ไมโครฟูลมูน ดูดวงจันทร์ขนาดจิ๋ว เต็มดวงคืนวันสงกรานต์
สงกรานต์นี้เจอกันดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปีหรือ “ไมโครฟูลมูน”
คืนวันที่ 13 เมษายน 2568 สงกรานต์ไทยเตรียมตัวเฝ้ามองดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติ
“ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี” หรือ “ไมโครฟูลมูน” (Micro Full Moon) สามารถเริ่มสังเกตดวงจันทร์ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:48 น. บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก
ช่วงเวลาดังกล่าวดวงจันทร์จะโคจรห่างจากโลกออกไปประมาณ 406,000 กิโลเมตร ส่งผลให้ดวงจันทร์เต็มดวงในคืนนั้นมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อยรับชมได้จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 เมษายน 2568
ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบใช้เวลาประมาณ 27.3 วันในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้และไกลโลก
ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่าเปริจี (Perigee) และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดเรียกว่าอะโปจี (Apogee)
ส่วนปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดหรือซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน...
สำรวจแบบใหม่ NASA เปิดแผนที่ดาวเทียม จำลองมหาสมุทรและสิ่งมีชีวิต
จากอวกาศสู่ใต้ทะเล NASA เปิดแผนที่พื้นทะเลจากดาวเทียม SWOT เพื่อเรียนรู้ความร้อนและสิ่งมีชีวิตเคลื่อนตัวอย่างไรในมหาสมุทรของโลก
ดาวเทียมจะเป็นตัวช่วยใหม่ของนักวิจัย เพราะสามารถจำลองแผนที่พื้นมหาสมุทรที่ละเอียดที่สุดเท่าที่มีมาแผนที่หนึ่ง โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม SWOT ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง NASA และ CNES ของฝรั่งเศส
เรือที่ติดตั้งอุปกรณ์โซนาร์สามารถวัดพื้นมหาสมุทรได้อย่างละเอียด ในปัจจุบันมีการสำรวจใต้ทะเลด้วยวิธีดังกล่าวคิดเป็น 25% เท่านั้น
จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่าจะสำรวจได้ทั่วโลก นักวิจัยจึงหาทางใหม่โดยอาศัยข้อมูลจากดาวเทียมแทน
แผนที่พื้นทะเลที่แม่นยำยิ่งขึ้นมีความสำคัญต่อกิจกรรมทางทะเลต่างๆ รวมถึงการนำทาง การวางสายสื่อสารใต้น้ำ ปรับปรุงเส้นทางเดินเรือ การตรวจจับอันตรายต่าง ๆ
นอกจากนั้นยังได้ศึกษาเกี่ยวกับกระแสน้ำในทะเลลึก รวมถึงกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก เพื่อคาดกาณ์แผ่นดินไหวในอนาคตได้อีก
https://youtu.be/v5GJ4trliE4?si=3CikapDPsAsn3uv5
ที่มา : nasa
#ดาวเทียมSWOT #NASA #TechhubUpdate
ภารกิจใหม่ SpaceX เดินหน้า Fram2 ส่งมนุษย์ขึ้นยานสำรวจขั้วโลก
การพามนุษย์ไปสำรวจอวกาศ ยังคงเป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ ของมนุษย์โลก แต่ก่อนเดินทางนั้น ก็ต้องแน่ใจว่ามนุษย์สามารถเดินทางได้ปลอดภัย
วันไร้เงา ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก เห็นครบทั้ง 77 จังหวัด
ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเริ่มที่ อ. เบตง จ. ยะลา 4 เมษายนนี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดไทม์ไลน์ วัน-เวลา ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 77 จังหวัดของประเทศไทยประจำปี 2568
ครั้งแรกวันที่ 4 เมษายน 2568 เริ่มจากใต้สุด ณ อ. เบตง จ.ยะลา (12:19 น.) และสิ้นสุดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ณ อ. แม่สาย จ. เชียงราย (12:17 น.)
ในช่วงที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก...
