ครั้งแรกของปี ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก สังเกตพร้อมกัน 27 เม.ย. นี้
ครั้งแรกของปีปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตั้งฉากที่กรุงเทพฯ วันที่ 27 เม.ย. นี้เฝ้าสังเกตพร้อมกัน
ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกของปีเวลาประมาณ 12:16 น. หากสังเกตวัตถุที่อยู่กลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี
ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคมดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ประเทศไทย
โดยเริ่มจากพื้นที่ภาคใต้ อ. เบตง จ. ยะลา เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่ผ่านมาและจะไล่ลำดับขึ้นไปทางเหนือเรื่อยๆ ก่อนจะสิ้นสุดที่ อ. แม่สาย จ. เชียงราย ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568
ผู้สนใจสามารถร่วมสังเกตการณ์โดยโปรดระมัดระวังการอยู่กลางแจ้งในสภาพอากาศร้อนจัด
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น 2 ครั้งต่อปี ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม และในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนเนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ที่ละติจูด 5-20...
ท้าแข่ง ประกวดถ่ายภาพดาราศาสตร์ ได้ทั้งผลงานภาพนิ่งและวิดีโอ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติชวนส่งผลงานร่วมประกวดภาพถ่ายและวิดีโอหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์”
กิจกรรมนี้จัดขึ้นทุกปีเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปทั้งเยาวชนและประชาชน ไม่จำกัดเพศอายุและการศึกษาร่วมแสดงฝีมือด้านการถ่ายภาพดาราศาสตร์
ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจะได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายดาราศาสตร์ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2568 พร้อมตีพิมพ์ลงปฏิทินดาราศาสตร์ประจำปี 2569
รวมถึงจะใช้ในสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ต่างๆ ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย
“มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” แบ่งออกเป็น 6 ประเภทประกอบด้วย
1. Deep Sky Objects
2. ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
3. วัตถุในระบบสุริยะ
4. วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์
5. ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก
6. วิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหววิดีโอแบบไทม์แลปส์
ผู้สนใจสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ - 4 กรกฎาคม 2568
อ่านเพิ่มเติม >> https://bit.ly/AstrophotoContest-2025
#TechhubUpdate
รอมานาน NASA จับภาพแสงออโรร่า ครั้งแรกบนดาวเนปจูน
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ของ NASA จับภาพแสงออโรร่าบนดาวเนปจูนได้เป็นครั้งแรกนับว่าเป็นแสงออโรร่าที่รอคอยมานานที่สุด
แสงออโรร่าเกิดจากอนุภาคพลังงานสูงซึ่งมักมีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ติดอยู่ในสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์และพุ่งชนชั้นบรรยากาศด้านบนพลังงานที่ปล่อยออกมาจึงทำให้เกิดแสงออโรร่า
ในปี 1989 นักดาราศาสตร์ยืนยันว่ามีแสงออโรร่าบนดาวเนปจูนจริงจากการบินผ่านของยานโวเอเจอร์ 2
แต่ก็ยังไม่สามารถเก็บภาพไว้เป็นหลักฐานได้และเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับนักดาราศาสตร์
เพราะปัจจุบันมีภาพแสงออโรร่าจากดาวเคราะห์มากมายทั้งดาวพฤหัสดาวเสาร์และดาวยูเรนัสแต่ดาวเนปจูนคือชิ้นส่วนที่ขาดหายไปในการบันทึกระบบสุริยะ
ล่าสุดกล้องเจมส์เวบบ์ได้เผยภาพถ่ายดาวเนปจูนปรากฏแสงเหนือเป็นรอยด่างที่แสดงเป็นสีฟ้าอมเขียวแผ่รังสีออกมาแสดงให้เห็นว่าชั้นบรรยากาศมีไอออนไตรไฮโดรเจน (H3+)
การตรวจจับแสงเหนือของดาวเนปจูนจะช่วยให้ NASA เข้าใจเรื่องสนามแม่เหล็กเพื่อค้นหาคำตอบบริเวณที่อยู่ห่างไกลในระบบสุริยะได้มากขึ้น
ที่มา : science.nasa
#TechhubUpdate
ตามหาเด็กเก่ง เขียน JAVA คุมหุ่นยนต์ ขึ้นสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
โครงการดีต้องบอกต่อ สวทช. ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) จัดโครงการแข่งขัน The 6th Kibo Robot Programming Challenge
เพื่อค้นหาทีมชนะเลิศเป็นตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติ ในเดือนพฤศจิกายน 2568 ณ ศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น
โดยผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JAVA ควบคุมหุ่นยนต์แอสโตรบี (Astrobee) บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)
กับภารกิจตามล่าสมบัติโจรสลัดอวกาศบนสถานีอวกาศ เพื่อค้นหาสมบัติที่แท้จริงแล้วนำกลับมาให้ได้
เปิดรับนักเรียนทุกระดับชั้น ถึงระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทีมละ 3-4 คน สมัครทางออนไลน์ ภายในวันที่ 12 พฤษภาคม 2568
การแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติ เป็นการ Run Program...
4 ปีถึงพลูโต จรวดลำใหม่ของอังกฤษ ใช้แนวคิดพลังงานฟิวชัน
อุปสรรคสำคัญในการเดินทางบนอวกาศ นอกจากผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์แล้ว ก็ยังมีเรื่องของ 'เวลา' เช่นดาวพลูโต ที่อาจต้องเวลาเดินทางนานถึง 10 ปี
ไมโครฟูลมูน ดูดวงจันทร์ขนาดจิ๋ว เต็มดวงคืนวันสงกรานต์
สงกรานต์นี้เจอกันดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปีหรือ “ไมโครฟูลมูน”
คืนวันที่ 13 เมษายน 2568 สงกรานต์ไทยเตรียมตัวเฝ้ามองดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติ
“ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี” หรือ “ไมโครฟูลมูน” (Micro Full Moon) สามารถเริ่มสังเกตดวงจันทร์ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:48 น. บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก
ช่วงเวลาดังกล่าวดวงจันทร์จะโคจรห่างจากโลกออกไปประมาณ 406,000 กิโลเมตร ส่งผลให้ดวงจันทร์เต็มดวงในคืนนั้นมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อยรับชมได้จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 เมษายน 2568
ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบใช้เวลาประมาณ 27.3 วันในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้และไกลโลก
ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่าเปริจี (Perigee) และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดเรียกว่าอะโปจี (Apogee)
ส่วนปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดหรือซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน...
สำรวจแบบใหม่ NASA เปิดแผนที่ดาวเทียม จำลองมหาสมุทรและสิ่งมีชีวิต
จากอวกาศสู่ใต้ทะเล NASA เปิดแผนที่พื้นทะเลจากดาวเทียม SWOT เพื่อเรียนรู้ความร้อนและสิ่งมีชีวิตเคลื่อนตัวอย่างไรในมหาสมุทรของโลก
ดาวเทียมจะเป็นตัวช่วยใหม่ของนักวิจัย เพราะสามารถจำลองแผนที่พื้นมหาสมุทรที่ละเอียดที่สุดเท่าที่มีมาแผนที่หนึ่ง โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม SWOT ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง NASA และ CNES ของฝรั่งเศส
เรือที่ติดตั้งอุปกรณ์โซนาร์สามารถวัดพื้นมหาสมุทรได้อย่างละเอียด ในปัจจุบันมีการสำรวจใต้ทะเลด้วยวิธีดังกล่าวคิดเป็น 25% เท่านั้น
จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่าจะสำรวจได้ทั่วโลก นักวิจัยจึงหาทางใหม่โดยอาศัยข้อมูลจากดาวเทียมแทน
แผนที่พื้นทะเลที่แม่นยำยิ่งขึ้นมีความสำคัญต่อกิจกรรมทางทะเลต่างๆ รวมถึงการนำทาง การวางสายสื่อสารใต้น้ำ ปรับปรุงเส้นทางเดินเรือ การตรวจจับอันตรายต่าง ๆ
นอกจากนั้นยังได้ศึกษาเกี่ยวกับกระแสน้ำในทะเลลึก รวมถึงกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก เพื่อคาดกาณ์แผ่นดินไหวในอนาคตได้อีก
https://youtu.be/v5GJ4trliE4?si=3CikapDPsAsn3uv5
ที่มา : nasa
#ดาวเทียมSWOT #NASA #TechhubUpdate
ภารกิจใหม่ SpaceX เดินหน้า Fram2 ส่งมนุษย์ขึ้นยานสำรวจขั้วโลก
การพามนุษย์ไปสำรวจอวกาศ ยังคงเป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ ของมนุษย์โลก แต่ก่อนเดินทางนั้น ก็ต้องแน่ใจว่ามนุษย์สามารถเดินทางได้ปลอดภัย
วันไร้เงา ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก เห็นครบทั้ง 77 จังหวัด
ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเริ่มที่ อ. เบตง จ. ยะลา 4 เมษายนนี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดไทม์ไลน์ วัน-เวลา ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 77 จังหวัดของประเทศไทยประจำปี 2568
ครั้งแรกวันที่ 4 เมษายน 2568 เริ่มจากใต้สุด ณ อ. เบตง จ.ยะลา (12:19 น.) และสิ้นสุดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ณ อ. แม่สาย จ. เชียงราย (12:17 น.)
ในช่วงที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก...
เข้าสู่ฤดูร้อน 20 มีนา วันวสันตวิษุวัต กลางวันยาวเท่ากลางคืน
เท่ากันพอดี 20 มีนาคม 2568 เป็นวัน “วสันตวิษุวัต” ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน
ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี พื้นที่ในประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ส่วนพื้นที่ในประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
“วสันตวิษุวัต” คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ส่งผลให้เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน
สำหรับประเทศไทยนั้น วันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้น เวลาประมาณ 06:22 น.และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:28 น.
ทั้งนี้ การนิยามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตกของปรากฏการณ์ดังกล่าว จะนับเมื่อเราเห็น “ขอบบน” ของดวงอาทิตย์สัมผัสกับเส้นขอบฟ้า
เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และเมื่อดวงอาทิตย์ตก จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก อาจทำให้ดูเหมือนเวลาการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ในวันดังกล่าวไม่เท่ากัน
แต่ไม่ได้หมายความว่าวันดังกล่าวมีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานไม่เท่ากัน ซึ่งหากนับจากช่วงเวลาที่จุดกึ่งกลางดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านขอบฟ้า วันดังกล่าวนับว่าเป็นวันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนาน 12 ชั่วโมงเท่ากันพอดี
เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน จะสังเกตได้ว่าเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้านั้นเอง
#วสันตวิษุวัต #TechhubUpdate