เบื้องหลัง Metaverse การคำนวนที่ซับซ้อน หลายพันเท่า

หลายคนพูดถึง Metaverse ว่าเป็นโลกแห่งใหม่ที่ให้ผู้คนสามารถเข้าไปพบปะเพื่อน พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด ทำงาน หรือสามารถใช้ชีวิตอยู่ในนั้นเพื่อหลีกหนีกับความวุ่นวายในโลกแห่งความเป็นจริงได้เลย แต่รู้ไหมว่า ผู้ให้บริการ metaverse จะต้องมีระบบประมวลผลระดับเท่าใด
.
หนึ่งในผู้ผลิตชิปอย่าง Intel ได้แถลงครั้งแรกเกี่ยวกับ metaverse ว่า มันอาจเป็นแพลตฟอร์มหลักต่อไปในการประมวลผลหลังจากเวิลด์ไวด์เว็บและมือถือ” แต่ประเด็นสำคัญตอนนี้คือการสร้าง metaverse ใด ๆ ที่ต้องการจะจำลองสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริง และรายละเอียดที่สมจริง อาจจะยังเป็นไปได้ยาก เพราะพลังประมวลผลอาจยังไม่เพียงพอที่จะใช้งานครับ
.
Raja Koduri รองประธานอาวุโสและหัวหน้ากลุ่ม Accelerated Computing Systems และกราฟิกของ Intel ให้ข้อมูลว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายที่มีอยุ่ในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ metaverse ดูเป็นรูปร่างที่ชัดเจนขึ้นมาจริง ๆ เพราะคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะใช้งาน metaverse
.
ยกตัวอย่าง Horizon Worlds ซึ่งเป็นระบบ VR ของ Meta ได้ถูกสร้างมาให้มีผู้เข้าร่วมสูงสุด 20 คนสำหรับต่อ 1 พื้นที่เท่านั้น และนั่นก็สำหรับโลกแอนิเมชั่นพื้นฐานสไตล์ Roblox (ภาพไม่ได้สวยเลย ) หรือแม้กระทั่งเกมที่กำลังพัฒนาให้เล่น VR ได้ อย่าง Fortnite หรือ Battlefield 2042 ก็ยังจำกัดผู้เล่นได้ 100 ถึง 128 ผู้เล่นในแต่ละครั้งเท่านั้น
.
ตามข้อมูลของ Koduri เราไม่สามารถแม้แต่จะใส่คนสองคนในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่มีรายละเอียดอย่างแท้จริงด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ ยกตัวอย่างเช่น อวตารที่น่าเชื่อถือ และมีรายละเอียดที่สมจริง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า สีผม และโทนสีผิว ซึ่งทั้งหมดต้องแสดงผลแบบเรียลไทม์และอิงข้อมูลเซ็นเซอร์ที่จับวัตถุ 3 มิติ รวมทั้งทั้งท่าทาง เสียง และอื่นๆ อีกมากมายในโลกแห่งความเป็นจริง
.
นอกจากนี้ยังต้องอาศัยการถ่ายโอนข้อมูลที่แบนด์วิดธ์สูงมากและเวลาแฝงที่ต่ำมาก เพื่อที่ทำให้สามารถแบบจำลองของสภาพแวดล้อมที่คงอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้เกิดความผิดพลาดระหว่างใช้งาน ซึ่งนี่เป็นการคำนวนจากเพียงแค่สองคนเท่านั้นนะ
.
แต่หากสิ่งที่เราได้วาดฝันไว้อย่างในภาพยนต์เรื่อง Ready Player One, Snow Crash หรือ The Matrix ที่จะต้องมีผู้ใช้หลายร้อยล้านคน มันจะต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผลที่ใหญ่มหึมากว่านี้มาก และนั่นเท่ากับว่า เรายังไม่ได้เห็นโลก Metaverse ที่แท้จริง ที่มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ ที่สมจริง ได้ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้
.
ส่วนตัวคิดว่า ในวันที่ Mark สร้างแพลทฟอร์ม Facebook ขึ้นมา มันก็เป็นแค่เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย จากนั้นพวกเขาก็พยายามหาเงินลงทุนในระบบเซิร์ฟเวอร์เมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่วันนี้ที่ Facebook มีเงินลงทุนระดับหลายพันล้านดอลล่าห์ ซึ่งอาจทำให้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ จะใช้เวลาเร็วกว่าที่หลายคนเคยคาดการณ์ไว้หรือเปล่า
.
ที่มาข้อมูล
https://www.theverge.com/2021/12/15/22836401/intel-metaverse-computing-capability-cpu-gpu-algorithms