Microsoft เผยเทคนิคปรับแต่ง Windows 11 ให้เล่นเกมได้แบบไม่กระตุก

นอกจากความคุ้นชินที่เปลี่ยนไปมากแล้ว อีกหนึ่งปัญหาของผู้ใช้ Windows 11 ที่พบเจอเป็นบางรายคือ เล่นเกมได้ลื่นน้อยลง เมื่อเทียบกับ Windows 10 ล่าสุด Microsoft เผยวิธีปรับแต่ง Windows 11 ให้เล่นเกมได้ลื่นมากขึ้น

แม้จะเริ่มต้นไม่ได้สวยนักสำหรับ Windows 11 อย่างปีแรก ๆ ก็มีปัญหากับผู้ใช้ AMD จนต้องออกอัปเดตแก้ปัญหาในอีก 2 – 3 สัปดาห์ต่อมา ล่าสุดก็พบ Windows 11 ส่งผลต่อประสิทธิภาพในเกมด้วย โดยเฉพาะผู้ใช้การ์ดจอ Nvidia ที่บางรายพบค่าเฟรมเรตลดลง หรือเล่นเกมได้กระตุกกว่าเดิม หลังจากอัปเดตตัว 22H2 ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ทางด้าน Microsoft ไม่รอช้า เผยวิธีปรับแต่ง Windows 11 ให้เล่นเกมได้ลื่นมากขึ้น ด้วยการปิดฟีเจอร์ 2 อย่างระบบปฏิบัติการ เช่น ปิดใช้งาน HVCI และ Virtual Machine Platform

วิธีแรก ปิดใช้งาน HVCI หรือ Hypervisor-protected code integrity ซึ่งเดิมเป็นตัวป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดี มาแอบฝั่งโค้ดในอุปกรณ์เราได้นั้นเอง หรือสามารถป้องกัน Ransomware ก็ยังได้

ส่วนการปิดนั้นให้คลิกที่ Start แล้วเลือกคำสั่ง Core Isolation ใน Taskbar หรือกดได้ในหน้าเมนู Windows security app เสร็จแล้วก็กด turn off เพื่อกดปิดตัว Memory Integrity เป็นอันเสร็จ

วิธีนี้อาจช่วยให้ PC ทำงานเร็วขึ้นนิดหน่อย รวมถึงการเข้าถึงไฟล์ในโฟลเดอร์พื้นฐานอย่าง Documents , Downloads , Music , Pictures และ Videos ได้อย่างอิสระ แต่ก็แลกกับกำแพงป้องกันความเสี่ยง Ransomware ที่ถูกปิดไปหนึ่งขั้น

วิธีที่สอง ปิด VMP หรือ Turning off Virtual Machine Platform ฟีเจอร์ช่วยจำลองหรือสร้างเครื่องคอมฯ เสมือน ที่ช่วยเรื่องความปลอดภัยได้ การสั่งปิดนั้นก็ทำได้โดยการไปที่ Start แล้วเลือกคำสั่ง Windows features ในช่องค้นหา จากนั้นก็หาตัว Virtual Machine Platform แล้วติ๊กเครื่องหมายถูกต้องออก เป็นอันเสร็จ

ท้ายนี้ Microsoft ได้รับข้อมูลจากผู้ใช้จนทราบด้วยว่า การเปิดใช้งานทั้งสองฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ จะส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง แต่อย่างไรก็ตาม Microsoft ยังแนะนำให้เปิดใช้งานทั้งสองฟีเจอร์ดังกล่าวต่อไป เพื่อประสบการณ์ใช้งานตัว Windows 11 อย่างเต็มที่

จากคำกล่าวนี้เองนั้น จึงพอสรุปได้ว่า ในระหว่างที่รอให้ทาง Microsoft ออกอัปเดต Windows 11 ใหม่ ให้ทำการปิดใช้งานสองฟีเจอร์ชั่วคราวขณะเล่นเกม แล้วเปิดใหม่หลังเลิกเล่น หรือจะปิดไปยาว ๆ แต่อาจต้องยอมรับความเสี่ยงจนกว่าจะถึงเวลานั้นเอง

ที่มา : Techspot