มหากาพย์สงครามเทค ถอดปมบาดหมาง ปลุกยักษ์ให้ตื่น

สงครามเทค

คิดว่าหลายคนน่าจะรู้เรื่องความบาดหมางระหว่างสหรัฐและหัวเว่ยกันมาบ้าง แต่คิดว่าหลายคนน่าจะอยากรู้จุดเริ่มต้นของยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีนี้ รวมทั้งจุดเริ่มต้นความบาดหมางจนต้องตัดความสัมพันธ์กันและทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกดิ่งฮวบ

ผมจะขอเล่าถึง เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย  เขาก่อตั้งหัวเว่ยขึ้นในปี 1987 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น โดยเริ่มทำธุรกิจหลายอย่างตั้งแต่อุปกรณ์เตือนสัญญาณไฟใหม้ ไปจนถึงขายยาลดความอ้วน และธุรกิจที่ทำให้หัวเว่ยลืมตาอ้าปากได้ นั่นคือทำตู้สาขาโทรศัพท์ แม้จะมีบริษัทคู่แข่งในจีนมากกว่าสองร้อยราย แต่หัวเว่ยมีจุดเด่นด้านราคาและบริการหลังการขาย จึงทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเพียงปีเดียวก็ทำยอดขายทะลุร้อยล้านหยวน

ด้วย Passion ยิ่งใหญ่ ที่ต้องการจะทำให้จีนมีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นของตนเอง จึงได้ทุ่มทุนไปกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อลดการผูกขาดที่ต้องใช้เทคโนโลยีต่างชาติ หลังจากทีจีนแพ้สงครามฝิ่นกับอังกฤษ และต้องเซ็นต์สนธิสัญญาหนานจิง สัญญาทาศที่ให้ชาติยุโรปเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ในประเทศอย่างเสรี

เหริน เจิ้งเฟย ในตอนนั้นเป็นเหมือนมังกรที่กำลังผยองที่ไม่ได้พอใจแค่การเอาชนะบริษัทสัญชาติเดียวกัน เขาต้องการที่จะแข่งกับริษัทต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจโทรคมนาคมในจีน อย่างเอ็นอีซีและฟูจิตสึของญี่ปุ่น ลูเซนท์ของอเมริกา ซีเมนส์ของเยอรมัน เบลล์ของเบลเยียม อิริคสันของสวีเดน และอัลคาเทลของฝรั่งเศส

ประมาณปี 1992 หัวเว่ยได้ก่อตั้งสำนักงานในซิลิคอนวัลเลย์ เพื่อตั้งศูนย์วิจัยสำหรับออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย โดยตั้งเป้าจะผลิตผลิตตู้สาขาโทรศัพท์ที่สามารถควบคุมด้วยโปรแกรมได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่มากในยุคนั้น

แต่การวิจัยนี้กินงบประมาณมหาศาล จนทำให้เงินในที่มีนั้นหร่อยหรอลงอย่างหนัก และธนาคารหลายแห่งในเซินเจิ้น ไม่มีใครยอมปล่อยกู้ให้กับเรื่องเพ้อฝันนี้อีกต่อไป

สิ่งนี้ส่งผลถึงพนักงานว่า บริษัทจะไปรอดได้หรือไม่ แต่เหริน เจิ้งเฟย แก้ปัญหาด้วยนำพนักงานที่เหลืออยู่เข้ามาถือหุ้นบริษัทหัวเว่ยเพื่อแบ่งเบาภาระพร้อมทั้งหาลู่ทางขอความช่วยเหลือไปยังรัฐบาลจีน

จนในที่สุด ธนาคารจีนกลับมาปล่อยกู้ได้อีกครั้ง เป็นการต่อลมหายใจเฮือกสุดท้ายให้กับหัวเว่ย และเหริน เจิ้งเฟย ได้ประกาศสู้แบบหลังชนฝา พูดปลุกใจพนักงาน “หากการวิจัยครั้งนี้วิจัยนี้ล้มเหลว เขาจะปลิดชีวิตตัวเองทันที”

จนในปี 1993 หัวเว่ยประกาศความสำเร็จในการสร้างเทคโนโลยีที่ล้ำอนาคตได้ แต่ปัญหาไม่เคยหมดไป เพราะตู้โทรศัพท์นี้มันใหม่เกิน และบริษัทส่วนใหญ่ในจีนยังมั่นใจเทคโนโลยีของต่างชาติอยู่

เขาจึงเริ่มพาขุนพลของตัวเองไปแอบซุ่มทำศึกอยู่ตามตลาดชนบทที่บริษัทข้ามชาติพวกนั้นไม่ถึง และเขาสามารถสร้างฐานลูกค้าจากจุดนั้นและเติบโตขึ้นมาจนได้รับการยอมรับจากนานาบริษัท

เริ่มมุ่งสู่ระดับโลก

เมื่อหัวเว่ยเติบโตภายในประเทศเป็นผลสำเร็จ ก็เริ่มขยายได้ตลาดไปต่างประเทศ แต่ก็เจอปัญหาเดิมคือ ไม่มีใครต้อนรับสินค้าจากจีน เพราะไม่มีใครเชื่อว่าจีนจะสามารถผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมได้เอง ทำให้หัวเว่ยต้องเน้นทำตลาดในถิ่นทุรกันดานล้าหลังที่บริษัทไอทีส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากเข้าไป อย่างในเอฟฟริกาที่มีโรคระบาดหนัก หรือ ตะวันออกกลางที่มีแต่สงคราม

ด้วยกลยุทธแบบนี้ ทำให้หัวเว่ยเฉิดฉายอย่างมากในปี 1994 และกลายเป็นที่รู้จักของนานาประเทศ จากการที่ได้เข้าไปจัดแสดงนวัตกรรมในงานการสื่อสารโทรคมนาคมนานาชาติที่ปักกิ่งและเป็นบริษัทเดียวที่ปักธงของประเทศจีน จากนี้คงไม่ต้องบอกว่าบริษัทนี้จะไปต่อได้ไกลแค่นั้น

ความบาดหมางกับสหรัฐ

ถ้าให้บอกว่าเรื่องบาดหมางนี้คืออะไร ต้องบอกว่ามีหลายเรื่องที่เกิดขึ้น และแต่ละเรื่องก็ไม่สามารถบอกได้ชัดสักไหร่ครับ แต่ก็ไม่สามารถหาสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกแล้ว

เรื่องที่ 1 : เหริน เจิ้งเฟย ขึ้นแท่นผู้ทรงอิทธิพลในนิตยสาร Time

นับเป็นจุดเริ่งต้นของเรื่องราวทั้งหมด โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 2005 ที่เหริน เจิ้งเฟย ขึ้นแท่น 1 ในเบุคคลผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของโลกในนิตยสารชื่อดังของอเมริกาอย่าง Time โดยเป็นม้ามืดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมายืนเคียงข้าง คนดังในโลกไอทีอย่าง บิล เกตส์, สตีฟ จ๊อบ, แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ทำให้ เหริน เจิ้งเฟยในขณะนั้นตกเป็นเป้าหมายของสหรัฐทันที เนื่องจากสินค้าที่เหริน เจิ้งเฟยขาย เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่อาจควบคุมการสื่อสารของโลกได้

และเมื่อเขาเริ่มนำเทคโนโลยีเข้าไปเปิดในตลาดยุโรป แน่นอนก็โดนสกัดกั้นจากอเมริกาทันที

เรื่องที่ 2 หัวเว่ยพยายามกว้านซื้อบริษัทในสหรัฐ

ต้องบอกว่าเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่หัวเว่ยไม่ได้ตั้งใจจะกวนโอ้ยอเมริกาสักเท่าไหร่ เพราะวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีของหัวเว่ย นอกจากจะวิจัยด้วยตัวเองแล้ว ยังกว้านซื้อบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทที่กำลังจะล้มละลายเพื่อเอาเทคโนโลยีมาพัฒนาต่อให้เกิดความสำเร็จ

หลายต่อหลายครั้งที่หัวเว่ยพยายามเข้าซื้อ ก็ถูกสหรัฐเข้าไปขวางจนดีลล่มทุกครั้ง ซึ่งเป็นเหมือนการเตือนว่า จะไม่ให้หัวเว่ยเข้ามาทำธุรกิจโทรคมนาคมในสหรัฐอย่างเด็ดขาด

เรื่องที่ 3 : อเมริกายืมมือแคนนาดาจับ เมิ่ง หวันโจวลูกสาวของผู้บริหารหัวเว่ยเมื่อปี 2018

อเมริกาแจ้งข้อหาว่า เมิ่ง หวันโจว แจ้งข้อมูลการทำธุรกิจอันเป็นเท็จเพื่อปิดบังการทำธุรกิจกับอิหร่าน ซึ่งเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐ อ้างเรื่องความมั่นคงของชาติ และเธอก็ถูกส่งตัวไปยังสหรัฐโดยอ้างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่เราก็รู้ดีว่ามันเป็นแค่ข้อหาบังหน้าที่ต้องการจะหยุดจีนไม่ให้ทำธุรกิจโทรคมนาคมในยุโรป

เรื่องที่ 4 : จีนสั่งประหารผู้ต้องหาค้ายาชาวแคนาดา

หลังจากที่ลูกสาวของผู้ก่อตั้งหัวเว่ยถูกจับในแคนนาดา จากนั้นก็เกิดเรื่องขึ้นในจีน โดยได้ตั้งข้อกล่าวหาขนยาเสพติดให้กับนาย ลอลอยด์ เชลเลนเบิร์ก ชาวแคนนาดาวัย 36 ปี โดยพบหลักฐานเชื่อมโยงต่าง ๆ มากมาย และการพิจารณาคดีถึงที่สุดคือการประหารชีวิต ทำให้เรื่องนี้สร้างสัมพันธ์ร้าวฉานระหว่างแคนนาดากับจีนมากขึ้นในตอนนั้น

หลังจากนั้นก็มีข่าวว่า เมิ่ง หวันโจว ถูกสหรัฐบีบบังคับให้ยอมรับข้อกล่าวหาที่อ้างว่าเธอส่งข้อมูลความลับของสหรัฐให้กับหัวเว่ย โดยแลกกับการปล่อยตัวกลับมายังบ้านเกิดที่จีน แต่เมิ่ง หวันโจวไม่รับ เพราะสหรัฐไม่มีหลักฐาน ๆ ใดที่จะบอกได้ว่าเธอส่งข้อมูลความลับกลับมาที่จีน เป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้างเท่านั้น

เรื่องที่ 5 : สหรัฐแบนจีน โดยอ้างว่าอุปกรณ์ของหัวเว่ย มีการส่งข้อมูลกลับไปที่จีน

โดยสหรัฐอ้างว่า อุปกรณ์ของหัวเว่ยไม่มีความปลอดภัย เพราะ “อาจ” มีการส่งข้อมูลกลับไปจีนแบบลับ ๆ รวมทั้งอ้างว่ามีการขโมยเทคโนโลยีและลอกเลียนแบบเทคโนโลยีจากบริษัทในสหรัฐ แต่ถึงกระนั้น สหรัฐก็ไม่สามารถหาหลักฐานใด ๆ มายืนยันเรื่องนี้ จนหัวต้องออกมาตรตอบโต้ผ่านโซเชี่ยลว่า “Don’t believe everything you hear Come and see us” เป็นการเชิญชวนสื่อต่าง ๆ จากทั่วโลกให้มาดูเทคโนโลยีหัวเว่ยด้วยตัวเอง หากคิดว่าอุปกรณ์ของเราไม่ปลอดภัย

และสำหรับข้อหา การลอกเลียนแบบสินค้า หากมองในจุดที่เราอยู่ตรงกลาง ต้องยอมรับว่า ในโลกนี้มีการลอกเลียนสินค้ากันมานาน โดยวิธีก็คือหยิบมาแกะดู พอรู้ ก็นำมาพัฒนาต่อให้ดีกว่าเดิม หรือไม่ก็เข้าซื้อบริษัทที่เทคโนโลยีนั้นอยู่ แล้วก็นำมาพัฒนาต่อเลย ซึ่งวิธีที่สองดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง หากไม่โดนกีดกันโดยไร้เหตุผล

นับจากจีนพยายามฟื้นฟูประเทศตามนโยบายของเติ้งเสี่ยวผิง จีนได้ปฏิบัติตามกลยุทธ์การพัฒนาเช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ แต่จีนกลับเป็นประเทศเดียวที่โดนกล่าวหาว่าขโมยเทคโนโลยี แต่เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ และปฏิเสธอำนาจการครอบงำของอเมริกาที่คิดจะบริหารโลก จึงทำให้จีนโดนมาตรการแรงแบบนี้

เรื่องที่ 6 สหรัฐกลัว 5G จากจีน

เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่น่าจะเห็นได้ชัดว่า ทำไมสหรัฐถึงต้องกีดกันจีนไม่ให้เข้ามาทำตลาดโทรคมนาคมในยุโรป เพราะที่ผ่านมา บริษัทในยุปโรปหลายแห่งรวมทั้งอเมริกาเป็นผู้นำด้านอุปกรณ์โทรคมนาคมมาตลอด

หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า Cisco (USA) เคยฟ้องศาลว่า หัวเว่ย (China) ขโมยเทคโนโยลีเครือข่ายจากตนไป โดยสหรัฐยื่นข้อเรียกร้องให้หัวเว่ยร่วมพัฒนาเครือข่าย 5G กับตน เพื่อป้องกันความปลอดภัย แต่หัวเว่ยปฏิเสธ เพราะรู้ว่าดีลนี้จะทำให้สหรัฐเข้ามาขโมยความลับในเทคโนโลยีของตน จากนั้นจึงเกิดการฟ้องร้องกันเรื่อยมาจนท้ายที่สุด หัวเว่ยเป็นผู้ชนะคดีด้วยวิธีการสากล และชนะที่ศาลสหรัฐ โดยวิธีการของสหรัฐ หากเป็นภาษาบอลก็คงบอกว่า แพ้คาบ้านนั่นเอง

นี่จึงเป็นเหตุลผลที่สหรัฐกีดกันด้วยวิธีอื่นในทุกวิถีทาง และพยายามห้ามประเทศสมาชิก ไม่ให้ใช้อุปกรณ์จากหัวเว่ยด้วยเช่นกัน แถมตั้งตัวเป็นศัตรูกับประเทศที่ยังดึงดันจะใช้ จนทำให้รัฐบาลบางประเทศ ต้องปรับเปลี่ยนโนบายเร่งด่วน
แต่ที่ฮือฮาที่สุดคือ ไปเป่าหูอินเดียว่า ไม่ให้ช้อุปกรณ์จากหัวเว่ย โดยอ้างเรื่องความปลอดภัย และอาศัยช่วงเวลาที่อินเดียกำลังบาดหมางกับจีนเป็นเหตุการณ์เสริม

แต่อินเดียตอบกลับมาว่า “อินเดียมีสิทธิ์ที่จะตัดสินในการเลือกอุปกรณ์เอง” และเรามีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี จนทำให้สหรัฐหน้าชาไปเต็ม ๆ

ปัจจุบันอุปกรณ์โทรคมนาคม (5G) ของหัวเว่ยไปที่นิยมไปทั่วโลก แม้แต่ในยุโรปบางประเทศ ด้วยราคาที่ถูกกว่าและสเปคสูงกว่า หากเทียบกับอุปกรณ์จากบริษัทอเมริกา

เรื่องที่ 8 : Apple Vs Huawei

ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน และการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Smart phone ของจีนในขณะนั้นล้ำหน้าไปมาก จนทำให้ Smart phone ของหัวเว่ยขึ้นแท่นมือถือที่ดีสุด

หลายคนอาจคิดว่า สหรัฐกลัวว่า Smart phone จากหัวเว่ยจะเข้ามาตีตลาดโลกจนทำให้ Apple ยอดขายตก ถ้ามองแบบนั้น มันก็เรื่องจริงแหละครับ เพราะยอด Apple ลดลงเยอะในวันที่หัวเว่ยเติบโตสุด แต่คิดว่านี่คงไม่ใช่เหตุผลที่สหรัฐจ้องเล่นงานหัวเว่ยหรอก เพราะหากเป็นเช่นนี้จริง ทำไม Smart phone แบรนด์อื่น ๆ ในเอเชียถึงยังไม่โดนบ้างอย่าง Samsung , Oppo หรือ Xiaomi

(แม้ Xiaomi จะเคยโดนแบน แต่ปัจจุบันก็ปลดแบนไปเรียบร้อย)

หัวเว่ยจะทำอย่างไรต่อไปในวันที่โดนแบน

ต้องแยกออกเป็นสองธุรกิจนะครับ เพราะหัวเว่ยมีธุรกิจสองอย่างหลักที่ทำกำไรมากที่สุด นั่นคือ Smartphone และ อุปกรณ์เครือข่าย

หากมองในมุม Smartphone ยอดขายของหัวเว่ยตกลงอย่างมาก โดยดูจากตัวเลขของการ์ทเนอร์เมื่อปีปลายปี 2563 ในช่วงที่ Apple เปิดตัว iPhone 12 โดยหัวเว่ยขาย Smartphone ได้เพียง 34.3 ล้านเครื่อง เทียบกับ Apple ที่ขายได้มากถึง 79.9 ล้านเครื่อง

และต่อจากนี้ Smart phone ของหัวเว่ยจะไม่มี Google Service ไปอีกนาน หรืออาจจะไม่มีวันกลับมาใช้ได้อีกเลย แม้จะการผลัดเปลี่ยนทีมบริหารของสหรัฐ โจ ไบเดนก็ยังยืนยันจะแบนหัวเว่ยต่อไปครับ

และในวันที่ตลาด Smartphone ของหัวเว่ย จะอยู่รอดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าหัวเว่ยจะพัฒนาระปฎิบัติการของตัวเอง รวมทั้งบริการอื่น ๆ ขึ้นมาให้เทียบเท่า Google ได้ทันเวลาไหม หรือนี่จะเป็นการปลุกยักษ์ตัวใหม่ให้ตื่นขึ้นหรือเปล่า หรือท้ายที่สุดแล้ว จะต้องยอมรับและปล่อยให้ Smartphone ของหัวเว่ยเหลือแค่ชื่อเท่านั้น

ทางรอดของหัวเว่ย พัฒนา 5G ให้ดีและล้ำหนาที่สุด

ในตลาดของอุปกรณ์เครือข่าย ต้องยอมรับว่าตอนนี้ หัวเว่ยเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของโลก ด้วยอุปกรณ์ที่ล้ำสมัยและมีราคาถูก ทำให้นานาประเทศเริ่มเมินคำเตือนจากสหรัฐ รวมทั้งประเทศไทยด้วยเช่นกัน

และจากนี้หัวเว่ยวางแผนจะพัฒนา 5.5G ซึ่งมันจะมีประสิทธิภาพมากกว่า 5G ถึง 40 เท่า และนั่นจะเพียงพอต่อความต้องการไปอีกหลายสิบปี ดังนั้นธุรกิจอุปกรณ์โทรคมนาคมจึงเป็นทางรอดของหัวเว่ยนับจากนี้ครับ