวหรือขายโฆษณา

ถ้าคุณมีเพื่อนในโซเชียลเยอะ หรือเป็นคนมีดีในตัว ซึ่งในความหมายของพี่มิ้งค์ ก็หมายรวมถึงเป็นคนมีเนื้อหาสาระดี หรือเป็นคนที่มีหน้าตาดี (มีชัยไปว่าครึ่ง) แน่นอนว่าจะเขียนอะไร พูดอะไร หรือใช้(สินค้า)อะไรก็มีคนเชื่อ และอยากใช้ตาม ถ้าคุณเข้าข่ายที่ว่านี้ ก็อาจไม่จำเป็นต้องเป็นนายหน้าชายสินค้าแบบไอเดียแรก แต่เน้นรับรีวิวก็มีรายได้งามๆ เข้ากระเป๋าแล้ว

หลายคนก็อาจเลือกทางการทำวิดีโอคลิปดีๆ โดนๆ เพื่อให้คนตามดูเยอะๆ ซึ่งเราก็แค่ร่วมเป็น YouTube Partner เพื่อให้วิดีโอของเรามีโฆษณาคั่นก่อนที่จะให้แฟนคลับเราเข้าดูวิดีโอ โดยรายได้จะมาจากจำนวนการรับชมหรือการที่มีคนกดคลิกบนโฆษณานั่นเอง

3.ขายสินค้าจากฝีมือของเรา… คิดเอง ทำเอง และขายเอง

สำหรับคนที่มีฝีมือคุณสามารถแปลงฝีมือให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ขาย ตัวอย่างเช่นไปออกแบบเสื้อขายผ่านเว็บไซต์ Teespring.com หากมีคนสนใจมาสั่งซื้อเสื้อได้จำนวนขั้นต่ำ ทางบริษัท Teespring ก็จะทำการพิมพ์เสื้อ แล้วส่งให้เองโดยคุณไม่ต้องจ่ายค่าอะไรแถมยังได้ค่าออกแบบมาเป็นค่าขนม แต่สำหรับพี่มิ้งค์ถ้ามีฝีมือออกแบบนั้นก็จะเลือกผลิตเสื้อขายเอง โดยเน้นเสื้อตัวเดียวในโลก เพราะยุคนี้ใครๆ ก็อยากมีสไตล์หรือความโดดเด่น ซึ่ง Brent Luvaas นักวิจัยด้าน DIY Fashion จาก Drexel University (สหรัฐอเมริกา) ได้นิยามเสื้อผ้าลักษณะนี้ว่าเป็น Indie Fashion จากคุณสมบัติสำคัญเฉพาะตัว ใน 4 เรื่อง ซึ่งก็คือ Unique – มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร, Creative – เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์, Low budget – ต้นทุนต่ำ และ Low production – ผลิตในจำนวนจำกัด

ปัจจุบันก็มีเครื่องพิมพ์ผ้าที่ใช้งานง่ายอย่าง เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลรุ่น GTX จาก Brother ซึ่งถือเป็นเครื่องพิมพ์แบบ DTG (Direct to Garment) ที่ได้รับการยอมว่าใช้งานได้หลากหลายจากนักออกแบบผ้ามืออาชีพ เพราะสามารถพิมพ์ลายลงบนผ้าได้โดยตรง อาทิ เสื้อแขนสั้น เสื้อแขนยาว หมวก กระเป๋าผ้า ที่รอง หรือแม้แต่รองเท้า โดยเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลรุ่น GTX จาก Brother นั้น มีความละเอียดในการพิมพ์ 1,200 x 1,200 dpi น้ำหมึก Innobella Textile ที่ผ่านการทดสอบการซักล้าง มั่นใจได้ว่าปลอดภัย มีความคงทน และซักล้างได้ปกติ ทั้งยังใช้เวลาในการพิมพ์ผ้าไม่กี่นาที จึงทำให้เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลรุ่น GTX เป็นเครื่องมือช่วยสร้างรายได้ในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี

รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/DTGGTX