5 วิธีรับมือกับโซเชียล เมื่อพฤติกรรมผู้ใช้ถูกขาย แลกกำไรจากค่าโฆษณา

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นบนโซเชียลในช่วงนี้ ทำให้ผมตัดสินใจย้อนกลับดูเนื้อหาในสารคดี social dilemma อีกครั้ง เพราะมีหลายโมเมนต์ที่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตดีขึ้น แต่ผลกระทบที่ตามมาก็เป็นเรื่องที่คนต้องรู้เท่าทัน
.
สำหรับใครที่ยังไม่ได้ดู social dilemma เป็นสารคดีเรื่องหนึ่งบน Netflix ที่สะท้อนถึงความกังวลของกลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำงานอยู่เบื้องหลังของโซเชียลยอดนิยมอย่าง facebook Google Youtube IG Twitter ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสร้างความกังวลเรื่องจริยธรรมที่ไม่ถูกพูดถึง ขณะที่ผู้ใช้เองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญ
.
ในขณะที่เครื่องมือต่างๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมาย เชื่อมต่อคนเข้าด้วยกัน แต่พวกมันกลับถูกใช้ในมุมที่คนไม่คาดคิด เทคโนโลยีหลายตัวที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อดึงให้คนใช้ชีวิตอยู่บนเพลตฟอร์มให้นานที่สุด ด้วยกลไกกระตุ้นให้เชื่อมต่อกับเพื่อนผ่านการแจ้งเตือน แท็กรูป ซึ่งบางครั้งเราก็ไม่ได้ต้องการ แต่สุดท้ายก็ต้องติดอยู่กับกับดักของเนื้อหาแบบไม่เต็มใจ ซ้ำร้ายถึงขั้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ในลักษณะของการชักใยอยู่เบื้องหลัง แบบที่ไม่ทันรู้ตัว
.
การดึงความสนใจของผู้ใช้ด้วยเทคนิคต่างๆ ทำให้บริษัทโฆษณายอมจ่ายเงินแบบไม่มีเงื่อนไข เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ โดยรับประกันได้ว่าจะประสบความสำเร็จ ประเด็นการหารายได้จากความสนใจของผู้ใช้งาน ถูกหยิบมาตั้งคำถามว่ามันถูกต้องแล้วเหรอ
.
ผลกระทบของโซเชียลมีเดียที่หลายคนมองข้าม การสอดแนม แกะรอย ประเมินพฤติกรรมผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า AI ซึ่งสิ่งที่ได้ไปไม่ใช่เแค่ข้อมูลส่วนตัว แต่เป็นพฤติกรรมของผู้ใช้บนโลกออนไลน์ อัลกอรึทึมถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้พฤติกรรมเป้าหมาย เริ่มอยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ ทุกครั้งที่คอนเมนท์ ดูวีดีโอ โฆษณาที่คุณสนใจจะถูกแทรกเข้าไป เพื่อหารายได้ให้กับแพลตฟอร์ม
.
วัฒนธรรมของการชักใยได้แพร่ขยายอย่างรวดเร็วในกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับโซเชียล
.
ซ้ำร้าย เทคโนโลยีที่สร้างโดยอาศัยหลักจิตวิทยาของการจูงใจ เป็นพื้นฐานของนักพัฒนาของแพลตฟอร์มบนโซเชียล วิศวกรที่มีหน้าที่แฮกจิตวิทยามนุษย์ เพื่อสร้างการ conversation พวกเขาทำการทดลอง A/B testing หลายต่อหลายครั้ง เพื่อทดสอบฟีเจอร์บางอย่างที่ส่งผลในระยะยาว โดยใช้คนเป็นหนูทดลอง แต่ผลประโยชน์หรือกำไรตกอยู่กับเพลตฟอร์ม
.
การควบคุม ในแบบเสพติด ทำให้ผู้ใช้ตกเป็นเหยื่อ ฟีเจอร์ที่จะช่วยสร้างโดพามีนให้คนรู้สึกมีความสุข ถูกปล่อยออกมาใช้งาน โดยที่แนวคิดนี้กำลังแพร่ขยายไปบนโซเซียลมีเดียอื่นๆ อย่างรวดเร็ว หลายโซเชียลเดินหน้าต่อทั้งๆ ที่รู้ว่ามันสร้างผลกระทบ
.
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับสังคมทุกวันนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโซเชียลมีส่วนแทรกแซงแนวคิดทางการเมือง สร้างผลกระทบต่อพฤติกรรมในชีวิตจริง และใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนจิตใจมนุษย์ ที่ถึงแม้ผู้พัฒนาจะรู้ถึงผลกระทบ แต่ก็ยังทำอยู่ดี
.
ค่านิยมจอมปลอม การมีตัวตนและการยอมรับในกลุ่มคนหมู่มาก ได้สร้างความเปราะบางกับจิตใจ เด็กวัยรุ่นที่โตมากับโซเชียล สถิติผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หลังปี 2011 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เด็กทำร้ายตัวเอง และฆ่าตัวตายสูงขึ้นในเด็กอายุน้อยลง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกำลังบอกอะไร
.
ข้อมูลต่างกันที่ได้จากการเสริช เนื้อหาเปลี่ยนไปตามความสนใจ ผลลัพธ์ไม่ได้ขึ้นกับความจริง แต่ขึ้นอยู่กับสถานที่และความสนใจ กำลังสร้างแนวคิดแบบสุดโต่ง สร้างความรุนแรง เมื่อข้อมูลที่เห็นต่างกัน การแตกแยกทางความคิด แบ่งขั้วทางการเมือง กำลังเป็นปัญหาในหลายประเทศรวมถึงไทย
.
เทคโนโลยีฉลาดมากพอที่จะโน้มน้าวให้คนหลงเชื่อ ข่าวปลอมเกี่ยวกับไวรัส ต่อต้านวัคซีน ไม่สวมหน้ากาก หรือไม่ชื่อว่าโลกร้อน เกิดเป็นกลุ่มก้อนความคิดที่เหมือนกัน การแพร่ขยายของข่าวปลอม ที่เกิดจากอัลกอรึทึม เมื่อคุณเริ่มสนใจ ระบบแนะนำข่าวปลอมในลักษณะเดียวกันขึ้นมาบนหน้าฟีด ทำให้ถูกชักจูงใจได้ง่าย และเกิดความเชื่อโดยได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบ
.
หลายครั้งที่ทฤษฎีสมคบคิดเกิดจากระบบ recomendation ที่มีเนื้อหาน่าสนใจกว่าข่าวจริงที่น่าเบื่อ ทำให้คนเริ่มแยกไม่ออกไม่รู้ว่าอะไรจริง หรือลวง และพร้อมที่จะหลงเชื่อแบบไม่ใช้วิจารณญาณ ไม่มีการกลั่นกรอง
.
เมื่อเทคโนโลยีเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ถึงแม้ AI จะฉลาด แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ตราบใดที่คนยังไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี สิ่งที่ผู้ใช้ควรเรียนรู้และปรับเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อโซเชียล เริ่มต้นได้จากการปรับพฤติกรรมตาม 5 ข้อนี้
.
1. กำหนดเวลาใช้งานโซเชียล และเพิ่มเวลามีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว
2. ปิดแจ้งเตือน ปิดระบบแนะนำ อย่ากดรับวีดีโอที่ระบบแนะนำ หรือ Recommend มาให้
3. ล้างคุ๊กกี้เป็นประจำ หรือเลือกใช้เบราเซอร์ที่ไม่เก็บประวัติการค้นหา
4. เปิดรับข้อมูลรอบด้าน เพื่อเข้าใจในข้อมูลที่แตกต่าง
5. อย่าแชร์ จนกว่าจะแน่ใจว่าได้ตรวจสอบข้อมูล และแหล่งที่มาแล้ว
 .
Tip : กดอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และมีส่วนร่วมกด รีแอ็คชั่น หรือแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ AI รู้ว่าเรากำลังสนใจ และพร้อมที่จะ ฟีด เนื้อหาดูๆ ขึ้นมาบนฟีคของเรา
.
ศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจผลกระทบของโซเซียลผ่านตัวอย่างเคสในสารคดี Social Deliamma ได้ใน Netflix
.