แจกฟรี ภาพหน้าจอซูเปอร์โนวา จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวดัง

[แจกภาพ] ยังคงสร้างผลงานได้ไม่หยุดยั้งกับ James Webb Space Telescope หรือ JWST กล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวดัง ที่ล่าสุดทาง NASA ได้เผยแพร่ภาพใหม่อีกครั้ง คราวนี้เป็นภาพดาวฤกษ์ตอนกำลังเกิด Supernova (ซูเปอร์โนวา) ได้แบบคมชัด

เป็นที่รู้กันว่า หากดาวฤกษ์ได้ใช้พลังงานจนสิ้นอายุขัย ก็จะเกิดการระเบิดตัวเอง ซึ่งเป็นการระเบิดที่ทรงพลังอย่างมาก จนมีชื่อเรียกว่าซูเปอร์โนวา และเมื่อเร็ว ๆ นี้ทาง NASA ได้เผยภาพใหม่จากกล้อง JWST เผยให้เห็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ดวงหนึ่งตอนกำลังเกิดซูเปอร์โนวา ซึ่งเป็นดาวที่มีชื่อว่า WR 124

WR 124 เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู อยู่ห่างจากโลกประมาณ 15,000 ปีแสง ทั้งนี้ยังเป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 30 เท่า และยังเป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ที่ส่องสว่างมากที่สุด ทำให้ถูกนับเป็นหนึ่งในดาว Wolf Rayet และยังเป็นสภาวะสั้น ๆ ที่ดาวบางดวงต้องผ่านก่อนที่จะเกิดซูเปอร์โนวา ซึ่งหาชมได้ยากด้วย

ข่าวดีคือ JWST สามารถจับภาพของดาวดวงนี้ก่อนเกิดซูเปอร์โนวาได้พอดี โดยเป็นการระเบิดออกมาส่วนหนึ่งก่อน ซึ่งคิดเป็น 10 เท่าของดวงอาทิตย์ และระหว่างนี้ตัวกล้องอินฟราเรดระยะใกล้และกลางอย่าง NIRCam และ MIRI ต่างช่วยกันจับภาพเหตุการณ์ดังกล่าว จนออกมาเป็นภาพที่มีความคมชัดสูง เผยให้เห็นโครงสร้างที่จับตัวเป็นกลุ่มก้อนเนบิวลา ที่มีทั้งก๊าซและฝุ่นที่พุ่งออกมารอบ ๆ จากแกนกลาของดาว และเกิดเป็นฝุ่นคอสมิกที่เรืองแสงอย่างสวยงาม

ดาวน์โหลดรูปภาพได้ที่ flickr.com

นอกจากความสวยงามแล้ว ก็ยังส่งผลดีต่อการศึกษาทางดาราศาสตร์ด้วย โดยเฉพาะเรื่องของ [ฝุ่น] ในจักรวาล ที่เป็นเหมือนต้นกำเนิดของดาวเคราะห์น้อยใหญ่อีกมากมาย แต่เดิมเคยมีเหล่านักดาราศาสตร์คิดจะไขปริศนาในเรื่องนี้ แต่ก็หาข้อมูลแทบไม่ได้ จนปัจจุบันมาได้ภาพจากกล้อง JWST นี้เอง ก็ช่วยทำให้ NASA ได้เข้าใจเรื่องของฝุ่นในจักรวาลมากยิ่งขึ้น

ที่มา : Techspot