เบื้องหลังเครือข่าย 5G กางแผน Ericsson หนุนแกนหลักเศรษฐกิจ AI 

ทุกคนรู้ไหมครับว่า เครือข่าย 5G ที่เราใช้งานกันอยู่ ไม่ได้พึ่งพาแค่คลื่นที่ค่ายมือถือประมูลได้จาก กสทช. แต่การจะเอาคลื่นนั้น ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานของเสาสัญญาณ 5G  โดย Ericsson คือหนึ่งในบริษัทที่อยู่เบื้องหลังการให้บริการดังกล่าว

5G Standalone ประสิทธิภาพขั้นสุดของ 5G

ข้อมูลจากคุณ แอนเดอร์ส เรียนผู้บริหารของ Ericsson บอกว่า ปัจจุบัน การใช้งาน 5G Standalone หรือ 5G SA นั้นยังมีไม่มากพอในประเทศไทย มีการใช้งานเป็นจุด ๆ โดยเฉพาะจุดที่มีคนหน้าแน่ ทำให้โอเปอเรเตอร์ ยังไม่สามารถใช้คลื่นที่มีอยู่ในเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้

โดยในไทย ส่วนใหญ่ยังมีการใช้งานเป็น 5G NSA หรือ Non – Standalone  เป็น 5G แบบลูกผสม หรือการเกาะ 4G ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน ผู้ให้บริการจะติดตั้งเสาสัญญาณ 5G ใหม่ แต่ยังคงใช้ระบบประมวลผลกลางหรือเครือข่ายแกนหลัก (Core Network) ของ 4G อยู่ ผลที่ได้คือความเร็วในการดาวน์โหลดที่สูงขึ้น แต่ความสามารถอื่นๆ ของ 5G ยังไม่ถูกปลดล็อกออกมาเต็มที่

Mid brand คลื่นความถี่ทองคำสำหรับ 5G

จริงไทย ๆ ประเทศไทยถือว่ามีคลื่นความถี่ย่านกลาง (Mid-Band) ที่นำมาให้บริการ 4G และ 5G หลากหลายย่านความถี่  โดยคลื่น 2600 MHz คือคลื่น Mid-Band ที่เป็นหัวใจหลักของ 5G ในประเทศไทยปัจจุบัน เพราะมีปริมาณความกว้างของคลื่นที่มากพอจะให้ความเร็วสูงได้ ซึ่งผู้ให้บริการทั้งสองรายก็นำมาใช้งาน
ถึงแม้เราจะมีหลายย่านความถี่ แต่ประเทศไทยยัง ไม่มี คลื่น 3500 MHz (หรือ 3.5 GHz) สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งคลื่นย่านนี้คือ คลื่น 5G หลักที่ทั่วโลกใช้งานกันมากที่สุด

โดยคลื่น 3.5 GHz เป็นคลื่นที่มี Ecosystem ของอุปกรณ์และเทคโนโลยีรองรับกว้างขวางที่สุด และมีคุณสมบัติที่สมดุลอย่างยิ่งในการทำ 5G ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การที่ไทยยังไม่มีคลื่นย่านนี้ ทำให้ศักยภาพ 5G ของเรายังไม่ถูกปลดล็อกเต็มที่เมื่อเทียบกับประเทศผู้นำ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ความเร็ว 5G เฉลี่ยของไทยยังตามหลังบางประเทศในภูมิภาคที่เปิดให้บริการคลื่นย่านนี้แล้ว  ซึ่งภาครัฐกำลังอยู่ในกระบวนการเพื่อนำคลื่นย่านนี้มาจัดสรรสำหรับกิจการ 5G ในอนาคต

การมีย่านความถี่กลาง หรือ Mid-Band เพิ่มเติม ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำให้ 5G เร็วขึ้นเล็กน้อย แต่เป็นปัจจัยชี้ขาดที่จะกำหนดอนาคตของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในทศวรรษหน้า

ภาพรวม 5G การใช้ข้อมูลจะสูงขึ้นอย่างมากในปี 2030 จากการมาของ AI  โดยรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ระบุว่า

– ใ0นปี 2030 คาดว่าจะมีบัญชีผู้ใช้ 5G ถึง 630 ล้านรายในภูมิภาคเอเซีย โดยคิดเป็น 49% ของผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมดในภูมิภาค
– การใช้ดาต้าต่อคนเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนจะเพิ่มจาก 19 GB/เดือน ในปี 2024 เป็น 38 GB/เดือน ในปี 2030
– สำหรับประเทศไทย เครือข่าย 5G ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการบริโภคข้อมูลและเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน (ARPU)

โดย Ericsson พร้อมสนับสนุนด้านเทคโนโลยี 5G เพื่อทำให้ประเทศไทยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น  โดยเฉพาะกับการนำเครือข่าย 5G Standalone (SA) และการสร้างฐาน ย่านความถี่กลาง (Mid-Band) เพิ่มเติม เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปลดล็อกศักยภาพของ 5G ได้อย่างเต็มที่

เทคโนโลยี 5G SA จะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งสำหรับองค์กรและผู้บริโภค เช่น อุปกรณ์ AI, แว่นตาอัจฉริยะ และแอปพลิเคชันที่ต้องการการเชื่อมต่อคุณภาพสูงและมีความหน่วงต่ำ (Low Latency)