ระบบดิจิทัลซัพพลายเชน จะแข็งแกร่งที่สุดได้ ต้องมีความยืดหยุ่น

เราต่างตระหนักถึงความสำคัญของความยืดหยุ่นของระบบซัพพลายเชนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเรา เผชิญกับสถานการณ์ไม่คาดคิดเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้องค์กรที่มีเครือข่ายทางเทคโนโลยีและเครือข่ายการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นอยู่แล้วสามารถรับมือ และเผชิญกับช่วงเวลาที่สับสนอลหม่านตลอดระยะเวลาการระบาดของโควิด-19 ได้ดี  ในทางกลับกันวิกฤตนี้เป็นสัญญาณเตือนที่หนักหนาสาหัส สำหรับองค์กรที่ไม่ได้เตรียมพร้อมด้านความยืดหยุ่นของระบบมาก่อน

ท่ามกลางวิกฤตที่ทุกคนถอยเพื่อตั้งหลักและขวนขวายหาทางจัดกระบวนทัพใหม่เพื่อปรับปรุงและสร้างรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ทำให้ธุรกิจทุกแห่งมีโอกาสตรึกตรองและตัดสินใจว่าจะเตรียมตัวให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ขณะนี้มาถึงจุดที่ว่า องค์กรทุกแห่งควรตระหนักว่าความยืดหยุ่นเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน แม้กระทั่งในส่วนที่เล็กที่สุด ซึ่งความยืดหยุ่นนั้นคือฟังก์ชั่นที่ควรนำไปใช้เพื่อเชื่อมต่อกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของกระบวนการทุกระบวนการในบริษัท ฟังก์ชั่นเหล่านั้นไม่ใช่ปุ่มหรือสวิตช์ที่จะสามารถหมุนเปิดใช้งานได้ทันทีที่เกิดวิกฤตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสที่แพร่กระจายไปทั่วโลก หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากสาเหตุต่าง ๆ ที่มีความรุนแรง

รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง

ก่อนที่จะพิจารณาถึงลักษณะตามธรรมชาติของความยืดหยุ่น องค์กรจำเป็นต้องตัดสินใจให้แน่นอนก่อนว่าความหมายของคำว่า ‘การเปลี่ยนแปลง’ ขององค์กรคืออะไร เพื่อจะได้เข้าใจรูปแบบต่าง ๆ ที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง

เหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2563 นี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางเลวร้าย อย่างกระทันหัน นอกจากการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ควรนับรวมเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

มาก่อนที่เข้ามาดิสรัประบบซัพพลายเชนด้วย เช่น เรือคอนเทนเนอร์ที่จมอยู่ใต้น้ำ การเกิดพายุเฮอริเคน หรือวิกฤตการปนเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหารที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง

แม้ว่าเหตุการณ์ที่ยุ่งเหยิงและน่าสะพรึงกลัวมากมายเหล่านี้จะทำให้เกิดความสับสนและการสูญเสียชีวิต

แต่เหตุการณ์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ดังนั้นจึงไม่เป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดในระยะยาวของธุรกิจที่ยังต้องเผชิญกับกลไกตลาดและความผันผวนที่เกิดจากแนวโน้มตลาดที่มีปัจจัยขับเคลื่อนที่ลึกไปกว่าเหตุวิกฤตนั้น ๆ เหมือน ๆ กัน  นอกจากนี้รูปแบบความต้องการที่มีระดับการเปลี่ยนแปลงมากกว่า จะส่งผลให้อัตรากำไรและความสามารถในการให้บริการต่ำลง  และเมื่อวิกฤตเริ่มลดความรุนแรงลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบได้มากกว่าพายุเฮอริเคนเสียอีก

แม้ในระยะยาว หากการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์ที่จำเป็นของธุรกิจถูกคุกคาม  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่การปิดกิจการได้  การที่มีความรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร จากเหตุผลใด และจะมาในรูปแบบใด สามารถช่วยธุรกิจสร้างระบบซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่น สามารถขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และจับตาความเคลื่อนไหวของปัจจัยที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต

ความสามารถในการเห็นภาพรวมของระบบ ความชาญฉลาด และการเชื่อมต่อผ่านระบบดิจิทัล

ระบบซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นขึ้นอยู่กับความสามารถสำคัญสามประการคือ ความสามารถในการรับรู้และมองเห็นความเป็นไปในระบบ ความสามารถในการคิดและเรียนรู้ และการเชื่อมต่อผ่านระบบดิจิทัล

นั่นหมายความว่าเรากำลังพูดถึงความสามารถในการมองเห็นการทำงานของระบบทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์  ความอัจฉริยะในการระบุสาเหตุที่แท้จริงที่เกิดขึ้น ตรวจหาความผิดปกติและบริหารจัดการปัญหา รวมถึงความสามารถพิเศษในการปฏิบัติงานผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นการปูทางสู่การดำเนินการที่ ‘รับรู้และตอบสนอง’ ได้แบบอัตโนมัติ

เรามาพิจารณาความสามารถทั้งสามประการดังกล่าวตามลำดับ โดยเริ่มที่ความสามารถในการมองเห็นภาพรวมของระบบ  รูปแบบการทำธุรกิจแบบดั้งเดิมนั้น องค์กรจะมองเห็นหรือรับรู้เฉพาะสิ่งที่ซัพพลายเออร์บอกมาเท่านั้น องค์กรไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดเจนว่าการสั่งซื้ออยู่ในสถานะใดแล้ว หรือจะได้รับของเมื่อใด  อย่างไรก็ตาม เครือข่ายซัพพลายเชนที่ทำงานบนคลาวด์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถมองเห็น และโต้ตอบเกี่ยวกับการสั่งซื้อในช่องทางเดียวกันได้แบบเรียลไทม์  ผลลัพธ์ในท้ายที่สุดคือองค์กรที่สั่งซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้ขนส่ง ได้ใช้ข้อมูลเรื่องเดียวกัน เนื้อหาเหมือนกัน ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง

การรับรู้ที่เป็นหนึ่งเดียวรวมศูนย์กันเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยตัดปัญหาเรื่องความไม่แน่นอน ความล่าช้า และขจัดการทำงานแบบต่างคนต่างทำ  ดังนั้นเรื่องฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดจากการทำงานในแต่ละวันจะเกิดขึ้นน้อยมากหรือไม่มีเลย แต่ความสามารถในการมองเห็นและรับรู้ความเป็นไปนี้ จำเป็นต้องดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการเพื่อความถูกต้องชัดเจน  ธุรกิจจำเป็นต้องทราบผลกระทบของกระบวนการตั้งแต่ต้นทาง
(ซัพพลายเออร์) ไปจนถึงปลายทาง (ช่องทางการขายและฐานลูกค้า)

นอกจากนี้ความสามารถในการมองเห็นระบบได้ตั้งแต่ต้นจนจบต้องทำได้แบบเรียลไทม์ เช่น ธุรกิจจำเป็นต้อง เห็นภาพและรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรม ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ความผันผวนของราคา และอื่น ๆ ได้ตลอดเวลา ณ เวลาที่เกิดขึ้นจริง  การขับเคลื่อนระบบซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่งต่าง ๆ จะทำไม่ได้เลยหากปราศจาก ข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและการรับรู้ได้แบบเรียลไทม์

ความอัจฉริยะในการแยกแยะสิ่งที่เข้ามารบกวนการทำงาน

บริษัทด้านซัพพลายเชนที่มีความยืดหยุ่นก้าวรุดหน้า มีข้อได้เปรียบในการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ อัลกอริทึมที่สามารถตรวจจับเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากได้  เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่องค์กรต้องตระหนักไว้คือจะมี ‘สิ่งรบกวนที่ทำให้การทำงานสะดุด’ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งกับระบบที่ติดตั้งในองค์กร (physical) และซัพพลายเชนด้านการเงิน  ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องระบุให้ได้ว่าสิ่งรบกวนการทำงานมากแค่ไหนที่ยอมรับได้และไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจตามปกติ

ณ จุดนี้เราสามารถเจาะถึงสาเหตุที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ได้ ธุรกิจจำเป็นต้องรู้ถึงปัจจัย
ที่อยู่เบื้องหลังปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อเกิดการขาดแคลนวัสดุที่ใช้ในการผลิต หรือวัสดุสำเร็จรูปไม่เพียงพอที่จะส่งให้ร้านค้าปลีก ธุรกิจจำเป็นต้องรู้ว่าความขาดแคลนนั้น ๆ เกิดจากอะไร สิ่งสำคัญพื้นฐานที่ธุรกิจต้องมีคือ ความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการขาดแคลนที่เกิดจากความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป กับ การขาดแคลนที่เกิดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ติดค้างอยู่ที่ท่าเรือ ว่าแตกต่างกันอย่างไร

ความชาญฉลาดที่แท้จริง ณ จุดนี้มาจากความสามารถที่จะรวมกลุ่มเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบ
ซัพพลายเชนขององค์กรที่ทำงานอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกทั้งหมดไว้ด้วยกัน  หากองค์กรสามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงที่เหมือนกันของปัญหาการทำงานที่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ แห่งได้ ก็จะสามารถบริหารจัดการและแก้ปัญหานั้นได้เร็วขึ้น

การทำงานบนระบบดิจิทัล

ระบบซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นและชาญฉลาดสามารถจัดการกับตัวแปรและข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ หลายพันรายการได้บนแพลตฟอร์มคลาวด์แพลตฟอร์มเดียว เพื่อช่วยทำให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้า  ระบบดิจิทัล
ซัพพลายเชนซึ่งทำงานด้วยความรวดเร็วเกินกว่าที่มนุษย์จะทำได้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายเชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวันเวลาต่าง ๆ ใบจองเรือ การเงิน และอื่น ๆ  การที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถเปิดใช้ส่วนที่ต้องติดต่อกับบุคคลภายนอกในระบบของตนเองได้ จะช่วยให้ทำการตัดสินใจทางธุรกิจต่างๆ ได้เร็วขึ้น ด้วยความแม่นยำที่มากขึ้นและความไม่แน่นอนที่น้อยลง  อย่างไรก็ตามปัญหาที่แก้ไขยากกว่าคือปัจจัยด้านความไม่แน่นอนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์และความเสียหายที่ไม่คาดคิดมาก่อน

มุ่งไปให้ไกลกว่าระบบอัตโนมัติ 1.0

ในอนาคตอันใกล้ การดำเนินงานต่าง ๆ ภายในระบบดิจิทัลซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นมากที่สุดขององค์กรจะทำงานอย่างอัตโนมัติ ด้วยระบบที่ทำหน้าที่แทนคนตามข้อมูลที่ได้ป้อนไว้ (intelligent agent) และอัลกอริทึมอัจฉริยะมากขึ้นเรื่อย ๆ  เครือข่ายซัพพลายเชนทางการเงินและที่อยู่บนระบบภายใน (physical) ขององค์กรจะสะท้อนให้เห็นความชาญฉลาดของระบบอัตโนมัติที่ได้นำไปใช้ในภาคการผลิตผ่านแนวทางของอุตสาหกรรม 4.0

Technology vector created by macrovector

หากปัจจุบันเราอยู่ในช่วงการใช้ระบบอัตโนมัติระยะที่ 1.0  ธุรกิจก็พร้อมที่จะใช้อัลกอริทึมอัจฉริยะมากขึ้นในอนาคต  และเมื่อถึงวันและเวลาที่ความอัจฉริยะนี้ไม่เพียงแต่มีความชาญฉลาดแต่ยังยืดหยุ่นด้วย จะเป็นเวลาที่ระบบอัตโนมัติเริ่มทำการตัดสินใจโดยไม่เพียงพิจารณาจากข้อมูลราคาขายในระยะสั้น  ความพร้อมในการผลิตและความต้องการตลาดเท่านั้น แต่ยังตัดสินใจโดยพิจารณาจากความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาวด้วย  ข้อเท็จจริงที่สำคัญคือการสร้างระบบซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงตาม ‘ปกติ’ จะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจำนวนมากได้ และเมื่อธุรกิจต้องปรับตัวให้รองรับ ‘ความปกติใหม่’
ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็สามารถทำได้

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากเว็บไซต์คิดค้า.com ของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 GDP ภาคบริการโลจิสติกส์ (การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า) มีมูลค่า 3.91 แสนล้านบาท คิดเป็นอันดับ 4 ของภาคธุรกิจบริการที่สร้างมูลค่าสูงสุด และข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ เดือนสิงหาคม 2563 ระบุว่ามีผู้ให้บริการด้านซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ทั้งสิ้น 20,077 ราย  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

โควิด-19 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ภาคบริการโลจิสติกส์ครึ่งปีแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ
-21.7 (real GDP) จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจไปรษณีย์และการรับส่งเอกสาร / สิ่งของ ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มการขนส่งสินค้าเร่งด่วน รวมถึงธุรกิจขนส่งอาหารที่มีการเติบโตสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดตามการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซและการสั่งซื้อทางออนไลน์

ความท้าทายอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยเผชิญคือการปรับตัวเพื่อยกระดับการใช้เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์มีราคาค่อนข้างสูง  และแน่นอนเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะถูกนำมาใช้พัฒนาการให้บริการด้านโลจิสติกส์ ทั้งในส่วนของการพัฒนาระบบไอทีและการสื่อสาร เพื่อรองรับการทำงานเป็นเครือข่าย การแสดงผลแบบเรียลไทม์ การติดตามตรวจสอบ ความรวดเร็วแม่นยำตรงต่อเวลา รวมถึงการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าจากบิ๊กดาต้า เพื่อเพิ่มศักยภาพและรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง