Computex 2016 : Intel เผยนวัตกรรมชิป Core i7 Extreme Edition แบบ 10 คอร์ พร้อมเปรยเทคโนโลยี 5G

ในงาน Computex 2016 ณ กรุงไป ไต้หวัน Intel นำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การพลิกโฉมอุตสาหกรรมทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อดีไวซ์อัจฉริยะกว่าพันล้านชิ้น บริการใหม่ๆ ที่เต็มไปด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล รวมไปถึงคลาวด์แอพพลิเคชั่น ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) จะส่งมอบประสบการณ์แปลกใหม่และน่าตื่นตาตื่นใจให้กับชีวิต รวมทั้งปูทางสู่ยุคใหม่แห่งเทคโนโลยีของการประมวลผล 

Intel กล่าวว่า การเริ่มต้นสู่ยุคใหม่นี้ กำหนดได้จากวงจรที่เกื้อหนุนการเติบโต (virtuous cycle of growth) ที่ผู้คนและธุรกิจสามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากโซลูชั่นที่ทำงานบนอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อ รวมไปถึงเครือข่ายและคลาวด์

โดยภายในงาน Computex 2016 อินเทลได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์ Intel Core i7 processor Extreme Edition ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาของอินเทล โปรเซสเซอร์ตระกูลใหม่นี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการในการทำงานแบบมหึมาของเหล่าเกมเมอร์และนักสร้างสรรค์คอนเทนท์ ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลแบบ 10 คอร์ ที่มีเธรดได้มากถึง 20 เธรด

intel-core-i7-extream-edition-10-cores-2

ซึ่งรองรับการทำงานที่หนักหน่วงได้ในเวลาเดียวกัน และยังรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมเช่น การ์ดจอ และหน่วยความจำแบบ SSDs ได้มากถึง 40 PCIe lanes พร้อมด้วยเทคโนโลยี Intel Turbo Boost Max Technology 3.0 สามารถรองรับหน่วยความจำเพิ่มเติมได้แบบ Quad-Channel นอกจากนี้ยังสามารถทำการโอเวอร์คล็อก (overclock) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้

ขณะที่นวัตกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นั่นคือ โปรเซสเซอร์อินเทล เจนเนอเรชั่น 7 ในชื่อโค้ดเนม คาบี้ เลค (Kaby Lake) โดยกล่าวถึงการพัฒนาในแง่ของประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน และสมรรถนะในการทำงานด้านกราฟฟิกและสื่อ ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์ระดับพรีเมียม และพร้อมเปิดตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2559

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการที่ธุรกิจพีซีซึ่งเป็นรากฐานของอินเทล และกลยุทธ์ของบริษัทในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ทุกๆ ปี ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นว่าอินเทลสามารถสร้าง IP ที่สำคัญเพื่อสร้างนวัตกรรมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้อย่างไร นอกจากการพัฒนาโปรเซสเซอร์ที่ขับเคลื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลประเภทต่างๆแล้ว แล้ว อินเทลยังได้นำ อินเทล คอร์ ไปใส่ในผลิตภัณฑ์ด้านอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์  ในรูปแบบโซลูชั่นสำหรับตลาดค้าปลีก ป้ายโฆษณา ไอโอทีสำหรับอุตสาหกรรม และทางการแพทย์

ในด้านอุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ในรถยนต์ ที่ทำงาน หรือที่ใดก็ตาม ได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจพีซีและอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) ด้วยความสามารถในการเชื่อมต่อกับคลาวด์ ซึ่ง อินเทลได้เปิดตัว Intel AnyWAN GRX 750 system-on-a-chip (SoC) และ Intel XWAY WAV500 Wi-Fi chipset โปรเซสเซอร์ในตระกูล 11ac MU-MIMO Wi-Fi สำหรับโฮมเกตเวย์ (home gateways) เจนเนอเรชันที่ 5 โปรเซสเซอร์เจนเนอเรชั่นใหม่นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้โฮมเกตเวย์สามารถส่งมอบประสบการณ์ที่เต็มเปี่ยมมากยิ่งขึ้น

ด้วยสมรรถนะของอินเทลแพลตฟอร์มทำให้การส่งผ่านข้อมูลโดยตรงหรือผ่านคลาวด์ การสร้างสรรค์สื่อและการแบ่งปันคอนเทนท์สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ อุปกรณ์ความคมชัดสูงระดับไฮเอนด์ ไปจนถึงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้าน ผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อของอินเทลได้สร้างรากฐานรองรับการเพิ่มจำนวนของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ รวมทั้งบริการอินเทอร์เน็ตผ่านคลาวด์ ซึ่งจะส่งมอบประสบการณ์ที่ปลอดภัยและมีความสะดวก สำหรับผู้ใช้งานในบ้านหรือธุรกิจขนาดเล็ก

นอกจากนี้อินเทลยังสนับสนุนผู้ผลิตทั้ง OEMs และ ODMs ในการผลิตโฮมเกตเวย์ และจุดเชื่อมต่อสัญญาญไวไฟ (Wi-Fi Access Points) ให้เพียงพอสำหรับผู้บริโภคในตลาดค้าปลีก

สำหรับกลุ่มธุรกิจขนส่ง อินเทลได้ประกาศความร่วมมือกับบริษัทสัญชาติไต้หวัน Chunghwa Telecom และ SanJet Technology Corp. ในการริเริ่มการเชื่อมต่อบริการโทรสนเทศ (Telematics Service) ด้วยโปรเซสเซอร์ Intel Atom x3 processor สำหรับ IoT (หรือชื่อเดิมคือ SoFIA) ที่มีราคาย่อมเยาว์ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยให้สามารถออกแบบประกันภัยเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ขับรถ โดยขึ้นกับพฤติกรรมการขับขี่และการใช้รถยนต์ที่แตกต่างกัน อินเทลยังขยายขอบเขตการใช้งาน Intel Atom x3 processor ไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบพอยท์ ออฟ เซล (point-of-sale systems) แท็บเล็ตในโรงพยาบาล (healthcare tablets) และอุปกรณ์เฉพาะอุตสาหกรรม

อีกความน่าสนใจเป็นเรื่องของเทคโนโลยี 5G โดยอินเทลกล่าวว่า ในขณะที่ 4G เป็นเรื่องของการส่งผ่านข้อมูลให้เร็วขึ้น แต่เทคโนโลยี 5G คือการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ รอบตัวเข้าด้วยกัน เชื่อมโยงผู้คน และเชื่อมต่อกับคลาวด์ ผ่านระบบไร้สายที่ทรงพลัง เทคโนโลยี 5G จะพลิกโฉมรูปแบบการดำเนินชีวิตในการสร้างสังคมที่มีความอัจฉริยะและเชื่อมต่อกันมากขึ้น (Smart and Connected Society) ด้วยเมืองอัจฉริยะ (Smart City) รถยนต์ไร้คนขับ (Self-driving car) และขีดความสามารถการทำงานในอุตสาหกรรม

intel-computex-2016-5g
ภาพจากทวิตเตอร์ @IntelThailand

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีเครือข่ายที่ทำงานได้เร็วขึ้น ฉลาดขึ้น และมีความคล่องตัวมากพอ ที่จะสามารถรองรับปริมาณและความซับซ้อนของการส่งผ่านข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน จากการที่อุปกรณ์ต่างๆ ได้เชื่อมต่อกันมากขึ้น รวมทั้งบริการดิจิทัลใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น

ขณะเดียวกันอินเทลได้ผลักดันการเปลี่ยนผ่านระบบเครือข่ายเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างขั้นพื้นฐานด้านการสื่อสารให้มีความทันสมัย และพร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G และในงาน Computex 2015 อินเทลยังได้ประกาศความร่วมมือกับ ฟ๊อกซ์คอนน์ (FoxConn) ในการพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเครือข่าย เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านนี้ให้เร็วขึ้น

ทั้งสองบริษัทจะร่วมมือเพื่อกำหนดรูปแบบและเริ่มทดลองโครงการนำร่องสำหรับเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Mobile Edge Computing, Cloud Radio Access Network (CloudRAN) และ Network Functions Virtualization (NFV) ซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายที่มีความฉลาดมากขึ้น มีประะสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และมีความยืดหยุ่น

ด้วยความพยายามเหล่านี้ อินเทลและฟ๊อกซ์คอนน์มุ่งหวังที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถปรับโครงสร้างของเครือข่ายในปัจจุบันได้ง่ายขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค 5G

นอกจากนี้ อินเทล ยังได้กล่าวถึง การพัฒนาของอินเทลจากการเป็นบริษัทในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาให้ความสำคัญกับคลาวด์และอุปกรณ์เชื่อมต่อนับพันล้านชิ้น ซึ่ง ไดแอน ไบรอันท์ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ และ นาวิน เชนอย รองประธานบริษัทและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มอุปกรณ์ประมวลผล ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ และความร่วมมือต่างๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนวงจรที่เกื้อหนุนการเติบโตนี้ต่อไป

พร้อมกันนี้ อินเทลได้แสดงเทคโนโลยี วิชวล คลาวด์ (Visual Cloud) และ แมชชีน เลิร์นนิ่ง (Machine Learning) ปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลที่ส่งผ่านอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ล้วนอยู่ในรูปแบบของวิดีโอ เพราะฉะนั้นการส่งผ่านคอนเทนท์ภาพและเสียงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในลำดับต้นๆ ของผู้ให้บริการ

เพื่อทำให้การส่งผ่านข้อมูลในรูปแบบวีดีโอได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่าต่อการลงทุน รวมทั้งการส่งแอพพลิเคชั่นด้านกราฟิกหนักๆ ทางไกลได้อย่างปลอดภัย อินเทลนำเสนอผลิตภัณฑ์ในตระกูล Intel Xeon processor E3-1500 v5 ซึ่งเป็นการนำเอาประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ในตระกูลอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ มาผสานกับสมรรถนะด้านกราฟฟิกของ Intel Iris Pro graphics P580 หน่วยประมวลผลกราฟฟิกที่ดีที่สุดของอินเทล ผลิตภัณฑ์ใหม่ในตระกูลนี้จะช่วยให้ผู้บริการสามารถส่งผ่านข้อมูลในรูปแบบวิดีโอได้มากขึ้นในขณะที่ใช้เซิร์ฟเวอร์จำนวนเท่ากัน เป็นการช่วยลดขนาดของดาต้า เซ็นเตอร์ และลดการใช้พลังงาน

และด้วยทุกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากการประมวลผลข้อมูลขนาดมหึมา วิวัฒนาการของแมชชีน เลิร์นนิ่ง กำลังขยายตัวครอบคลุมในทุกรูปแบบของการประมวลผล นับตั้งแต่ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ไปจนถึงสื่อประเภทต่างๆ และนวัตกรรมด้านสุขภาพ เทคโนโลยีได้ปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ด้วยพลังแห่งคอมพิวเตอร์และการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล

ในโอกาสนี้ อินเทลได้นำเสนอรายการผลิตภัณฑ์ทางด้านแมชชีน เลิร์นนิ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ ในตระกูล Intel Xenon Phi ที่มีความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค นอกจากนี้ อินเทลยังได้ริเริ่มทดลองระบบนำร่องของ Intel Xeon E5-2600v4 ซึ่งมาพร้อมวงจร FPGA สำหรับแอพพลิเคชั่นแมชชีน เลิร์นนิ่ง อีกด้วย

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here