อนาคตของการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยหลายแห่ง ได้เสนอทางเลือก การเรียนทางไกล  (Remote Learning) ให้สำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่เรียนนอกเวลา อย่างไรก็ดีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปีที่ผ่านมา ทำให้ในภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกหลายแห่ง ต้องเปลี่ยนมาใช้ช่องทางออนไลน์ และนำรูปแบบการเรียนทางไกลมาใช้เสมือนกับห้องเรียนจริงที่โรงเรียนทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนมาใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่บ้าน

ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ เริ่มผ่อนคลายมาตรการ สถาบันการศึกษาหลายแห่งกลับมาเปิดใหม่ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายมากขึ้น โดยเปิดให้มีการเรียนแบบผสมผสาน โดยนักเรียน/นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกที่จะเข้าชั้นเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนทางไกล  หรือเรียนแบบไฮบริดได้ และมีแนวโน้มว่าเราจะได้เห็นนักเรียน/นักศึกษาหลายคนจะเลือกเข้าชั้นเรียนเวอร์ชวลในอนาคตอันใกล้ สิ่งนี้ทำให้นักเรียน/นักศึกษาหลายคนที่เพลิดเพลินและสนุกกับการเรียนทางไกล รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากการเรียนมีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของตนเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งรบกวนใหม่ ๆ อุปสรรคทางเทคโนโลยี และการขาดประสบการณ์ดิจิทัล ทำให้การเรียนทางไกลเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน ความสำเร็จในการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ของสถาบันการศึกษา ได้พัฒนาให้อุตสาหกรรมการศึกษาเติบโตอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหลายๆ ภารกิจที่ต้องเดินหน้าต่อ

สร้างดิจิทัลแคมปัส

จากผลการศึกษาล่าสุดของ Digital Frontiers 3.0 ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยอย่างน้อยหนึ่งในสาม (33%) กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันการศึกษาได้มอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้นกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ 38% ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า สถาบันการศึกษามอบประสบการณ์โดยรวมดีขึ้น และอีก 34% ยังยินดีที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางดิจิทัลกับสถาบันการศึกษาต่อไป

ที่มา: รายงาน Digital Frontiers 3.0 โดย YouGov ร่วมกับ VMware

การที่ต้องเปลี่ยนไปใช้การเรียนผ่านทางไกลผ่านดิจิทัลแคมปัสอย่างกะทันหัน มีผลให้ผู้สอนทั่วภูมิภาคต่างพยายามจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ให้กับนักเรียนที่บ้าน นักเรียนและคุณครูต่างต้องเรียนรู้ผ่านการประชุมทางวีดีโอออนไลน์ แพลตฟอร์มการสอนออนไลน์ ตลอดจนเครื่องมือและเนื้อหาออนไลน์ต่าง ๆ

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นแค่ขั้นตอนแรก ในขั้นตอนถัดไป บุคลากรทางการศึกษาจำเป็นต้องสร้างประสบการณ์ดิจิทัลเหล่านี้:

  • เข้าถึงได้ง่าย
  • เชื่อมต่อได้เร็วขึ้น
  • เสถียรและสม่ำเสมอยิ่งขึ้น
  • ลดความซับซ้อนและยุ่งยากในการใช้งาน

เริ่มต้นด้วยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถาบันการศึกษา เวอร์ชวลดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทำงานผ่านซอฟต์แวร์มีความยืดหยุ่นกว่า (และราคาถูกกว่า) เมื่อเทียบกับฮาร์ดแวร์ องค์กรไอทีที่มีระบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัยเหล่านี้ จะมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้นเพื่อรองรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์

เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มความสามารถในการประมวลผลในระบบคลาวด์ได้อย่างรวดเร็ว จึงสามารถจัดสรรและจัดการอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และเวอร์ชวลเดสก์ท็อป/ได้จากทุกที่ ทีมไอทียังสามารถเห็นความเสถียรที่เพิ่มขึ้นในโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ซอฟต์แวร์ พวกเขาสามารถใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติเพื่อแก้ไขปัญหาและปรับเปลี่ยนได้ตามที่ต้องการ ด้วยวิธีนี้ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะพร้อมใช้งานและทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุดเสมอ และสิ่งนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำงานบนแอปพลิเคชันขั้นสูงและการจัดการระบบ รวมทั้งสภาพแวดล้อมห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง

นักเรียนมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลที่มีความปลอดภัย                                                           

ผลการศึกษา Digital Frontiers 3.0 ผู้บริโภคชาวไทยเปิดเผยว่า ความมั่นใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลในอุตสาหกรรมต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเกิดการระบาดของโคโรนาไวรัส มีเพียง 3 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (33%) รู้สึกมั่นใจว่าข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ของพวกเขาที่ให้ไว้กับสถาบันการศึกษาจะได้รับการป้องกันและปลอดภัย

สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า บุคลากรทางการศึกษาและสถาบันการศึกษาไม่เพียงรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของนักเรียนเท่านั้น ในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบไฮบริด จะต้องมีความรับผิดชอบในด้านอื่นๆ ดังต่อไปนี้:

  • การปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลนักเรียน/นักศึกษา
  • ปกป้องพวกเขาจากภัยคุกคามออนไลน์และเนื้อหาที่เป็นอันตราย
  • ปฏิบัติตามแนวทางและข้อกำหนดทางการใช้งานข้อมูลและระบบดิจิทัล

รูปแบบการรักษาความปลอดภัยที่ล้าสมัยและเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของการเรียนรู้ที่เน้นใช้งานระบบดิจิทัลเป็นหลัก นอกจากนี้ยังทำให้นักเรียน/นักศึกษาและสถาบันการศึกษาเผชิญกับความเสี่ยง ดังนั้น ผู้นำด้านไอทีของภาคการศึกษาต้องใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่มาพร้อมกับการรักษาความปลอดภัยในตัวพร้อมทั้งเฟรมเวิร์กในการรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เช่น ระบบการบริหารจัดการ unified endpoint และระบบรักษาความปลอดภัย​แบบ zero-trust

ปิดช่องโหว่ของการเรียนรู้ดิจิทัลด้วยการเสริมศักยภาพผู้สอนและผู้เรียน

ความท้าทายอันใหญ่หลวงอีกประการหนึ่งของการเรียนการสอนแบบออนไลน์คือ ความเท่าเทียม เนื่องจากการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบดิจิทัลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักเรียน/นักศึกษายังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียมกัน การเพิ่มขึ้นของการเรียนทางไกลสะท้อนให้เห็นถึง ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นในการเรียนการสอนแบบออนไลน์

ถึงแม้การเรียนแบบไฮบริด นักเรียน/นักศึกษาทุกคนสมควรได้รับการศึกษาบนโลกดิจิทัลที่มีคุณภาพสูง ไม่ใช่แค่ในเรื่องของความสะดวกหรือการเข้าถึงเท่านั้น การพัฒนาทักษะดิจิทัลตามความต้องการของนักเรียน/นักศึกษาเพื่ออนาคตของการทำงานและความเป็นผู้นำก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน สิ่งนี้รวมไปถึงนักเรียน/นักศึกษาที่เป็นวัยทำงาน เรียนนอกเวลา และประชาชนทั่วไป จากผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยครึ่งหนึ่ง (50%) เชื่อว่าสถาบันการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ด้านดิจิทัล ซึ่งก็คือความสามารถในการเข้าถึงและใช้บริการออนไลน์ที่หลากหลาย

สร้างสรรค์นวัตกรรมให้เร็วยิ่งขึ้นเพื่ออนาคตของการศึกษา

นับเป็นการพลิกโฉมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หรือแม้แต่นักเรียน/นักศึกษา ครู คณาจารย์ และผู้ปกครองที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการในการเข้าถึงระบบการศึกษารูปแบบใหม่ การศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนหน้านี้ที่เคยห่างไกลรูปแบบการเรียนรู้ส่วนบุคคลอย่างแท้จริง ซึ่งขณะนี้กลายเป็นการโมเดลการเรียนรู้ใหม่ทั้งหมดที่ทุกฝ่ายต้องปรับตัว รวมทั้งประสบการณ์ดิจิทัลขั้นสูงสุดที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้นักเรียน/นักศึกษาเพื่อรองรับอาชีพใหม่ๆ ในอนาคต

จากที่กล่าวถึงข้างต้น เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นรากฐานดิจิทัลสำหรับผู้นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา:

  • สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและเอาชนะความท้าทายต่าง ๆ
  • การรวมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ตัวอย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยขับเคลื่อนเส้นทางสู่การเรียนรู้และความสามารถในการการประเมินผลทผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น
  • ปรับเปลี่ยนการจัดสรรทรัพยากรและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนครูและคณาจารย์
  • สร้างความแตกต่างด้วยโมเดลธุรกิจและการเรียนรู้ใหม่ที่ล้ำหน้า ตัวอย่างเช่น อีโคซิสเต็มส์ของการเรียนรู้ที่ทำงานร่วมกันมากขึ้น

มีข้อสงสัยเล็กน้อยว่า โมเดลการศึกษาแบบดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สถาบันการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถก้าวไปสู่อนาคตดิจิทัลและกำหนดอนาคตของการศึกษาได้เร็วขึ้น เราต้องพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงในวันนี้และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต