ล้ำไปอีกขั้น AI ตรวจสอบสารอาหาร วัดจากสีเมล็ดข้าว

AI ตรวจสอบสารอาหาร

ถ้าหากใครเคยอ่านเรื่อง “Easy Rice บริษัทที่สร้างระบบ AI สำหรับเกษตรกรรม” ที่ผมเคยเขียนไว้ น่าจะพอจำกันได้ว่า เป็น Startup ของไทยที่สร้าง AI ที่ใช้ตรวจตรวจพันธุ์เมล็ดข้าว ความสมบูรณ์ หรือสายพันธุ์ข้าวเปลือก โดยใช้เวลาเพียง 3-5 นาที จากปกติที่ใช้คนนั่งดูทีละเมล็ด และอาจใช้เวลามากถึง 20-30 นาทีครับ

อ่านทั้งหมดได้ที่ >> https://www.techhub.in.th/ai-for-rice-check/

ทีนี้ จากความสำเร็จที่ได้รับการยอมรับในวงการอุตสาหกรรมค้าข้าว Easy Rice วางแพลนที่จะพัฒนาระบบ AI ตรวจสอบสารอาหารตัวใหม่ ที่สามารถใช้ตรวจสอบสารอาหารอยู่ในเมล็ดข้าวได้ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน แป้ง น้ำตาล หรือสารอาหารอื่น ๆ

วิธีการคือ พวกเขาค้นพบว่า หากเราใช้กล้องถ่ายภาพสเปกตรัม (Hyperspectral Imaging cameras) ยิงคลื่นความถี่ลงในวัตดุดิบต่าง ๆ และในความถี่ที่ต่างกัน กล้องจะสะท้อนให้เห็นถึงสารอาหารที่อยู่ในนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากเราใช้ความถี่ที่ 10K เราอาจจะเห็นโมเลกุลของโปรตีนที่อยู่ในเมล็ดข้าวครับ

ทีนี้ เราจะรู้ได้ยังไงว่า ความถี่ระดับไหน จะเห็นสารอาหารอะไร ทางผู้บริหารของ Easy Rice บอกว่า จริง ๆ แล้วทางมหาวิทยาลัยดังอย่าง Cambridge และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เคยทำวิจัยไว้แล้วว่า ต้องใช้คลื่นความถี่เท่าไหร่ ถึงจะเห็นสารอาหาร เช่นโปรตีน น้ำตาล หรือเกลือแร่อื่น ๆ ครับ

ฉะนั้น Easy Rice เพียงแค่นำผลวิจัยเหล่านี้ มาสร้างเป็นชุดข้อมูลต่างหากของตัวเอง เพื่อใช้สำหรับฝึก AI ครับ สิ่งนี้จะทำให้ได้มาตรฐานที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยทั้งหมดกำลังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา และพวกเขามีแผนจะเปิดตัว AI ตัวใหม่ในสิ้นปี 2563

ไม่เพียงแค่นั้น จากแนวทางในการพัฒนา AI ในลักษณะของ Computer Vision ทำให้มันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบเมล็ดข้าวโพด , เมล็ดกาแฟ , ข้าวสาลี , หรือผลไม้เศรษฐกิจของไทยอย่าง ทุเรียน ก็ทำได้ครับ ต้องมารอดูในอนาคตกัน …

ที่มาข้อมูล
งานแถลงข่าว Easy Rice