เทคโนโลยีสู้ไฟป่า ดาวเทียม และ AI ผู้ช่วยนักดับเพลิง

สถานการณ์ไฟป่านับเป็นปัญหาร้ายแรงระดับโลก นอกจากจะมีส่วนทำใหัสัตว์น้อยใหญ่เสียชีวิตจำนวนมาก ยังส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียงจากหมอกควันที่หนาทึบ ยกตัวอย่างในวิกฤตไฟป่าในออสเตรเลียเมื่อปี 2020 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก หลายครอบครัวต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แม้นักดับเพลิงจะทำงานกันอย่างหนัก ก็ไม่สามารถหยุดความพิโรธของไฟป่าในขณะนั้นได้
.
ปัจจุบัน ปัญหาไฟป่าขนาดใหญ่ได้เผาพื้นที่มากกว่า 1.3 ล้านเอเคอร์ใน 13 รัฐในปีนี้ ข้อมูล ณ วันศุกร์ตามรายงานของ National Interagency Fire Center และนรกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกาตอนนี้คือ คือ Bootleg Fire ทางตอนใต้ของโอเรกอน ซึ่งต้องประชาชนหลายพันคนต้องอพยพตั้งแต่เกิดฟ้าผ่าเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ควันจากไฟทางทิศตะวันตกนั้นหนาแน่นมากจนผู้อยู่อาศัยในชายฝั่งตะวันออกกำลังประสบเหตุวิกฤต

.
ทำให้กำลังมีการพัฒนาในการใช้ดาวเทียม โดรน และปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆ กำลังเข้ามาเปลี่ยนวิธีที่หน่วยงานดับเพลิงและรัฐบาลต่อให้สู้กับภัยคุกคามจากไฟป่าที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยโครงการใหม่กำลังได้รับการพัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพและสถาบันวิจัยเพื่อคาดการณ์พฤติกรรมการเกิดเพลิงไหม้ ตรวจสอบความแห้งแล้ง หรือแม้แต่ตรวจจับไฟตั้งแต่ลุกไหม้ครั้งแรก ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเพิ่มความรุนแรงและความถี่ของไฟป่า ความก้าวหน้าเหล่าเหล่านี้กำลังช่วยให้นักดับเพลิงมีเครื่องมือในการขจัดไฟป่าก่อนที่จะลุกลาม
.
แม้กรมป่าไม้ของสหรัฐฯ จะใช้เครื่องมือคาดการณ์อยู่แล้วเพื่อตรวจสอบสภาพอากาศที่เกิดไฟไหม้ อันตรายจากอัคคีภัย และเชื้อเพลิง และให้ข่าวกรองแก่ผู้บังคับบัญชาเหตุการณ์ นักผจญเพลิง และเจ้าหน้าที่สนับสนุน แต่เครื่องมือหลายอย่างที่ใช้ได้ต้องอาศัยการถ่ายภาพดาวเทียมซึ่งอาจใช้เวลาหลายชั่วโมงในการส่งและวิเคราะห์ กว่าจะทราบถึงสภาพเหตุการณ์ นั่นอาจจะสายไป


.
ด้วยการระดมทุนจากกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ ได้มีการพัฒนาระบบในปี 2014 ที่เรียกว่า Rapid Analytics for Disaster Response หรือ RADR ซึ่งใช้เทคโนโลยีจับภาพจากดาวเทียม เครื่องบิน โดรน ปัญญาประดิษฐ์ และคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อประเมินผลกระทบ ภัยธรรมชาติ รวมทั้งไฟป่า ปัจจุบันมีเครื่อมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็น RADR-Fire ที่สามารถอ่านค่าขอบเขตของไฟป่าได้ในหลายครั้งต่อวัน พร้อมทั้งเชื่อมโยงผลกระทบและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับรอบ ๆ ขอบเขตของไฟป่าครับ
.
หากเป็นสถานการณ์ปกติ เมื่อผู้บังคับบัญชาเหตุการณ์ไม่สามารถอ่านได้อย่างแม่นยำว่าไฟมีขนาดใหญ่เพียงใดหรือจุดใดที่เพลิงไหม้จริง พวกเขาต้องสั่งให้เครื่องขึ้น เพื่อไปบันทึกภาพเพลิงไหม้ จากนั้นภาพเหล่านั้นจะถูกวิเคราะห์โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนที่สร้างแผนที่แนวไฟ กระบวนการนี้อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่ RADR-Fire สามารถให้ข้อมูลได้ภายในไม่กี่นาที
.
นอกจากนี้ บริษัท OroraTech สตาร์ทอัพสัญชาติเยอรมันก็ตั้งเป้าที่จะเปิดเผยข้อมูลอัคคีภัยแบบเรียลไทม์ในเมืองมิวนิค โดยกำลังมีแผนจะสร้างดาวเทียมบริวารขนาดเล็กประมาณ 100 ดวง ขนาดประมาณกล่องรองเท้าในแต่ละดวง จากนั้นติดตั้งกล้องอินฟราเรดความร้อนเพื่อตรวจสอบดาวเคราะห์และรายงาน ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากมีไฟใด ๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 เมตรหรือประมาณ 33 ฟุต จะสามารถทราบได้ทันที
.
นาโนแซทเทลไลต์ชุดแรกจะเปิดตัวในเดือนธันวาคมปีนี้ด้วยความช่วยเหลือของ Spire ในซิลิคอนแวลลีย์ ซึ่งเป็นบริษัทข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากอวกาศสู่คลาวด์ รวมทั้งจะมีดาวเทียมสนับสนุนจาก Space X อีกสิบสี่ดวง ซึ่งสามารถเปิดตัวได้ภายในปี 2566 ครับ
.
ทั้งนี้ OroraTech นั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อตรวจสอบไฟป่า นอกจากนั้นบัใ Chooch AI ซึ่งเป็นบริษัทปัญญาประดิษฐ์ในซานฟรานซิสโก ใช้ระบบที่วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมทุก ๆ 10 นาทีเพื่อระบุว่าไฟป่าเกิดขึ้นที่ใด

.
นอกจากนี้ ยังมีสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี Salo Sciences ที่ร่วมมือกับบริษัทชื่อ Planet บริษัทดาวเทียมที่ก่อตั้งโดยนักวิทยาศาสตร์ของ NASA เพื่อสร้างระบบตรวจสอบที่เรียกว่า California Forest Observatory ซึ่งใช้ AI และภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อสร้างแผนที่โดยละเอียดของพื้นที่ป่าในแคลิฟอร์เนีย เพื่อช่วยทำนายและป้องกันไฟป่าที่จะเกิดขึ้น
.
ต้องยอมรับว่าแผนที่ไฟป่านั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อช่วยสังเกตและหยุดการแพร่ขยายขอบเขตได้ไวมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า AI กำลังเข้ามาช่วยให้เจ้าหน้าที่ไฟป่าทำงานได้ง่ายพร้อมกับลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น แต่หากในบ้านเรามีบ้าง คงจะดีไม่ใช่น้อยครับ ถึงฤดูเผาทีไร ฝุ่นเต็มไปหมด เจ้าหน้าที่ก็พยายามจับมือคนเผา แต่จับเท่าไหร่ ก็ยังมีลักลอบเผาอยู่เรื่อย ๆ
.
แหล่งข้อมูล
https://www.nbcnews.com/news/us-news/using-satellites-ai-space-based-technology-shaping-future-firefighting-n1274807

Why Tech Has Been Slow to Fight Wildfires, Extreme Weather