Emotion AI ศาสตร์แห่งการตัดสินคนของคอมพิวเตอร์ โดยดูจากใบหน้า

Emotion AI
Whit Andrews นักวิเคราะห์จาก Gartners เปิดเผยถึงข้อมูลบริษัทต่าง ๆ ในปัจจุบันที่มีการนำระบบ AI มาใช้งานมากขึ้น โดยนำมันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาของทุก ๆ โครงการเช่น การใช้ AI เพื่อจดจำและวิเคราะห์การแสดงออกทางใบหน้าเพื่อตรวจจับอารมณ์หรือความรู้สึกภายใน ทั้งแรงจูงใจและทัศนคติ
.
AI ข้างต้นรู้จักกันภายใต้ชื่อ Emotion AI หรือการประมวลผลทางอารมณ์ โดยอิงตามทฤษฎีของอารมณ์พื้นฐาน 6 ประการ ได้แก่ ความสุข ความประหลาดใจ ความกลัว ความขยะแขยง ความโกรธ และความเศร้า  ซึ่งจะแสดงสิ่งต่าง ๆ ออกมาทางใบหน้า ถือเป็นส่วนสำคัญของการสื่อสารทางอวัจนภาษา
.
บทความล่าสุดจาก  AIMultiple ระบุว่าอิโมชั่นเอไอเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์และระบบสามารถระบุ ประมวลผล จำลองความรู้สึกและอารมณ์ของมนุษย์ออกมาได้ เป็นสาขาสหวิทยาการที่ผสมผสานวิทยาการคอมพิวเตอร์ จิตวิทยา และวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยประมวลผลการแสดงทางอารมณ์ เพื่อช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมักจะปรับปรุงความน่าเชื่อถือ ความสม่ำเสมอ และประสิทธิภาพในการให้บริการต่อลูกค้า
.
Emotion AI จะถูกใช้แบบไหน
.
ต้องยอมรับว่า ในการใช้งานในปัจจุบันอิโมชั่นเอไออาจถูกนำไปใช้ในการสัมภาษณ์งาน เพื่อให้คะแนนในคุณลักษณะที่โดดเด่นในการทำงานเช่น “ความกระตือรือร้น” “ความเต็มใจที่จะเรียนรู้” “ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบ” และ “ความมั่นคงส่วนบุคคล”(น่าจะหมายถึง สามารถทำงานไปได้นานๆ) ซอฟต์แวร์นี้ยังถูกใช้โดยเจ้าหน้าที่รักษาชายแดนเพื่อตรวจจับภัยคุกคามที่จุดตรวจค้นเข้าเมือง เพื่อช่วยในการตรวจจับและวินิจฉัยผู้ป่วยโรคทางอารมณ์ นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อตรวจสอบนักเรียนในห้องเรียนถึงความเบื่อหน่ายหรือไม่อยากเรียนแล้ว สุดท้ายคือเพื่อติดตามพฤติกรรมของมนุษย์ระหว่างการสนทนาทางวิดีโอ
.
อันนี้จริงอิโมชั่นเอไอถูกใช้อย่างกว้างขวางในประเทศจีน  ด้วยข้อกฏหมายที่ทำได้ง่าย ๆ ล่าสุดคือจีนใช้อิโมชั่นเอไอในการระบุคนที่มีแนวคิดปฏิปักษ์ต่อการปกครองแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังมีใช้เป็นเรื่องปกติในเกาหลีใต้ โดยใช้ อิโมชั่นเอไอในการสัมภาษณ์งาน ซึ่งจะใช้ Ai เพื่อฝึกสัมภาษณ์งานเพื่อสร้างบุคคลิกภาพที่ดีก่อนจะไปสัมภาษณ์จริง มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟในอิสราเอลได้พัฒนาเทคนิคการตรวจจับการโกหกผ่านการวิเคราะห์กล้ามเนื้อใบหน้าและอ้างว่ามีความแม่นยำถึง 73 เปอร์เซ็นต์ Apple ได้รับสิทธิบัตรที่ให้ผู้ช่วยเสมือนบน Smartphone สามารถปรับรูปแบบตามการแสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์ของผู้ใช้งาน
.
อย่างไรก็ตามอิโมชั่นเอไอนั้นยังค่อนข้างมีความคลุมเครือและความขัดแย้งไม่น้อย เพราะนักวิจัยบางส่วนก็ได้ออกมาบอกว่า การแสดงออกทางสีหน้าแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละบริบทและวัฒนธรรม และมีหลักฐานมากมายว่าการ รูปแบบการขยับใบหน้าในส่วนต่าง ๆ ยังมีมากเกินว่าจะเป็นการบอกแค่ว่า “มันคือสัญญาณของอารมณ์.
บางคนได้ออกมาโต้แย้งว่า มาตรฐานสากลที่สร้างขึ้นนั้นไม่ได้เหมาะรูปแบบทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องที่  นอกจากนี้ยังข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า วิทยาศาสตร์ที่ใช้สร้างการตรวจจับอารมณ์นั้นผิด เพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนับการตรวจสอบใบหน้าได้อย่างแม่นยำและเชื่อถือได้ว่า จึงสรุปไม่ได้มันสามารถสะท้อนถึงสภาวะทางอารมณ์โดยเฉพา.
.
นั่นแปลว่าอิโมชั่นเอไอที่ทั่วโลกกำลังนิยมใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ ยังมีข้อบกพร่องในตัวของมัน เพราะอัลกอริทึ่มยังไม่ได้รวมลักษณะทางวัฒนธรรมเข้าไป ซึ่ง AI ยังอ่านค่าพื้นที่ฐาน ที่คิดว่า “ทุกคนน่าจะเป็นแบบนี้ เป็นแบบนั้น”  ซึ่งได้แต่หวังว่าในอนาคต มันจะถูกพัฒนาให้ฉลาดกว่านี้…
.
ที่มาข้อมูล
อ่านบทความอื่น ๆ Techhub Inovation