สุดเจ๋ง หมอใช้ข้อมูลจาก AI ทำนายความเสี่ยงโรคหัวใจ

ความเสี่ยงโรคหัวใจ

จากข้อมูลการเสียชีวิตอย่างกะทันหันที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คิดเป็น 20% ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก และมีข้อมูลน้อยมากว่าเกิดจากสาเหตุอะไร หรือน้อยมากที่จะทราบได้ว่าใครมีความเสี่ยงที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
.
Natalia Trayanova ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัยจอร์น ฮอปกินส์ ให้ข้อมูลว่า เขาและทีมงานได้สร้างอัลกอริทึ่มขึ้นมาเพื่อใช้เรียนรู้และบอกได้ว่าใครมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
.
“สิ่งที่อัลกอริธึมของเราสามารถทำได้คือกำหนดว่าใครมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและเมื่อใดที่โรคหัวใจจะเกิดขึ้น ทำให้แพทย์สามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำว่าต้องทำอะไรกับผู้ป่วยก่อนที่จะเกิดเรื่องไม่ดี”
.
ทีมงานของมหาวิทยาลัยจอร์น ฮอปกินส์ ได้ใช้ภาพเอกซเรย์ของผู้ป่วยจำนวนมากจากศูนย์สุขภาพกว่า 60 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ AI ได้เรียนรู้และวิเคราะห์การเกิดโรคหัวใจดังกล่าว และด้วยประวัติการเต้นของหัวใจที่แตกต่างกันและข้อมูลภาพที่แตกต่างกัน แน่นอนว่าแพลตฟอร์มนี้สามารถนำไปใช้ได้ทุกที่ เพื่อที่จะดูว่าใครที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้บ้าง
.
เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกนี้เรียกว่า Survival Study of Cardiac Arrhythmia Risk หรือ SSCAR ชื่อนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลจากหัวใจที่เกิดจากโรคหัวใจ ซึ่งมักส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง และเป็นกุญแจสำคัญในการทำนายของอัลกอริทึมครับ
.
SSCAR นั้นมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยกำหนดความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเป็นขั้นตอนสำคัญในการเปิดเส้นทางของผู้ป่วยเข้าสู่ยุคของปัญญาประดิษฐ์และจะทำให้การดูแลสุขภาพทำได้ดียิ่งขึ้นครับ
.
ที่มาข้อมูล
https://www.futurity.org/heart-attacks-arrhythmia-artificial-intelligence-2723382-2/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=heart-attacks-arrhythmia-artificial-intelligence-2723382-2