เข้าสู่ฤดูร้อน 20 มีนา วันวสันตวิษุวัต กลางวันยาวเท่ากลางคืน
เท่ากันพอดี 20 มีนาคม 2568 เป็นวัน “วสันตวิษุวัต” ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน
ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี พื้นที่ในประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ส่วนพื้นที่ในประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
“วสันตวิษุวัต” คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ส่งผลให้เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน
สำหรับประเทศไทยนั้น วันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้น เวลาประมาณ 06:22 น.และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:28 น.
ทั้งนี้ การนิยามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตกของปรากฏการณ์ดังกล่าว จะนับเมื่อเราเห็น “ขอบบน” ของดวงอาทิตย์สัมผัสกับเส้นขอบฟ้า
เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และเมื่อดวงอาทิตย์ตก จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก อาจทำให้ดูเหมือนเวลาการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ในวันดังกล่าวไม่เท่ากัน
แต่ไม่ได้หมายความว่าวันดังกล่าวมีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานไม่เท่ากัน ซึ่งหากนับจากช่วงเวลาที่จุดกึ่งกลางดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านขอบฟ้า วันดังกล่าวนับว่าเป็นวันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนาน 12 ชั่วโมงเท่ากันพอดี
เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน จะสังเกตได้ว่าเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้านั้นเอง
#วสันตวิษุวัต #TechhubUpdate
ไปไม่ถึงฝัน ล้มภารกิจยาน Athena หลังพลิกตะแคงบนดวงจันทร์
ยานอะธีนา (Athena) ยุติภารกิจหลังลงจอดไม่สำเร็จเป็นครั้งที่สอง ยานจากบริษัทเอกชน Intuitive Machines พลิกตะแคงบนดวงจันทร์ หลังพยายามลงจอดบนพื้นที่ขรุขระใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์เมื่อวันพฤหัสบดี 6 มีนาคม ที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่ของ NASA ระบุว่ายานลงจอดไม่ตรงตามเป้า ซึ่งห่างจากจุดที่กำหนดไว้ประมาณ 1,300 ฟุต (400 เมตร) ภาพถ่ายจากยาน Athena จะมองเห็นโลก ที่มีแสงสีฟ้าส่องผ่านขอบฟ้าของดวงจันทร์แต่เอียงไปทางขวา เนื่องจากขาของยานลงจอด Athena สองข้างชี้ขึ้นฟ้า
พลิกตะแคงบนดวงจันทร์ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ Intuitive Machines จึงประกาศยุติภารกิจดังกล่าว
ด้วยทิศทางของดวงอาทิตย์และตำแหน่งแผงโซลาร์เซลล์ บวกกับอุณหภูมิที่เย็นจัดทำให้ยาน Athena ไม่สามารถชาร์จไฟใหม่ได้ บริษัทจึงประกาศสิ้นสุดภารกิจ และทีมงานจะรวบรวมข้อมูลเพื่อทำภารกิจต่อไป
จึงทำให้เห็นว่าการสำรวจดวงจันทร์ในพื้นที่ห่างไกลยังคงเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายสำหรับมนุษย์ เพราะมีเพียงไม่กี่ประเทศที่สามารถนำยานลงจอดได้สำเร็จ
จุดลงจอดใกล้ขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ไม่ว่าจะประเทศผู้นำหรือบริษัทเอกชนต่าง...
ทำสำเร็จ บริษัทเอกชนรายแรก ลงจอดยานบนดวงจันทร์
เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ที่รัฐบาลและบริษัทภายใต้หน่วยงานรัฐ เผชิญกับความล่าช้าในการพัฒนายานอวกาศที่ลงจอดดวงจันทร์ได้อีกครั้ง จนล่าสุดพบบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ประสบความสำเร็จในการนำยานลงจอดบนดวงจันทร์ (แซงหน้า) ได้แล้ว
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา Firefly Aerospace บริษัทแห่งหนึ่งในรัฐเท็กซัส ประสบความสำเร็จในการนำ Blue Ghost Mission 1 ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้อย่างปลอดภัย และกลายเป็นหน่วยงานเอกชนแห่งแรก ที่สามารถนำจอดยานอวกาศลงจอดดวงจันทร์ได้สำเร็จ
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 มกราคม Blue Ghost Mission 1 ได้ถูกปล่อยโดยจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center)...
ปริศนาอวกาศ ภาพเนบิวลาผีเสื้อ ถ่ายด้วยกล้องฮับเบิล
ภาพถ่าย “เนบิวลาผีเสื้อ” จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
เกิดจากการก่อตัวจากเปลือกก๊าซที่ขยายตัวรอบดาวฤกษ์ เนบิวลาส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นวงแหวน แต่บางส่วนมีรูปร่างคล้ายปีก เช่น เนบิวลาผีเสื้อ
นักดาราศาสตร์คิดว่ารูปร่างดังกล่าวจะเกิดจากแรงดึงดูดจากดาวดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ของเนบิวลา ซึ่งทำให้สสารขยายตัวเป็นปีก แม้ว่าปีกจะเติบโตขึ้นตามกาลเวลา แต่รูปร่างเดิมมักจะไม่เปลี่ยนแปลง
นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Aarhus ในเดนมาร์ก ได้เปรียบเทียบการเปิดรับแสงของเนบิวลาผีเสื้อสองครั้งที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในปี 2009 และ 2020
สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในวัสดุภายในปีก ลมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนของวัสดุภายในสสารในส่วนนอกของเนบิวลาเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 800 กิโลเมตรต่อวินาที (500 ไมล์ต่อวินาที)
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ในอนาคตนักวิจัยเตรียมศึกษาเนบิวลาผีเสื้อให้ละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อให้รู้ข้อมูลเชิงลึกต่อไป
ที่มา : universetoday
#เนบิวลาผีเสื้อ #TechhubUpdate
ตั้งฐานบนอวกาศ สหรัฐฯ ลุยโปรเจค NOM4D พัฒนาวัสดุก่อสร้างนอกโลก
จากห้องปฏิบัติการ สู่สถานที่จริง DARPA ประกาศยกระดับ NOM4D โครงการพัฒนาวัสดุ การออกแบบ การก่อสร้าง และการขนส่งส่วนประกอบต่าง ๆ
NASA ประหยัดงบ สร้างเสาอากาศต้นทุนต่ำ ทำจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
NASA ได้พัฒนาและทดสอบเสาอากาศที่สร้างขึ้นจากพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสื่อสารข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ไปยังโลกด้วย
เสาอากาศทดสอบการบินโดยใช้บอลลูนตรวจอากาศในชั้นบรรยากาศ ที่สร้างด้วย 3 มิติ เป็นโซลูชันใหม่ที่ประหยัดต้นทุน สำหรับภารกิจทางวิทยาศาสตร์และการสำรวจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
วิศวกรเครือข่ายอวกาศของ NASA และกลุ่มการพิมพ์ 3 มิติด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้ออกแบบและพิมพ์เสาอากาศ ทดสอบกับดาวเทียมรีเลย์บินขึ้นไปบนบอลลูนตรวจอากาศโดยใช้เวลาทั้งหมดสามเดือน
กระบวนการพิมพ์ จะสร้างจากแบบจำลองดิจิทัลโดยการเพิ่มวัสดุหลายชั้นทับซ้อนกัน โดยปกติจะเป็นของเหลว ผง หรือเส้นใย เสาอากาศที่พิมพ์ 3 มิติส่วนใหญ่ใช้โพลีเมอร์ที่เติมเซรามิกและมีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ
เมื่อออกแบบสำเร็จ NASA ได้ส่งบอลลูนและเสาอากาศที่พิมพ์ 3 มิติ ขึ้นสู่ระดับความสูง 100,000 ฟุต เพื่อทดสอบความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมไม่คงที่
บอลลูนตรวจอากาศบรรทุกเครื่องมือที่วัดความดันบรรยากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม...