บอกลา”แผ่นกันกระแทก”แบบเก่าได้ เมื่อผู้ผลิตเตรียมทำแบบใหม่ให้บีบเล่นไม่ได้แล้ว

อวสาน “แผ่นเป๊าะแป๊ะ” เมื่อทาง Sealed Aire ผู้ผลิต Bubble Wrap ได้มีแผนจะผลิตแผ่นกันกระแทกแบบใหม่ ที่ทนทานกว่าเดิม และไม่สามารถบีมเล่นให้แตกได้แล้ว ทั้งยังมีขนาดบางกว่าเดิม ทำให้ลดต้นทุนการขนส่งได้มากขึ้น
0012Sealed Air บริษัทผู้ผลิตแผ่นกันกระแทก Bubble Wrap ที่มีผลิตมาตั้งแต่ปี 1960 โดยมีลักษณะเด่นคือ เม็ดฟองอากาศ ที่มีหน้าที่ในการรองรับการกระแทกจากภายนอก โดยไม่ให้ของที่อยู่ข้างในเสียหายได้ แต่มันกลับ(เหมือนจะ)มีฟังก์ชั่นเสริม ที่ทำเอาผู้ใหญ่หลายๆคนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งได้คือ เวลาบีบเล่นแล้ว ได้ยินเสียง “เป๊าะแป๊ะ” มันฟิน….

แต่แล้ว ล่าสุดมีรายงานมาว่า ผู้ผลิตเจ้าแผ่นเป๊าะแป๊ะตัวนี้ กำลังมีแผนการผลิตแผ่นกันกระแทกแบบใหม่ให้ดีกว่าเดิม
หลังจากที่ ประสบปัญหา ถูกคู่แข่งกินส่วนแบ่งในตลาด เพราะตัว Bubble Wrap นั้น หรือแผ่นกันกระแทกแบบเดิม ถูกบีบให้แตกได้ ทำให้มันมีคุณภาพในการกันกระแทกต่ำลง และมันยังสร้างภาระเวลาขนส่งด้วย เนื่องจากมันมีขนาดใหญ่มาก (เวลาเอามาม้วน) สร้างความลำบากในการขนส่งอยู่ไม่น้อย ทำให้มีค่าขนส่งสูง ต่อมาทางบริษัทจึงต้องมีการคิดแผนกันใหม่ จนในที่สุด ก็ออกมาเป็น iBubble Wrap แผ่นกันกระแทกรุ่นใหม่ ที่ทนทานกว่า บางกว่า และที่สำคัญ มันบีบให้แตกแบบเมื่อก่อนไม่ได้แล้วด้วย
BT-AC841_BUBBLE_9U_20150702145723

จากภาพ แสดงให้เห็นถึง ความแตกต่างระหว่างแผ่นกันกระแทกแบบเก่ากับแบบใหม่ ที่แบบเก่านั้นมีต้นทุนในการบรรจุ เก็บห่อและขนส่งที่สูงมาก ในขณะที่แบบใหม่นั้น ในภาพโชว์ว่า มันบีบให้แตกไม่ได้แล้วนะ

iBubble Wrap แผ่นกันกระแทกแบบใหม่นี้ จะมีลักษณะเป็นแผงปุ่มฟองอากาศที่เชื่อมระหว่างกัน ผ่านท่ออากาศขนาดเล็ก ที่เมื่อสูบลมเข้าไปแล้ว มันจะขยายใหญ่ขึ้นพร้อมใช้งานได้เลย และที่แน่ๆคือ มันบีบให้แตกไม่ได้แล้วด้วย เพราะมันไม่ได้แยกเป็นปุ่มๆแบบเมื่อก่อนแล้วนั้นเอง ทั้งนี้ เวลาไม่ได้ใช้งาน มันก็จะมีขนาดเล็กเป็นแผ่นบางๆ ส่งผลให้ ไม่ต้องเช่าพื้นที่โกดังเพิ่มเพื่อเก็บรักษามันให้เปลือง ตอนขนย้าย ก็ไม่ต้องยัดแบบทุลักทุเลเหมือนตัวก่อน ที่มีก้อนม้วนๆขนาดใหญ่เท่าท่อนซุ้ง อย่างในภาพ
1312ทางผู้บริหารของ Sealed Air กล่าวว่า หากทางบริษัทยังคงใช้ตัว Bubble Wrap แบบเดิม จะส่งผลให้ ประสบภาวะขาดทุนในภายหลังได้ เพราะมันจะมีค่าขนส่งและค่าเก็บรักษาที่สูงขึ้นนี้เอง ทางบริษัทจึงต้องปรับแก้ให้มันมีขนาดเล็กลง เพื่อช่วยลดต้นทุนในส่วนนี้ได้ ซึ่งลูกค้ารายใหญ่อย่าง Amazon เอง ก็กำลังทดลองหาวิธีที่จะทำให้สินค้าของเขาไม่เสียหาย โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนมาก แน่นอนว่าไม่เพียงแค่ Amazon บริษัทอื่นๆก็กำลังทำเช่นเดียวกันแน่นอน ดังนั้น เพื่อความอยู่รอด จึงต้องบอกลา Bubble Wrap ในเร็วๆนี้ และยินดีต้อนรับ iBubble Wrap ที่บีบไม่ได้เหมือนก่อนแล้วครับ131

ที่มา : WSJ , Engadget

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here