5 วิธีหนี Scammer โจรไซเบอร์จ้องป่วนโซเชียล

วิธีหนี Scammer 

ปัจจุบัน Facebook และ Instagram  ถือเป็นแพลทฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะกับ Facebook มีฐานผู้ใช้ที่ใหญ่ที่สุด มากถึง 2.9 พันล้านคนต่อเดือน แบ่งออกเป็นผู้ใช้งานที่หลากหลาย ถือเป็กลุ่มเหยื่อที่ใหญ่ที่สุดสำหรับ Scammer หรือนักต้มตุ๋นครับ

Techhub อยากพาทุกคนมารู้จักกับวิธีหนี Scammer หรือวิธีที่ Scammer  มักใช้ พร้อมทั้งวิธีที่จะระวังตัวเองจากพวกมันได้ ไปดูกัน

1.Phishing Scams หรือ กลลวงฟิชชิ่ง วิธีนี้ Scammer จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลของเรา หลอกให้เราติดตั้งแอปเพิ่มเติม หรือนำเราไปยังเว็บไซต์ปลอมของธนาคารหรือเว็บไซต์เทรดคริปโต เพื่อให้เราใส่ข้อมูลของเราลงไป ซึ่ง Scammer จะทำการส่งลิงก์ต่าง ๆ ผ่าน อีเมล โพสต์ ข้อความ หรือเล่นกับความโลภของคน เช่น บอกว่าเราได้รางวัลนู่นนี่ แต่ต้องกรอกข้อมูลส่วนเพื่อที่จะส่งของ แล้วก็ไม่ส่งมาจริง ๆ

วิธีหลีกหนี Phishing scams : ตั้งสติ อย่าโลภ อย่าอยากได้ของฟรี ไม่มีอะไรฟรีจริง ๆ   อย่ากดลิงก์โดยไม่มั่นใจ เช็ค URL ให้มั่นใจ หากเป็นเว็บเกี่ยวข้องกับการเงิน  หากลิงก์ถูกแนบมากับอีเมล ลองวางเมาส์เหนือลิงก์ก็จะเห็นชื่อของลิงก์จริง ๆ ครับ  เอาล่ะ ระวังตัวกันไว้หน่อย

A graphic of a man wearing a hoodie and glasses sending flowers on a smartphone to a woman

2.Romance Scams หรือ กลลวงความรัก วันวาเลนไทน์ใกล้จะมาถึงแล้ว คนโสดระวังตัวไว้ให้ดี เพราะคุณอาจจะได้รับข้อความส่งตรงและคำขอเป็นเพื่อนจากคนแปลกหน้าใน Social Media หรือแอปหาคู่ ซึ่งพวกเขาไม่ได้จะส่งลิงก์ หรือให้เราดาวน์โหลดอะไร แต่จะเข้ามาตีสนิท มาคุยด้วย ให้ความหวัง ส่วนใหญ่มักเป็นคนต่างประเทศ บอกว่าจะมาหา แต่เค้าอาจมีเงินไม่พอ หรือบอกว่า ต้องใช้เงินด่วน จากเหตุผลอะไรก็ตาม เพื่อขอให้เราโอนเงินให้ หากเราโอนไป เขาก็จะหายเข้ากลีบเมฆไปเลย

วิธีหลีกหนี Romance scams ง่ายครับ  ๆ  เขาจะแอดมาหา มาคุย ก็คุยกับเขา เข้าใจแหละว่าบางคนเหงา ไม่มีคนคุย  ซึ่งบางคนอาจจะไม่ใช่ Scammer ก็ได้  แต่พอคุยแล้ว ต้องตั้งสติ อย่าหลวมตัวโอนเงินตาม Story ที่เขาแต่งขึ้น หากไม่มั่นใจ ก็กดบล็อคไปเลยก็ได้ครับ

อ่านต่อจาก Facebook 

3.Job offer Scams หรือกลลวงเสนองาน  เราอาจจะเห็นโฆษณาบ่อย ๆ ที่อ้างถึงบริษัทดัง ๆ เช่น การบินไทย , Lazada , shopee , JD  หรือหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ว่าเปิดรับสมัครงาน ได้เงินวันละพัน  ทำงานเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมง หรือเสนองานทีทำเบา แต่ได้ค่าตอบแทนหลายหมื่น เพียงกรอกข้อมูลส่วนตัว (ละเอียดยิบ) ลงในแบบฟอร์ม

