กระจกเซรามิก เทคโนโลยีเก็บข้อมูลสุดทน อาจเก็บได้นาน 5,000 ปี

กระจกเซรามิก

ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับปริมาณข้อมูลมหาศาลที่ต้องจัดเก็บในระยะยาว บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติเยอรมันชื่อ Cerabyte กำลังพัฒนาเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ใช้กระจกเซรามิก ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่ยั่งยืน

หลักการทำงานคือ

ใช้กระจกเป็นฐาน และเคลือบด้วยชั้นเซรามิกที่บางมาก (ประมาณ 50-100 อะตอม อาจจะบางกว่าเส้นผมประมาณ 2,500 ถึง 20,000 เท่า) จากก็นั้นใช้เลเซอร์ความเร็วสูง ยิงข้อมูลลงไปเป็นรูขนาดนาโนเมตรบนชั้นเซรามิก

1.ความทนทานสุดขีด ซึ่ง Cerabyte ได้ทดสอบความทน

จุดเด่นคือ

ทานด้วยวิธีสุดโหด เช่น นำแผ่นเก็บข้อมูลไปต้มในน้ำเดือดและอบในเตาอบพิซซ่า ผลปรากฏว่าข้อมูลยังคงอยู่ครบถ้วน ไม่เสียหาย

2.อายุการใช้งานยาวนานมาก บริษัทคาดการณ์ว่าสามารถเก็บข้อมูลได้นานถึง 5,000 ปี หรือมากกว่านั้น เพราะมันทนทานต่อความร้อน, น้ำ, ไฟ, รังสี และแม้แต่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ต่างจากเทปแม่เหล็กหรือฮาร์ดดิสก์ที่เสื่อมสภาพในหลักสิบปีและต้องคอยย้ายข้อมูลบ่อยๆ

3.ราคาถูก โดยบริษัทตั้งเป้าลดต้นทุนการจัดเก็บข้อมูลระยะยาว ให้เหลือต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อเทราไบต์ ภายในปี 2030 (ถูกมากนะ)

4.ไม่ต้องบำรุงรักษา นี่คือจุดเด่นที่สุดของฟิล์มเซรามิกนี้  และไม่ต้องใช้พลังงานในการดูแลรักษา หรือต้องคอยย้ายข้อมูลเหมือนสื่อเก็บข้อมูลแบบเดิม

ในอนาคต Cerabyte มีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น CeraTape ซึ่งเป็นรูปแบบเทปที่สามารถเก็บข้อมูลได้ในระดับ และทำงานร่วมกับระบบจัดเก็บอัตโนมัติที่มีอยู่ได้

แม้จะยังต้องรอการพิสูจน์ในระยะยาว แต่เทคโนโลยีกระจกเซรามิกของ Cerabyte ก็ทำให้เห็นแล้วว่า มันศักยภาพในการเป็นอนาคตของการจัดเก็บข้อมูลระยะยาว ที่ทั้งทนทาน ยั่งยืน และประหยัดกว่าเดิมมาก

ที่มา

https://www.techspot.com/news/107788-future-data-storage-might-ceramic-glass-can-last.html