How to วิธีป้องกันตัวเองจากแฮกเกอร์ในโลกออนไลน์

ทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตอาจเป็นสถานที่ที่น่ากลัว แม้ว่ามันจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นการหางาน การติดต่อสื่อสาร การสร้างสายใยกับที่คนที่อยู่ห่างไกล แต่ไม่ใช่แค่นั้น มันยังสามารถเอาความเลวร้ายที่ใช้ความสงสารของเราเป็นเครื่องมือที่มาใช้ทำร้ายเรากลับ

โดยไม่ว่าจะเป็นคนที่พยายามแฮ็คเข้าสู่บัญชีออนไลน์ของเรา ส่งอีเมลพร้อมลิงก์ฟิชชิ่งเพื่อขโมยเลขบัตรเครดิตหรือสั่งปิดคอมพิวเตอร์ของเราโดยใช้ ransomware สิ่งเหล่านี้นับเป็นความความเสี่ยงในการออนไลน์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน แล้วจะมีวิธีป้องกันยังไงได้บ้าง

1.สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย หากกลังลืม ก็ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่านซะ 

บทเรียนของของการสร้างความปลอดภัย คือการสร้างรหัสผ่านที่ดี น่าเสียดายที่หลายคนพอได้ยินเรื่องนี้เข้าก็ปิดเรื่องนี้ทันที เพราะคิดว่า เราคงไม่ได้เป็นเหยื่อหรอก ใครจะอยากมาแฮกเรา  แต่เชื้อไหมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มีรหัสผ่านการใช้งานคือ 12345 , Password หรือ QWERTY

แล้วตั้งรหัสผ่านแบบไหนถึงปลอดภัย ?

  • ต้องไม่เกี่ยวข้องกับตัวเราเลย ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่วันเกิด ชื่อภรรยา ชื่อสัตว์เลี้ยง พ่อแม่พี่น้องหรืออื่น ๆ
  • มีรหัสอักษรผสมผสานกัน ระหว่างตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กตัวเลขและอักขระพิเศษ (เครื่องหมายอัศเจรีย์, เครื่องหมายขีดล่าง, เครื่องหมายวงเล็บ ฯลฯ ) เช่น @X@3SqlH  #<AYd +53mvJmM 
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแอปที่เราใช้ จะแจ้งให้เราทราบทางอีเมลหรือ SMS หากมีการเปลี่ยนรหัสผ่าน 
  • อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีออนไลน์ทั้งหมด ลองและเปิดบัญชีอีเมลสำรองหลาย ๆ บัญชีและไม่ใช้อีเมลเดียวกันกับทุกบัญชี
  • ในตัวเลือกการกู้คืนรหัสผ่านให้เพิ่มคำตอบปลอมสำหรับคำถามการกู้คืนบัญเช่น เช่น เมื่อระบบถามว่าคุณเกิดที่ไหนให้พูดว่า “ในโรงพยาบาล” แต่ถ้าถามว่าเกิดที่ไหน “จังหวัดที่สวยงามแห่งหนึ่งในไทย”  จะเห็นได้ว่าคำตอบพวกนี้ มันจะไม่เกี่ยวข้องกับเราเลย เพียงแค่จำคำตอบปลอมเพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงบัญชีได้ในภายหลังหากจำเป็น
  • ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน คำแนะนำง่าย ๆ คือให้ใช้ตัวจัดการรหัสผ่านของ Google ก็ได้

2.เลือกใช้งานแอพพลิเคชั่นที่มีการยืนยันตัวตน 2 ระดับ หรือ 2 factor authentication

ทุกวันนี้ บริให้บริการหลายราย  เช่น ธนาคาร ร้านอาอาหาร ร้านช้อปสินค้าออนไลน์บางร้าน เมื่อจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต มักจะมีให้การยืนยันยันตัวตน 2 ระดับ เช่น การยืนยันรหัส OTP ทุกครั้งที่ทำธุรกิจ นั่นทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

3.พยายามอย่าใช้ Wifi สาธารณะ ในการทำธุรกรรม

บางครั้งเวลาเราจะกดซื้อ มือถือของเราอาจเชื่อมต่อ Wifi สาธารณะให้แบบอัติโนมัติ อย่างผมนี่เจอประจำ เวลาเปิด Wifi ไว้ พอเดินไปในสถานที่ ที่มีผู้ให้บริการที่เราใช้งานอยู่ โทรศัพท์มันก็จะเชื่อมต่อ Wifi แบบอัติโนมัติ มารู้ตัวอีกทีก็กดทำธุรกรรมเสร็จไปแล้ว

4.ตรวจสอบ URL & ไฟล์ก่อนคลิก

Phshing Mail มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวัน อย่างผมเองได้รับ Phishing ต่อวันไม่ต่ำกว่า 10 อีเมล ยิ่งบล๊อกก็ยิ่งมา  แถมมีลูกเล่นใหม่ ๆ มากขึ้น เพื่อให้เราสงสัยและกด อย่างเช่น มีอีเมลหนึ่งส่งมา โดยใช้เมลคล้ายเมลของหัวหน้าผม  โดยให้ยืนยันการเข้าร่วมประชุมบ่ายวันพรุ่งนี้ และระบุด้วยว่าให้ยืนยันให้เร็วที่สุด พร้อมกับแนบลิ้งค์มาให้  ซึ่งถ้าไม่ดูให้ดีก่อน ก็อาจจะโดนตกข้อมูลโดยไม่รู้ตัว

5.ปิดใช้งานบัญชีออนไลน์ที่ไม่ได้ใช้งานและไม่จำเป็นทั้งหมด

เมื่อแฮ็กเกอร์มีรายละเอียดการเข้าสู่ระบบของคุณสำหรับเว็บไซต์หนึ่ง พวกเขาจะเริ่มเห็นว่ามีเว็บไซต์อื่นใดที่คุณเข้าชมเพื่อดูว่ารายละเอียดการเข้าสู่ระบบเดียวกันนั้นมีอยู่หรือไม่ ดังนั้นเช่นเดียวกับการไม่ใช้รหัสผ่านซ้ำ คุณควรปิดบัญชีออนไลน์ทั้งหมดที่เรไม่ได้ใช้

6.เลือกใช้เว็บหรือใช้จ่ายผ่านบัตรที่มี HTTPS

ทุกวันนี้ หลายคนเลือกช้อปปิ้งออนไลน์ แต่หากจะจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตก็เลือกใช้งานเว็บที่มี HTTPS สังเกตุง่าย ๆ ที่ URL จะมีคำว่า https//  หรือ มีรูปกุญแจอยู่ที่ด้านหน้าสุด URL ซึ่งเพิ่มทำให้เชื่อมั่นได้ระดับหนึ่งว่าเว็บดังกล่าวจะไม่ใช่เว็บที่แฮกเกอร์หลอกขโมยข้อมูบัตรเรา