“4G” พันธกิจเพื่อชาติ เติมเต็มทุกการใช้งาน (ตอนจบ)

มาถึงช่วงสุดท้ายของการสัมภาษณ์ พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการ (กสทช) ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ต่อเรื่องราวของ “4G” ที่กำลังจะเกิดการประมูลคลื่นย่านความถี่ 1800MHz ในวันนี้ (11 พฤศจิกายน 2558) ก่อนจะตามมาด้วยการประมูลคลื่นย่านความถี่ 900MHz ในวันที่ 15 ธันวามคม 2558

4g-003

ประมูล 4G คลื่น 1800MHz เริ่มในวันนี้ (11 พฤศจิกายน 2558)

พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวกับเออาร์ไอพี ว่า การสื่อสารข้อมูลในยุคต่อจากนี้ไป อาจต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจทำให้การโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง เพียงแค่นำเครื่องมาวางใกล้ๆกัน หรือการปรับเปลี่ยน Content ให้ตรงกันโดยอัตโนมัติ โดยผ่านบริการpersonal clouds คล้ายๆ กับ Dropbox หรือ Evernote ในปัจจุบัน แต่เป็นแบบ Realtime

การใช้งาน 4G ก่อให้เกิดการหลอมรวมทางเทคโนโลยี ด้วยอุปกรณ์สื่อสารแทบทุกชนิดจะเป็นอุปกรณ์ที่ชาญฉลาดและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำงานได้จากระยะไกล (remote) และสามารถทำงานร่วมกันและโต้ตอบกันได้อย่างทันทีทันใด เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การให้บริการ internet of Thing หรือ IoT จะเพิ่มขึ้น จนทำให้อุปกรณ์ต่างๆสามารถใส่ SIM card เพื่อรับส่งข้อมูลติดต่อกันได้เป็นเครือข่าย เกิด mobile workplace มีระบบ sensor โดยเชื่อมโยงด้วยระบบ mobile internet 4G เกิด wearable device ที่ชาญฉลาด และจะเกิดการให้บริการรูปแบบแปลกใหม่เกิดขึ้นมากมาย

การให้บริการ 4G LTE จะไม่เกิดขึ้น หากปราศจากคลื่นความถี่ที่จะนำมาใช้ให้บริการเครือข่ายซึ่งจะเกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม

เออาร์ไอพี : คอนเทนท์ที่จะเกิดขึ้นจากหลังการประมูลคลื่นความถี่ 4G จะเป็นอย่างไร?

พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ : Content บน mobile device มีจาก 3G เป็น 4G แนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว ตาม capacity ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว จนไม่สามารถคาดการณ์ว่าจะอิ่มตัวเมื่อไร ประกอบกับจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายประเภทข้อมูล (data subscriber) ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยที่ content ต่างๆ ไม่ได้เกิดเฉพาะในท้องถิ่นเท่านั้น เพราะระบบเครือข่ายนั้นโยงใยไปทั่วโลก ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ถ้าหากขีดความสามารถในการส่งข้อมูลเร็วขึ้น

ทั้งนี้เออาร์ไอพีเชื่อว่า แม้การประมูล 4G ในวันนี้จะผ่านพ้นไปด้วยดีอย่างไร สุดท้ายแล้วการกำหนดราคาค่าบริการ การให้บริการความเร็วที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่คนไทยยังต้องการความชัดเจน และหวังว่าผู้บริโภคจะได้ใช้ 4G แบบไม่มีกั๊กในเร็วๆ นี้

ย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 2 ได้ที่นี่ >> คลิก <<

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here