ไปไกลแล้ว คืนชีพซากฟอสซิล จำลองสิ่งมีชีวิตด้วย 3D Print

[450 ล้านปีก่อน] มันกินอยู่ยังไง มันเคลื่อนไหวอย่างไร และมันมีรูปร่างที่แท้จริงแบบไหน เหล่านี้คือคำถามที่จะมาแทบทุกครั้ง หากมีการค้นพบซากฟอสซิลสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปนานแล้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ก็ช่วยให้มนุษย์เข้าถึงปริศนานี้ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่นกรณีนี้

พบทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) เผย ‘Rhombot’ หุ่นยนต์ 3D Print จำลองเป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์อย่าง Pleurocystitid ที่พบในซากฟอสซิลโบราณ คาดเป็นสัตว์ทะเลที่อยู่มาตั้งแต่สมัย 450 ล้านปีก่อน

จากรูปลักษณ์ของ Pleurocystitid ในซากฟอสซิล ก็เป็นที่ฉงนว่ามันเคลื่อนตัวใต้น้ำได้อย่างไร และมีกลไกการเคลื่อนไหวแบบไหนกันแน่ ด้วยเหตุทางนักวิจัยจึงได้พัฒนาเจ้า Rhombot มาช่วยจำลองการเคลื่อนไหวเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และเพื่อความแม่นยำ จึงได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญสัตว์ในกลุ่มเอคไคโนเดิร์ม (Echinoderms) มาร่วมโครงการนี้ด้วย

โดยตัวหุ่นยนต์จะใช้ 3D Print เป็นหลัก ใช้วัสดุเป็น Elastomer ที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่น กับใช้โลหะผสมนิกเกิลกับไทเทเนียมเพื่อจำลองกล้ามเนื้ออ่อน และใช้แทนมอเตอร์ด้วย จึงนับเป็นส่วนที่จำลองยากที่สุด

ท้ายนี้ตัวหุ่นยนต์ นอกจาก Pleurocystitid ก็อาจจำลองสิ่งมีชีวิตในซากฟอสซิลตัวอื่น ๆ ในอนาคตด้วยเช่นกัน และวิธีการนี้ ก็อาจช่วยให้มนุษย์เข้าถึงปริศนานี้ได้มากขึ้น

ที่มา : Arstechnica