ปลอดภัยขึ้น ค่ายมือถือออกโซลูชั่นใหม่ ป้องกัน ภัยคุกคามออนไลน์

ภัยคุกคามออนไลน์

ปัจจุบัน ปลอดภัยขึ้น ค่ายมือถือออกโซลูชั่นใหม่ ป้องกัน ภัยคุกคามออนไลน์ เกิดขึ้นมาก มีการหลวกลวง การกดลิงก์แล้วสูญเสียเงินในบัญชีไป และหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง ก็ยังไม่สามารถจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าวได้เสียที

True & Dtac ในฐานะผู้ให้บริการด้านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต นำเสนอบริการด้านความปลอดภัยที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้งาน นั่นคือ True & Dtac Security ซึ่งกำลังพัฒนาโซลูชั่นที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้ามากขึ้น โดยจะมีทั้ง

End-to-end Protection ปกป้องภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ครบวงจรทั้งบนเครือข่าย และแอปพลิเคชัน , Smart Monitoring ระบบป้องกันทันท่วงที ตรวจติดตามเฝ้าระวังการทำงานของระบบต่างๆแบบอัจฉริยะแบบเรียลไทม์ ตลอด 24 ชั่วโมง และ Best-in-class Partnership ที่จะร่วมมือพาร์ทเนอร์ชั้นนำระดับเวิลด์คลาสด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ อาทิ คลาวด์ สไตร์ท – พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์- เวคตร้า เอไอ ที่จะทำให้โครงข่ายปลอดภัยที่สุด

ลูกค้า True กับ Dtac จะได้อะไร ? ผู้บริหารให้ข้อมูลว่า สิ่งที่ True และ Dtac กำลังทำคือการปกป้องข้อมูลของลูกค้า ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่วิ่งผ่านในโครงข่ายจะมีความปลอดภัยและมีความเสถียรในการใช้งาน หมดกังวลว่าข้อมูลจะถูกแฮก

แล้วปัญหาลิงก์อันตราย หรือผู้ใช้ถูกดูดเงิน จะถูกแก้ไขไหม ? คุณประเทศ ตัณกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี กล่าวว่า เรื่องนี้ อาจจะต้องทำความเข้าใจแยกกัน ซึ่งในฐานะผู้ให้บริการด้านโครงข่ายอย่าง True และ Dtac หากลูกค้ากดลิงก์ หรือทำธุรกรรมใด ๆ อินเทอร์เน็ตที่มีจะต้องนำพาไปได้อย่างครอบคลุม เพราะถือว่าลูกค้าเรียกร้องที่จะใช้งานลิงก์นั้น ซึ่ง True & Dtac จะไม่สามารถดูได้ว่า ลูกค้าเข้าใช้งานเว็บอะไร เข้าลิงก์ไหน หรือใช้ธุรกรรมใด ๆ ครับ สิ่งที่ดีที่สุดคือ ลูกค้าต้องสร้าง Awareness ให้กับตัวเอง เรียนรู้ที่จะไม่ให้ข้อมูลกับใคร ไม่เชื่อคำหลอกลวง ไม่กดลิงก์ หรือโอนเงินให้ใครง่าย ๆ ซึ่งสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ทรูปลูกปัญญาครับ

แต่มีข่าวดี สำหรับลูกค้า Dtac โดยดีแทคจะมีบริการที่เรียกว่า Dtac Safe เป็นแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยแจ้งเตือน และทำการบล็อคเว็บอันตรายบนมือถือ ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันให้ลูกค้าได้อีกชั้นหนึ่ง ตอนนี้รองรับแค่กับลูกค้า Dtac เท่านั้น แต่กำลังจะขยายสู่ลูกค้าของ True ในอีกไม่นานครับ

โดยสรุปคือ True & Dtac ร่วมมือกับ Partner ในการเฝ้าระวังโครงข่ายให้กับผู้ใช้งาน แต่ไม่สามารถเข้าไปวุ่นวายกับลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ได้ ดังนั้น การปกป้องที่ดีที่สุดคือต้องมาจากตัวผู้ใช้อย่างเราเอง และสามารถเสริมด้วยบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม ซึ่งเราอาจใช้งาน Third-party Security ที่เป็นแอพของผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยโดยตรง หรือจะใช้งาน Dtac safe ที่เป็นบริการเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการก็ได้ครับ

ที่มาข้อมูล
งานแถลงข่าว True&Dtac Security