SPU สุดครีเอท เรียนโลจิสติกส์ผ่านบอร์ดเกมและ VR รายแรก เอาใจคนรุ่นใหม่เรียนไม่น่าเบื่อ มีงานรองรับ รายได้สูง

เปิดประสบการณ์ใหม่ วิทยาลัยโลจิสติกส์ ม.ศรีปทุม นำบอร์ดเกมและ VR ยกระดับการเรียนการสอน เสริมทักษะนักศึกษา ตอบโจทย์ตลาดแรงงานอนาคต อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มูลค่ากว่า 3.1 ล้านล้านบาท โตต่อเนื่อง งานมั่นคง รายได้สูง พร้อมรองรับแรงงานกว่า 6.6 ล้านคน เพิ่มโอกาสเติบโตในสายงานโลจิสติกส์ ยกระดับไทยสู่ศูนย์กลางซัพพลายเชนระดับโลก เผยที่ผ่านมามีบัณฑิตเรียนจบแล้วกว่า 4,000 คน มีอัตราการได้งานทำสูงถึง 98.2%

ผศ.ดร.ธรินี มณีศรี คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า คณะได้เดินหน้ายกระดับการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ นำ “บอร์ดเกม” และ “เทคโนโลยี VR” มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์จริง เรียนรู้แนวคิดเชิงลึกอย่างสนุกสนาน พร้อมเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การนำบอร์ดเกมเข้ามาประยุกต์ใช้จึงเป็นแนวทางที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้แนวคิดโลจิสติกส์ได้อย่างเป็นระบบและเข้าใจง่ายขึ้น บอร์ดเกมที่พัฒนาขึ้นใช้ระยะเวลากว่า 6 ปี ร่วมกับคณะดิจิทัลมีเดีย  เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาการและสามารถนำไปใช้จริงในอุตสาหกรรมซึ่งบอร์ดเกม เปลี่ยนความรู้ทฤษฎีให้เป็นประสบการณ์จริง

“บอร์ดเกมของเราถูกออกแบบมาให้เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ โดยนักศึกษาจะได้ทดลองวางแผนและแก้ไขปัญหาเชิงลึกในซัพพลายเชน ทำให้พวกเขาไม่เพียงแค่เข้าใจทฤษฎี แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในโลกของธุรกิจ” ผศ.ดร.ธรินี กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบบอร์ดเกมให้เหมาะกับนักเรียนระดับมัธยมต้นถึงมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการใช้แผนที่ประเทศไทยเป็นฐานข้อมูลสำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดวางตำแหน่งคลังสินค้า การกระจายสินค้า และการบริหารโซ่อุปทานในบริบทของประเทศไทย

นอกจากบอร์ดเกมแล้ว เทคโนโลยี VR ยังถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์จริงในโลกเสมือน เช่น การจัดการคลังสินค้า การวางแผนเส้นทางขนส่ง และการจำลองสถานการณ์ในซัพพลายเชนแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นในสายงานโลจิสติกส์ยุคใหม่ เป็นการนำเทคโนโลยี VR สัมผัสประสบการณ์โลจิสติกส์เสมือนจริง

นอกจากการออกแบบการเรียนให้ไม่น่าเบื่อตอบโจทย์คนยุคใหม่  ในสายงานนี้ยังมีโอกาสในการได้งานสูงเนื่องจากแนวโน้มอุตสาหกรรมที่เติบโต ตลาดโลจิสติกส์ของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 ล้านล้านบาทภายในปี 2569 ควบคู่ไปกับจำนวนแรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มจาก 5.7 ล้านคน เป็น 6.6 ล้านคน ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในการทำงานที่กว้างขวางและมั่นคง

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ยังต้องการแรงงานที่มีทักษะสูงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในด้านการบริหารซัพพลายเชน การวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติผ่านเทคโนโลยีล้ำสมัยนี้ จึงช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมสำหรับการทำงานจริง และสามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“คณะต้องการสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถรอบด้าน พร้อมรับมือกับความท้าทายของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์สมัยใหม่ เทคโนโลยีที่เรานำมาใช้จะช่วยให้นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะได้อย่างลึกซึ้งและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน” ผศ.ดร.ธรินี กล่าวเสริม

มหาวิทยาลัยศรีปทุมมุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการเรียนการสอนให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน และพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยไปสู่ระดับสากล

“เราต้องการสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถรอบด้าน พร้อมรับมือกับความท้าทายของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์สมัยใหม่ เทคโนโลยีที่เรานำมาใช้จะช่วยให้นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะได้อย่างลึกซึ้งและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน” ผศ.ดร.ธรินี กล่าวเสริม

ทั้งนี้ที่ผ่านมามีนักศึกษาสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุมแล้วกว่า 4,000 คน ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา โดยมีอัตราการได้งานทำสูงถึง 98.2% บางคนสามารถเรียนและทำงานควบคู่กับสถานประกอบการ มีรายได้ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ปัจจุบันวิทยาลัยเปิดสอนทั้งหมด 3 หลักสูตร ครอบคลุมทั้งระดับปริญญาตรี โท และเปิดการเรียนการสอนใน 3 แห่ง ในภูมิภาคสำคัญด้านโลจิสติกส์ของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพ ชลบุรี และขอนแก่น  ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีปทุมมุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการเรียนการสอนให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน และพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยไปสู่ระดับสากล