ส่องความเจ๋ง สถานีชาร์จไฟแบบเร็ว ฝีมือคนไทย ชาร์จไว 15 นาที ไม่เสียเวลาเดินทาง

สถานีชาร์จไฟแบบเร็ว

สถานีชาร์จไฟแบบเร็ว สิ่งสำคัญที่สุดของการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

ถึงแม้รถยนต์ไฟฟ้ามีข้อดีที่ช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้ แต่ยังคงมีจุดอ่อนในเรื่องของระยะทางในการขับเคลื่อน การชาร์จแบตเตอรี่ที่อาจใช้เวลานาน รวมทั้งจุดชาร์จตามต่างจังหวัดที่ยังมีน้อย

สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาที่ว่ามาได้ คือต้องมีสถานีชาร์จที่สามารถชาร์จได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์คนใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

กฟผ. ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ไม่เพียงจับตามองกระแสการมาแรงของรถไฟฟ้า แต่ยังเข้าไปเป็นหนึ่งในผู้สร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Ecosystem อีกด้วย 

โดยล่าสุด กฟผ. เตรียมพร้อมที่จะขยายเครือข่ายการใช้งาน สถานีชาร์จไฟแบบเร็ว ที่มี เครื่องอัดประจุไฟฟ้า DC Fast Charger เชิงพาณิชย์ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ต่อยอดจากปัจจุบันที่ กฟผ. เปิดให้บริการสถานีชาร์จ EleX by EGAT พร้อมสถานีในเครือข่ายพันธมิตร EleXA กว่า 120 สถานีทั่วประเทศ และตั้งเป้าขยายสถานีชาร์จในเครือข่ายกว่า 180 สถานี ภายในสิ้นปี 2566

:  ชาร์จได้เร็ว และต้องเสถียร  

หลายคนอาจมองว่า การเพิ่มสถานีชาร์จเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าคาดหวัง เพราะสิ่งสำคัญที่จะทำให้รถเดินทางอย่างต่อเนื่อง จะต้องมี สถานีชาร์จไฟแบบเร็ว ที่สามารถชาร์จได้เร็ว และมาพร้อมความปลอดภัยเช่นกัน นี่คือเหตุผลที่ อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส (EDS) บริษัทในกลุ่ม กฟผ. ตัดสินใจเปิดตัว DC Fast Charger สัญชาติไทย จากผลงานการผลิตและรับรองมาตรฐานโดยคนไทยรายแรก 

สถานีชาร์จแห่งนี้ มีกำลังไฟสูงสุดถึง 150 kW สามารถชาร์จไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ 0 – 80 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาเพียง 15 – 30 นาที นำร่องติดตั้งเป็นแห่งแรกที่โรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถจองคิว หรือดูสถานะของสถานีชาร์จได้สะดวกผ่านแอปพลิเคชั่น EleXA 

: ขยายให้ใช้งานได้ทั่วประเทศ

กฟผ. และบริษัทในกลุ่ม เตรียมพร้อมที่จะขยายเครือข่ายการใช้งานเครื่องอัดประจุไฟฟ้า DC Fast Charger เชิงพาณิชย์ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ภายใต้สถานี EleX by EGAT เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ได้มากขึ้น

โดยต่อยอดจากปัจจุบันที่ กฟผ. เปิดให้บริการสถานีชาร์จ EleX by EGAT พร้อมสถานีพันธมิตรในเครือข่าย EleXA มากกว่า 120 สถานีทั่วประเทศ พร้อมกับตั้งเป้าขยายสถานีชาร์จในเครือข่ายให้มีจำนวนรวมกว่า 180 สถานี ภายในสิ้นปี 2566 นี้ เพื่อสร้างความมั่นใจ ประหยัดเวลาในการเดินทางแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า  ซึ่งจะทำให้ระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ของไทยแข็งแรงมากขึ้น