รู้จัก SD-WAN เทคโนโลยีที่มาแทน Router แบบเก่า

SD-WAN

SD-WAN หรือ Software-Defined Wide Area Network เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายบนคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลระหว่างองค์กรธุรกิจ สาขาและสถานที่ต่างๆ โดยใช้จัดการและควบคุมการส่งข้อมูลที่ใช้แบนด์วิดธ์ของเครือข่ายอย่างเป็นประสิทธิภาพ สามารถเปลี่ยนเส้นทางการส่งข้อมูลได้อัตโนมัติ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการส่งข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเครือข่าย

ทำไม SD-Wan ถึงได้รับความนิยมมากขึ้น

เราต้องย้อนกลับไปในยุคก่อนจะมีคลาวด์ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ เขาจะมี Data Center ส่วนกลางไว้เพื่อใช้รันงาน รันแอพพลิเคชั่น หรือรันระบบหลังบ้านที่ไว้ใช้ในองค์กร และหากมีสาขาหรือมีหน่วยย่อยธุรกิจเพิ่มขึ้น สาขาเหล่านี้ก็ยังจำเป็นต้องเชื่อมต่อกลับมายัง Data Center ส่วนกลาง โดยใช้โครงข่ายที่ชื่อว่า MPLS

แต่ปัจจุบัน การใช้งานต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ แอพมีความซับซ้อน หลายธุรกิจเริ่มใช้งานบริการคลาวด์จากผู้ให้บริการอย่าง Microsoft Azure  หรือ Amazon Web Service   ทำให้เราท์เตอร์แบบเก่าที่ใช้เพียงออกเน็ตและทำการเชื่อมต่อสาขาเข้าด้วยกัน อาจเอาไม่อยู่ เพราะไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของแอพต่าง ๆ ได้

เราจึงอาจเห็นปัญหาว่า บางทีพนักงานประชุมผ่าน Zoom แล้วกระตุก แต่ Youtube ทำไมดันลื่น  ซึ่ง SD-WAN จะมีส่วนในการจัดลำดับความสำคัญและกำหนดแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) พร้อมกับกำหนดลิงก์เหมาะสมสำหรับใช้เชื่อมต่อ ซึ่งจะทำการใช้งาน Internet ไหลลื่นมากขึ้น

ข้อดีอีกอย่างจาก SD-WAN  คือสามารถใช้งานควบคู่กับกับอินเทอร์เน็ตทั่วไปได้ อันนี้เผื่อใครจะไม่รู้นะว่า เน็ตบ้านที่เราใช้ ๆ กันอยู่กับเน็ตที่ใช้ในที่ทำงานเรานั้นไม่เหมือนกัน  โดยปกติแล้วในองค์กรจะมีการออกเน็ตผ่านโครงข่ายภายในที่ชื่อว่า MPLS ซึ่งมีความเร็วสูงและเสถียรสูงกว่า Internet ทั่วไป เนื่องจากไม่มีการแชร์แบนด์วิดธ์กับผู้ใช้งานอื่น และมีการกำหนดทิศทางการส่งข้อมูลไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้ความเร็วที่ได้นั้นเต็มตลอด

SD-WAN ของผู้ให้บริการบางเจ้า สามารถประยุกต์ใช้งานระหว่าง Internet broadband ทั่วไป กับ MPLS ได้ เช่น หากในออฟฟิสเรามีการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่กินแบนด์วิดท์มาก ๆ อย่าง YouTube  หรือ Facebook  ก็ให้เลือกใช้งาน Internet broadband ที่มีราคาถูก ส่วนแอพพลิเคชั่นที่จำเป็นต่อการทำงาน สามารถจัดสรรค์ไปใช้ MPLS แทน โดยเป็นการจัดสรรค์การใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยไม่ทำให้เกิดประสบการณ์ไม่ดีต่อผู้ใช้งานครับ

ปัจจุบัน ผู้บริการ SD-WAN ที่โดดเด่นในไทยคือ  Aruba EdgeConnect โซลูชั่นที่ทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพเหนือกว่า SD-WAN ทั่วไป เพราะให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการเครือข่ายระหว่างสาขาให้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้อย่างลื่นไหล รองรับการทำงานร่วมกับผู้บริหารคลาวด์ต่าง ๆ

ซึ่งล่าสุด Aruba ได้จัดงาน  “Start your Digital Transformation Journey With Aruba SD-WAN” จัดโชว์นวัตกรรมและโซลูชั่นในการใช้งานระบบ Aruba EdgeConnect SD-WAN ยกระดับการใช้เครือข่ายที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาธุรกิจ Techhub จึงขอยกจุดเด่นที่มีการโชว์เคสในงานมาเล่าให้ฟังกันครับ

จุดเด่นของ  Aruba EdgeConnect SD-WAN

1.มีระบบ Orchestrator Management 

Orchestrator Management ของ Aruba เป็น platform สำหรับการจัดการและควบคุมเครือข่าย SD-WAN ที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพสูง โดยสามารถใช้งานผ่าน web portal มีความสามารถในการจัดการเครือข่าย SD-WAN ทั้งหมดในองค์กร โดยทำให้ผู้ดูแลเครือข่ายสามารถดูแลและตรวจสอบสถานะของเครือข่ายได้ทั้งหมดในรูปแบบที่สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการจัดการสิทธิ์และการเข้าถึงของผู้ใช้งาน โดยผู้ดูแลเครือข่ายสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงแต่ละบุคคลได้ตามความเหมาะสม

Orchestrator Management ยังมีความสามารถในการจัดการการปรับแต่งการส่งสัญญาณโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้เครือข่าย SD-WAN ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ผู้ดูแลไม่ต้องมานั่ง Config ทีละบรรทัด ยิ่งสาขาเยอะขึ้น ก็ยิ่งจัดการได้ง่ายขึ้น

2.รองรับการทำงานกับ SASE ช่วยเพิ่มความปลอดภัย

Secure Access Service Edge หรือ SASE  คือแนวคิดการออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่ายที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวคิดหลักคือการรวมการให้บริการทั้งหมดเข้าไว้ในระบบเดียวกันเพื่อเพิ่มความสะดวกประหยัดค่าใช้จ่าย และประสิทธิภาพในการจัดการระบบเครือข่าย  ซึ่ง Aruba EdgeConnect SD-WAN สามารถรวมเข้ากับ SASE เพื่อช่วยให้การจัดการเครือข่ายมีความเสถียรและมั่นคงปลอดภัย

3.WAN Optimization ที่จัดสรรค์ได้ 

สิ่งนี้เป็นการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดการใช้งานแบนด์วิดท์ในระบบเครือข่ายระยะไกล โดยส่วนใหญ่มักจะนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ (Boost) การส่งข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีราคาสูงมาก  แต่หากใช้งาน Aruba EdgeConnect อยู่แล้ว สามารถเลือกจ่ายเพิ่มอีกนิดนหน่อย เพื่อจัดสรรค์แอพพลิเคชั่นที่ต้องการความเสถียรจริง ๆ ไม่ต้องจ่ายตามความเร็วอินเทอร์เน็ตทั้งหมด เพราะจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง

4.Tunnel Bonding

ความสามารถนี้ คือจะนำ Physical WAN ตั้งแต่ 2 ลิงค์ขึ้นไปมาทำงานร่วมกัน เพื่อผสานรวมทั้งประสิทธิภาพและความมั่นคงทนทาน พร้อมปรับแต่งคุณสมบัติในการรับส่งข้อมูลผ่าน Tunnel เหล่านี้ให้แตกต่างกันออกไป ทำให้การรับส่งข้อมูลผ่าน Tunnel ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

ผู้ดูแลระบบสามารถเลือกปรับแต่งได้ว่าในการรับส่งข้อมูลของแต่ละแอปพลิเคชันจะมุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์ใดเป็นหลัก เช่น การเน้นที่ความมั่นคงทนทาน, คุณภาพ, ปริมาณ Throughput หรือประสิทธิภาพโดยรวมในการใช้งาน และสามารถเลือกใช้ Tunnel ที่เหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ตามต้องการ

5. Dynamic Path Control

Dynamic Path Control (DPC) เป็นฟีเจอร์หนึ่งของ Aruba EdgeConnect ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียรในการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายระยะไกล โดยการใช้ DPC จะช่วยทำให้การส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำการจัดการใช้เส้นทางของเครือข่ายแบบไดนามิก (Dynamic) ให้เหมาะสมกับลักษณะของแต่ละแอพพลิเคชัน และจัดการควบคุมการส่งข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ฟีเจอร์ DPC จะทำการตรวจสอบสถานะและประสิทธิภาพของเส้นทางเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ โดยตรวจสอบปัจจัยต่าง ๆ เช่น การทำงานของเครือข่าย ปัญหาในเครือข่าย และรูปแบบในการส่งข้อมูล จากนั้น DPC จะทำการเลือกเส้นทางที่เหมาะสมกับการส่งข้อมูลในแต่ละช่วงเวลา และทำการสลับเปลี่ยนเส้นทางเพื่อป้องกันการสูญเสียข้อมูล หรือความล่าช้าในการส่งข้อมูล

6. การใช้งาน Cloud อัจฉริยะ

Aruba EdgeConnect จะมีการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่อัปเดตแบบ Real-Time ซึ่งจะระบุถึงปลาทางของบริการ Software-as-a-Service หรือ Cloud ชั้นนำรายต่างๆ ที่มักถูกอัปเดตหรือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การรับส่งข้อมูลใดๆ นั้นสามารถเลือกปลายทางที่เหมาะสมที่สุดได้อยู่เสมอ

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นภาพได้ชัดเจนคือบริการ Cloud ชั้นนำอย่างเช่น Office 365, Salesforce, Workday, Box, Dropbox หรืออื่นๆ ที่มักมี IP Address จำนวนหลายร้อยหรือหลายพันชุดในระบบ และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มลดอยู่ตลอด ดังนั้นการมีฐานข้อมูลเหล่านี้ที่อัปเดตอย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ Aruba EdgeConnect มีข้อมูลแผนที่ของ Internet ปัจจุบัน และช่วยให้การเลือกเส้นทางหรือปลายทางที่ดีที่สุดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ

7. Microsoft O365 REST API Integration

Aruba EdgeConnect ได้เร่งความเร็วในการเชื่อมต่อไปยัง Microsoft Office 365 ให้เหนือกว่าใครๆ ได้ด้วยการเชื่อมต่อ REST API เข้ากับ Microsoft Office 365 และทำให้ได้รับข้อมูลของ Office 365 Entry Point ที่อยู่ตำแหน่งใกล้เคียงกับผู้ใช้งานที่สุดอยู่เสมอจากข้อมูลที่ถูกร้องขอผ่าน API นี้

แนวทางนี้สามารถช่วยลด Round Trip Time (RTT) ที่เกิดขึ้นในการเชื่อมต่อไปยัง Office 365 ของผู้ใช้งานแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ทีมพัฒนของ Aruba เองก็มีการอัปเดตและทดสอบการทำงานร่วมกับ Microsoft Office 365 อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้งานได้นั่นเอง

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ ได้ที่ ARUBA  EdgeConnect SD-WAN