เบื้องหลัง โครงข่ายอัจฉริยะ 5G หนุนพัฒนา AI Robotics ฝีมือคนไทย

กว่าจะมาเป็นหุ่นยนต์ หรือโดรนอัตโนมัติที่ทำงานแทนคนได้นั้น ต้องผ่านการทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่ามันสามารถทำงานตามคำสั่งที่ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI วางแผนเอาไว้หรือไม่ แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังและสำคัญไม่แพ้กัน คือเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างสมองกลกับชุดควบคุม ที่ต้องเดินหน้าพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

ใครจะรู้ว่าคนไทย กำลังเดินหน้าพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และระบบควบคุมอัตโนมัติ  ควบคู่ไปกับการใช้งานโครงข่ายอัจฉริยะ 5G เพื่อเป้าหมายในการใช้งาน AI และ Robotics เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม

 


พื้นที่กว่า 3,500 ไร่ ของวังจันทร์วัลเลย์ ของกลุ่ม ปตท. ได้ถูกวางแผนและใช้เป็นสนามทดสอบ AI Autonomous Drone System บนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ครั้งแรกในไทย ภายใต้การร่วมมือของ AIS 5G และ
AI and Robotics Ventures หรือ ARV บริษัทในเครือ ปตท.สผ. 

โจทย์ที่ท้าทายของ ARV คือการพัฒนา Horrus โดรนอัตโนมัติ ฝีมือคนไทยให้ทำงานได้จริงบนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ผ่านเทคโนโลยี Autonomous Network ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างคล่องตัวเป็นครั้งแรก

เพราะหัวใจหลักของการควบคุมเส้นทางการบินของโดรนให้มีความเสถียรและปลอดภัย สามารถรับและส่งต่อข้อมูลทั้งภาพ เสียง และวีดีโอ กลับมายังศูนย์ควบคุมได้แบบรวดเร็ว และ Real time จำเป็นต้องอาศัยโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพ ช่วยบริหารจัดการความปลอดภัย และยังลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงหรือมีข้อจำกัด อย่างเช่นการใช้โดรนตรวจสอบการทำงานในพื้นที่โรงงาน หรือในพื้นที่สำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ

Horrus นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการพัฒนาโดรนสำรวจที่สามารถบินได้แบบอัตโนมัติ ตามแผนการบินที่วางแผนไว้ เพื่อใช้งานแทนคนในภารกิจที่ท้าทาย และเต็มไปด้วยความเสี่ยง

ในอดีตหากต้องการสำรวจปล่องไฟในโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องปิดการทำงานชั่วคราว และอาศัยคนปีนขึ้นไปสำรวจ ใช้เวลามากกว่า 2-3 ชั่วโมง ในขณะที่โดรนจะเข้ามาช่วยเก็บภาพในมุมสูง รวมถึงตรวจจับความผิดปกติของอุณหภูมิจากการประมวลผลภาพถ่ายได้แบบ real time พร้อมแจ้งเตือนถึงผู้เกี่ยวข้องในทันที เพื่อเข้าตรวจสอบและป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์

Fully Automatic Drone Solution จะถูกตั้งโปรแกรมเอาไว้ล่วงหน้า ให้สามารถรองรับการทำงานบางส่วนได้ทดแทนนักบินที่มีประสบการณ์ สามารถบินถ่ายภาพในพื้นที่ต้องการและอัพโหลดข้อมูลขึ้นบนแพลตฟอร์มได้แบบอัตโนมัติ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลความผิดปกติจากภาพถ่าย ซึ่งการทำงานเหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยตัวกลาง หรือ เครือข่ายที่มีความเหมาะสมในการใช้งานร่วมกับระบบ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ ของระบบได้ อย่างเช่นการใช้งานร่วมกับ AIS 5G ที่คุณธนพงษ์ได้ให้ความเห็นไว้ว่า

 


ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS
บอกว่า ทีมวิศวกรของ AIS ได้จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการออกแบบ Network Architecture หรือ สถาปัตยกรรมโครงข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่น 2600 MHz โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี Autonomous Network ซึ่งมีความอัจฉริยะในการจัดการระบบได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการใช้ Network Slicing เพื่อตอบสนองแอปพลิเคชันที่ต้องการคุณสมบัติทางเครือข่ายที่แตกต่างกัน 