แน่นอนว่า เมื่อเราสนใจ เราก็จะให้ข้อมูลส่วนตัวไป ทั้งเบอร์โทรศัพท์ เลขบัญชีธนาคาร ซึ่งเค้าไปทำอะไรได้อีกหลายอย่าง เช่น ให้ทำงานจริง ๆ ขึ้นมา พอทำเสร็จจะรับเงิน จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสุดแพง พอโอนเสร็จก็หายเงียบ หรือเอาเลขบัญชีเราไปทำเป็นบัญชีม้า ซึ่งอาจทำให้เราติดคุกได้ด้วย

วิธีหลีกหนี Job offer scams  ตั้งสติ อย่าหลงเชื่อว่างานง่าย ๆ จะได้เงินเยอะ อย่าเชื่อคนที่รีวิว เพราะอาจจะเป็นหน้าม้าก็ได้ อย่ากรอกข้อมูลสำคัญใด ๆ ลงเว็บ โดยเฉพาะกับ เบอร์โทรศัพท์ เลขบัญชีธนาคาร หรือเลขบัตรประชาชน

4.Fake investment Scams หรือการหลอกให้ลงทุน เดี๊ยวนี้มักจะเจอบ่อยนะ ที่มีคนทำโฆษณาบน Facebook หลอกให้เราไปร่วมลงทุน ลงทุน 6 พัน ได้ 15 ล้าน (ได้จริงนะ โจรอ่ะ ได้เงินจริง ๆ)  กลลวงเหล่านี้มักจะสร้างภาพสุดหรู ขึ้นมา เช่นถ่ายรูปกับเงินก้อนโต รถหรู บ้านหลังใหญ่ สร้าง Story ให้ดูน่าเชื่อถือ มีหน้าม้ามา Comment ว่าทำแล้วได้จริง  พร้อมข้อความปลุกใจปิดท้าย คุณก็ทำได้ แค่มาลงทุนกับเรา ….

วิธีหลีกหนี  Fake investment scams  คิดไว้เสมอว่า ถ้ามันลงทุนได้ง่าย ได้เงินขนาดนั้น เขาไม่มาบอกเราหลอก คนที่ได้เงินจริง ๆ  เขาไม่อยากบอกความลับที่ทำให้เขามั่งคั่งกับคนอื่นครับ รู้ว่าดี ก็ทำเอง  ฉะนั้น อย่าโลภกับเงินก้อนโตที่เห็นทางโซเชียล มันคือการสร้างภาพ เท่านั้น!!

5.Charity Scams หรือการหลอกให้ทำบุญ  มักจะมาในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกิดขึ้นในบ้านเมือง เช่น ในตอนที่มีสงครามรัสเซีย ยูเครนประทุขึ้น เกิด Scammer มากมายที่หลอกให้โอนเงินไปช่วยเหลือทางยูเครน หรือแม้แต่เอาความน่าสงสารของสัตว์มาขอร้อง เช่น ช่วยเหลือหมาแมว  ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และกรณีที่เห็นกันบ่อย ๆ คือ บอกว่าสอบติดแพทย์ แต่ไม่มีเงินจ่ายค่าเรียน มีคนโอนเงินให้เยอะมาก แต่มารู้ทีหลังว่า ฐานะบ้าน ไม่ได้ลำบากอะไรแม้แต่น้อย …

วิธีหลีกหนี  Charity scams  ผมไม่มีวิธีที่ชัดเจนกับเรื่องนี้นะ มันขึ้นอยู่กับความสบายใจของแต่ละคน แต่หากอยากทำบุญจริง ๆ แล้วอยากให้เงินไปถึง ให้ตรวจสอบว่า หน่วยงานที่มารับบริจาค เปิดรับบริจาคจริงไหม โดยไปดูข้อมูลที่เว็บไซต์ official ของเว็บนั้น ๆ เลยครับ

.