ดูได้ด้วยตาเปล่า ฝนดาวตกวันแม่ จัดเต็ม 100 ดวงต่อชั่วโมง

วันแม่ปีนี้สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติชวนดูปรากฏการณ์ฝนดาวตก

“ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” มีอัตราการตกสูงสุด 100 ดวงต่อชั่วโมงสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่เวลาประมาณ 23:00 น. ของวันที่ 12 สิงหาคม จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม

ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคมของทุกปี

ฝนดาวตกเกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟท์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) เหลือทิ้งไว้ในวงโคจร เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าว จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า

สถานที่รับชมฝนดาวตกจะต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีแสงรบกวน หากฟ้าใสไร้ฝนแนะนำนอนชมในพื้นที่มืดปราศจากแสงเมืองและแสงจันทร์

ปักหมุด 18 พื้นที่ดูดาวทั่วไทย ขึ้นแท่นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด
>> techhub

นอกจากฝนดาวตกในวันแม่แล้ว ตลอดเดือนสิงหาคมยังมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อีกให้เราได้ติดตามกัน ไม่ว่าจะเป็น

– ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพมหานคร (16 สิงหาคม 2566 เวลา 12:22 น.)
– ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี (กลางคืน 27 สิงหาคม 2566)
– ซูเปอร์บลูมูน (กลางคืน 30 – รุ่งเช้า 31 สิงหาคม 2566)

ปรากฏการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกและซูเปอร์บลูมูน หากใครสนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์ ทางสถาบันเข้าจัดกิจกรรมด้วยนะทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา สงขลา และฉะเชิงเทรา หรืออีกช่องทางคือรับชม LIVE ได้ครับ

#ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ #ฝนดาวตก #วันแม่ #ดาราศาสตร์ #TechhubUpdate