ไปจนถึงการบริการ MEC (Multi-access EDGE Computing) และ PARAGON Platform เพื่อรองรับการบริหารจัดการ การพัฒนาโซลูชันที่ต้องการความหน่วงต่ำ ภายใต้พื้นที่ 5G Testbed สำหรับทดสอบทดลองที่เปิดกว้างให้องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยในการพัฒนาโซลูชันเพื่อการใช้งานจริงในอนาคต

พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ถูกยกให้เป็น Innovation Sandbox หรือ พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งอากาศยานไร้คนขับ ยานยนต์อัตโนมัติ นวัตกรรมพลังงาน และคลื่นความถี่พิเศษ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับความต้องการของประเทศในอนาคต


ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ในเครือ ปตท. สผ.
เสริมว่า นี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการพัฒนาโดรนอัจฉริยะฝีมือคนไทยที่มีระบบ AI เข้ามาเป็นหัวใจหลักในการทำงานด้วยเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะ 5G และ Network Slicing เข้ามาช่วยเสริมการทำงานร่วมกับโดรน เพื่อให้ระบบสามารถมีความเร็ว และความหน่วงในการรับ – ส่งข้อมูลภาพถ่าย และข้อมูลการบินได้เหมาะสมกับการใช้งาน อีกทั้งยังรองรับการควบคุมระยะไกลที่เสถียรมากกว่าสัญญาณวิทยุและ WiFi อย่างไม่เคยทำได้มาก่อน 

“Horrus” เป็นโดรนแบบ 4 ใบพัด ที่ควบคุมได้จากระยะไกล และขับเคลื่อนเองได้แบบอิสระ ใช้งานได้ต่อเนื่องประมาณ 30 นาที ต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง สามารถตั้งโปรแกรมปฏิบัติภารกิจ ส่งภาพถ่าย และวิดีโอผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต กลับมายังผู้ใช้งานได้แบบเรียลไทม์ผ่านแพลตฟอร์ม ที่ต้องอาศัย Ecosystem สำคัญอย่างโครงข่าย อัจฉริยะ 5G  ที่มีความสามารถพิเศษทั้งแบ่งช่องสัญญาณให้เหมาะสมกับแต่ละภารกิจให้ทำงานได้แบบเต็มประสิทธิภาพ บนเครือข่ายที่มีความปลอดภัย พร้อมการวางระบบประมวลผลไว้ที่ Edge ที่ใกล้กับเครือข่ายมากที่สุด หรือ ที่เราเรียกว่า MEC (Multi-Access Edge Computing) เพื่อให้ได้ response จาก AI อย่างรวดเร็วที่สุด อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งความต้องการ resource ของระบบประมวลผล หรือ MEC ได้ด้วยเจ้าหน้าที่ทางนิคเอง ผ่านแพลตฟอร์ม AIS PARAGON Platform ซึ่งเข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาและทดสอบ ทดลองได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

 


บนพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ที่มีความพร้อมในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การผ่อนปรนกฎระเบียบพิเศษ เพื่อการทดสอบทดลอง
วิจัยและพัฒนา และความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 5G และPlatform ต่างๆจาก AIS ที่ช่วยปลดล็อคข้อจำกัดในการทดสอบ ทดลอง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีโดรนเดินหน้าไปได้ไกลขึ้น จนถึงสามารถนำไปใช้งานในพื้นที่ได้จริงแล้ววันนี้

ความร่วมมือระหว่าง AIS และธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. ในครั้งนี้ เป็นไปตามเป้าหมายของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่ต้องการสร้าง New S-Curve ด้วยนวัตกรรมและดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งในอนาคต คาดว่าจะได้เห็นการพัฒนานวัตกรรม และความร่วมมือที่หลากหลายเพิ่มขึ้น ทั้งการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่โครงการวังจันทร์วัลเลย์ และ EECi ให้เป็นพื้นที่ 5G Testbed เพื่อสร้างศูนย์กลางการพัฒนาและทดสอบโซลูชัน สำหรับอุตสาหกรรมที่เราจะได้เห็นกันต่อไปในอนาคต

สนใจเทคโนโลยีและโซลูชันจาก AIS5G เพื่อต่อยอดองค์กรธุรกิจของท่าน ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ website AIS Business https://business.ais.co.th/5g/

 

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
“Your Trusted Smart Digital Partner”
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : business@ais.co.th
Website : https://business.ais.co.th