พลิกตำรา JWST พบกาแล็กซี่โบราณนับหมื่นล้านปี ที่ไม่ควรมีอยู่จริง

[รุ่งอรุณของเอกภพ] ที่ผ่านมา James Webb (JWST) หรือกล้องโทรทรรศน์อวกาศชื่อดังจาก NASA ได้ส่งผลงานภาพถ่ายจักรวาลสุดคมชัดมาแล้วมากมาย และยังช่วยให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจในจักรวาลมากยิ่งขึ้นด้วย แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตัวกล้องกลับได้ถ่ายภาพที่น่าเหลือเชื่อ ที่ทำเอาวงการดาราศาสตร์ต้องพลิกตำรากันยกใหญ่

เคยมีความเชื่อว่า [กาแลคซีของเราถือเป็นรุ่งอรุณของเอกภพ] หรือเป็นพี่ใหญ่ที่อยู่มานานในแถบนี้ ทว่าตัวกล้อง JWST กลับจับภาพกาแล็กซี่ได้ใหม่ถึง 6 แห่ง และแต่ละแห่งนั้น ก็มีอายุย้อนหลังไปประมาณ 13,100 ล้านปี ซึ่งเก่าแก่พอ ๆ กับกาแลคซีทางช้างเผือกในปัจจุบัน

[ผมเกือบจะพ่นกาแฟออกมา]

Ivo Labbé รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Swinburne กล่าวเพิ่มเติมว่า กาแล็กซี่ทั้ง 6 นี้ ถือกำเนิดหลังบิกแบงประมาณ 500 ถึง 700 ล้านปี การที่มีอายุนับหมื่นล้านปีนั้นยังไม่ใช่เรื่องแปลก

แต่จุดที่น่าสนใจจริง ๆ คือ การที่มันมีมวลมหาศาลมาก จนสามารถมีดวงดาวได้เท่ากับทางช้างเผือก ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว ในเวลานั้นมันไม่ควรมีสสารมากพอ ที่จะก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ในกาแลคซีได้มากเท่าที่เรามี

เท่ากับว่าเอกภพของเราในช่วงเวลานี้นั้น อาจมีดวงดาวก่อตัวขึ้นมากกว่าที่คิด หรือนับเป็นจำนวนมากถึง 100 เท่า

จากเดิมเราที่มักจะเห็นแต่กาแลคซีเล็ก ๆ อายุไม่มาก แต่การค้นพบครั้งนี้ ก็ทำให้กาแลคซีทางช้างเผือกที่เราอยู่ ไม่อาจเรียกว่าเป็นรุ่งอรุณอีกต่อไป หลังจากนี้คงต้องทบทวนต้นกำเนิดของกาแล็กซี่กันใหม่เลยว่า แท้จริงแล้วถือกำเนิดมาอย่างไรกันแน่

ที่มา : Engadget