ส่อง 3 นวัตกรรม ออฟฟิศยุคใหม่ อยู่ยาวไป หลัง Work from Home

เมื่อโลกปิดตัวลงมานานกว่าหนึ่ง เทคโนโลยีอย่าง Zoom , Slack หรือแอปการประชุมอื่น ๆ ช่วยให้ทุกคนทำงานได้มีประสิทธิภาพ ขณะทำงานจากที่บ้าน แม้ว่าการระบาดใหญ่จะส่งผลในทางลบมากมาย แต่ด้านดีก็คือตอนนี้ใครที่ยังต้องไปออฟฟิสอยู่ รถไม่ติดครับ (หยอก ๆ)
.
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ Covid นั้นเหมือนเป็นการบังคับให้นักประดิษฐ์เทคโนโลยีต้องปฏิวัติสถานที่ทำงานเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยให้โลกก้าวต่อไปได้ สถานที่ทำงานสมัยใหม่เปลี่ยนจะไปอย่างไร? แนวโน้มการทำงานในอนาคตจะเป็นยังไง และวันนี้มีเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ไปดูกันครับ

1. Facebook สร้างห้องทำงานเสมือนจริง

หลายบริษัทอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ในช่วงนี้ และส่วนใหญ่จะการประชุมแบบออนไลน์เพื่อให้ลดการสัมผัสกันมากที่สุด แต่การประชุมออนไลน์นั้นไม่เหมือนกับการโต้ตอบแบบเห็นหน้ากัน พนักงานมีส่วนร่วมในการประชุมน้อยลง หรือบางครั้งแทบที่จะตอบโต้อะไร และหลายบริษัทต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานอีกครั้ง
.
Facebook หวังจะเปลี่ยนสิ่งนั้นด้วย Horizon Workrooms โดยหากเรามีชุดหูฟัง Oculus Quest 2 ของ Facebook เราสามารถเข้าร่วมในห้องทำงานเสมือนจริงกับเพื่อนร่วมงานได้ ไม่ว่าเราจะกำลังพรีเซนต์งานหรือเพียงแค่กำลังสนทนา Facebook บอกว่า เทคโนโลยีดังกล่าวได้เพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ เข้าไปเพื่อให้การใช้งานดูสมจริงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น desk and keyboard tracking, hand tracking, remote desktop streaming, video conferencing integration, spatial audio, และ Oculus Avatars หรือการสร้าง Avatar ขึ้นมาครับ
.
สำหรับการประชุม เพื่อสร้างสถานการณ์เหมือนเราอยู่ในห้องประชุมจริง ๆ
หากต้องการลองใช้ Facebook Horizon Workrooms บริการนี้ฟรีนะครับ แต่เราจำเป็นต้องมีชุดหูฟัง Oculus Quest 2 ซึ่งเริ่มต้นที่ประมาณ 300 ดอลลาร์

2. ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์

เมื่อคนส่วนใหญ่นึกถึงแนวโน้มการทำงานในอนาคต พวกเขาจะกังวลเรื่องปัญญาประดิษฐ์ เพราะคิดว่า Ai หรือ Robot กำลังเข้ามาแย่งงานมนุษย์ แต่ความจริงแล้ว AI ถูกใช้เพื่อช่วยเหลือมนุษย์สำหรับงานระดับเริ่มต้นบางงาน ตัวอย่างเช่น บางบริษัท HR ใช้แชทบอทเพื่อช่วยในกิจกรรมการฝึกอบรมพนักงานรวมถึงใช้เพื่อการบริการลูกค้า
นอกจากนี้ AI เทคโนโลยีนี้ยังถูกใช้ในการประเมินทักษะและพฤติกรรมของผู้สมัครงานอีกด้วย โดย AI สามารถช่วยให้สำนักงานทำงานได้อย่างชาญฉลาดขึ้น ไม่ใช่หนักขึ้น ทำให้พนักงานไม่ต้องทำงานซ้ำซากจำเจ ลดภาระงาน และช่วยให้พนักงานมีเวลาสำหรับคิดหานวัตกรรมอื่น ๆ มากขึ้น
.
สำหรับหุ่นยนต์นั้น ส่วนใหญ่แล้วถูกสร้างมาเพื่อทำงานที่เป็นอันตรายแทนมนุษย์ ตัวอย่างเช่น หากบริษัทหนึ่งต้องมีการตรวจสอบถังนมขนาดใหญ่เพื่อหารอยร้าวที่ซ่อนแบคทีเรียอันตรายไว้ แม้ว่าสิ่งนี้อาจเป็นงานที่อันตรายสำหรับมนุษย์ แต่ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบถังเหล่านี้ได้ผ่านสายตาของหุ่นยนต์จากระยะที่ปลอดภัย และด้วยความแม่นยำในการมองเห็นที่ยอดเยี่ยม AI และ Robot สามารถลดอันตรายของงานบางงานออกไปครับ

3. การรักษาความปลอดภัยที่ไม่ต้องกังวลเรื่อง Zero-day

ความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเทรนด์การทำงานที่จำเป็นอย่างมากในอนาคต โดยล่าสุดบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ในสหรัฐอย่าง T-mobile ทำข้อมูลลูกค้าหลุดหลายล้าน ทำให้บริษัทต้องประสบกับปัญหาฟ้องร้องมากมาย ซึ่งสาเหตุมาจากการให้พนักงานทำงานที่บ้าน และทำให้ระบบความปลอดภัยเข้าไม่ถึงพนักงานทุกคน
.
สิ่งนี้จะเป็นช่องทางให้แฮกเกอร์เข้าถึงระบบได้ง่าย ๆ ส่งผลให้ระบบรักษาความปลอดภัยมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กำลังสนับสนุนแนวคิดด้านความปลอดภัยที่เรียกว่า Zero trust
.
ระบบรักษาความปลอดภัยส่วนใหญ่ในปัจจุบันถือว่าคือ “คนภายใน” เป็นระบบที่เชื่อว่าทุกคนที่ Access เข้ามานั้นปลอดภัย ทำให้แฮกเกอร์สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้อย่างอิสระผ่านระบบของบริษัทเมื่อเข้าถึงได้ แต่แนวคิด Zero trust ก็คือทุกคน ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอก ไม่ควรไว้วางใจ และระบบควรตรวจสอบความถูกต้องของแต่ละคนก่อนจะ Access ถึงส่วนต่าง ๆ ของระบบ พนักงานอย่างเราเอง ควรมี Awareness ในตัว ไม่คลิกลิงก์หรือใส่ข้อมูลใด ๆ หากไม่มั่นใจ
.
และด้วยเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ (คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2564) ที่สูญเสียไปทุกปีเนื่องจากอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เชื่อว่านี่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างปลอดภัยครับ