ฟอร์ติเน็ตเผยผลสำรวจ “Internet of Things: Connected Home”

ฟอร์ติเน็ตเผยผลสำรวจ “Internet of Things: Connected Home” พบว่าข้อมูลหาย มัลแวร์ และการเข้าใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากที่สุด

ฟอร์ติเน็ตผู้นำด้านความปลอดภัยเครือข่ายทรงประสิทธิภาพเปิดเผยผลการสำรวจแนวคิด “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง: บ้านที่มีการเชื่อมโยง” (Internet of Things: Connected Home) ที่สอบถามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นเจ้าของบ้านใน 11 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในเรื่องการยอมรับ ความเป็นส่วนตัว การความปลอดภัยของข้อมูล และข้อที่กลุ่มลูกค้ายินดีทำถ้าจะให้ Internet of Things (IoT) เกิดขึ้นในบ้าน

มร.จอห์น แมนดิชั่น รองประธานฝ่ายการตลาดที่ฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า “อ้างอิงบริษัทวิจัยอุตสาหกรรม ไอดีซี พบว่าตลาด IoT น่าจะมีมูลค่าสูงถึง 71พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 และผู้ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในการขาย IoT คือผู้ที่สามารถหาจุดสมดุลย์ของการเชื่อมโยงอุปกรณ์ในบ้านกับการรักษาข้อมูลที่เหมาะสม รวมถึงฟังคชั่นการใช้งานของอุปกรณ์”

การสำรวจได้เสร็จสิ้นลงในเดือนมิถุนายน คศ. 2014 ซึ่งได้ถามเจ้าของบ้านที่มีความรู้การด้านเทคโนโลยี 1,801 คนทั่วโลก ซึ่งเป็นจำนวน 750 คนในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกอันได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย มาเลย์เซียและไทย คำถามจะเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งโดยเน้นที่ด้านการเชื่อมโยงอุปกรณ์ในบ้านผ่านอินเทอร์เน็ต (Connected Home) ผลจากการสำรวจที่สำคัญๆ มีดังนี้

fortinet-Connected-home-poster2

Connected Home นั้นเป็นเรื่องจริง – ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 61) เชื่อว่า Connected Home ที่หมายถึง บ้านที่ใช้อุปกรณ์ในครัวเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างลงตัว มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นความจริงในอีกห้าปี โดยที่ผู้ตอบในประเทศจีนมีความเห็นด้วยในเรื่องนี้มากที่สุดในโลก คือ 84%

• สำหรับในประเทศไทย มีผู้ตอบ 61% เลือกคำตอบที่ว่า ความเห็นด้วยว่า Connected home มีแนวโน้มอย่างมากที่จะกลายเป็นความจริงในอีกห้าปี เจ้าของบ้านเป็นห่วงเรื่องการละเมิดข้อมูลของตน – ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ตอบว่ามีกังวลต่อการเชื่อมต่อเครื่องอาจทำให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทั่วโลกร้อยละ 69 กล่าวว่าพวกเขามีทั้ง “กังวลมาก” หรือ “ค่อนข้างห่วง”

• ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยร้อยละ 69 กล่าวว่าพวกเขามีทั้ง “กังวลมาก” หรือ “ค่อนข้างห่วง” เช่นกัน

ให้ความสำคัญเรื่องความเป็นส่วนตัวและความไว้ใจ – ในคำถามที่ถามเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่อุปกรณ์รวบรวมไปได้นั้น ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกกล่าวว่า “ความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับฉันมาก และฉันไม่มีความไว้วางใจว่า จะมีการนำไปใช้ข้อมูลเหล่านี้อย่างไร” อินเดียนำการตอบสนองต่อคำถามนี้ระดับโลก โดยอยู่ที่ร้อยละ 63

• ร้อยละ 60 ของผู้ตอบในประเทศไทยเห็นด้วยกับคำตอบนี้

ความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด – ต่อเนื่องมาจากเรื่องความเป็นส่วนตัว มีคำถามสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามว่า พวกเขาจะรู้สึกอย่างไรถ้าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อบ้านแอบเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาและใช้งานร่วมกันกับผู้อื่น ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62) เลือกตอบว่า “ถือว่าเป็นละเมิดอย่างสมบูรณ์และโกรธมากถึงจุดที่ฉันจะกระทำอะไรบางอย่างได้” โดยมีการตอบสนองต่อคำถามนี้อย่างแข็งกร้าวมาจากแอฟริกาใต้ มาเลเซียและสหรัฐอเมริกา

• ร้อยละ 50 ของผู้ตอบในประเทศไทยเห็นด้วยกับคำตอบว่า “ถือว่าเป็นละเมิดอย่างสมบูรณ์และโกรธมากถึงจุดที่ฉันจะกระทำอะไรบางอย่างได้”

ผู้ใช้งานต้องการควบคุมว่าใครสามารถเข้าถึงข้อมูลที่รวบรวมไปได้ – ต่อคำถามที่ถามว่าใครควรเข้าถึงข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมโดยเครื่องใช้ในบ้านได้บ้าง มีร้อยละ 66 ระบุว่ามีเพียงตัวเองหรือผู้ที่พวกเขาอนุญาตให้เองควรจะมีข้อมูลเหล่านี้

• 68% ของผู้ตอบในประเทศไทยต้องการการควบคุมการเก็บรวบรวมข้อมูลได้เอง และอีกประมาณ 28% ของผู้ตอบในไทยรู้สึกว่าผู้ผลิตอุปกรณ์หรือผู้ให้บริการ (ที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) ควรจัดเรื่องการเข้าถึงข้อมูล

ผู้บริโภคหวังให้รัฐบาลของพวกเขาควบคุมข้อมูล – ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมาก (ร้อยละ 42) ทั่วโลกระบุว่า รัฐบาลของพวกเขาควรควบคุมการเก็บรวบรวมข้อมูล ในขณะที่ร้อยละ 11 กล่าวว่า ควรมีองค์กรอิสระที่ไม่ใช่รัฐบาลควบคุมบังคับกฎระเบียบด้านข้อมูลที่อุปกรณ์รวบรวมไป

• ร้อยละ 39 จากผู้ตอบในประเทศไทย เห็นด้วยว่ารัฐบาลควรเป็นควบคุมข้อมูลที่อุปกรณ์รวบรวมไป

ผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด – หากมีการพบช่องโหว่ในเครื่องที่Connected home แล้ว ผู้ตอบจำนวน 48% เห็นว่าผู้ผลิตอุปกรณ์จะเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการปรับปรุงและสร้างแพชจ์ (Patching) สำหรับอุปกรณ์ของพวกเขา แต่เกือบ 31 เปอร์เซ็นต์ตอบด้วยว่า “ในฐานะที่ฉันเป็นเจ้าของบ้าน ก็เป็นความรับผิดชอบของฉันเองด้วยที่ต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ของฉันมีการอัปเดทให้ทันสมัยอยู่เสมอ”

• ผู้ตอบในไทย 47% ตอบคล้ายกันว่า ผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัย

เลือกเร้าเตอร์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องรับผิดชอบด้านความปลอดภัยใกล้เคียงกัน – เมื่อเจ้าของบ้านที่ถูกถามเกี่ยวกับวิธีการรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อในบ้านนี้ เกิดความเห็นที่แบ่งเป็นสองกลุ่มในสัดส่วนที่เกือบเท่ากันว่า “เราเตอร์ที่บ้านควรสามารถปกป้องภัยต่างๆ ได้” และอีกกลุ่มเลือกข้อ “ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของฉันควรจะให้การป้องกัน”

• ประเทศไทยก็ไม่ได้แตกต่างจากส่วนที่เหลือของโลกที่มีการตอบที่แยกเป็นสองส่วน 50-50 ใกล้เคียงกันมาก

เจ้าของบ้านยินดีที่จ่ายเพิ่มสำหรับ Connected home –เมื่อถามว่า “คุณจะยินดีที่จะจ่ายสำหรับเราเตอร์ไร้สายใหม่ที่ดีที่สุดสำหรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อบ้านของท่านไหม” ร้อยละ 40 เลือกตอบข้อ “แน่นอน” และอีกร้อยละ 48 ตอบว่า “บางที” ในคำถามในข้อต่อไปนั้น มีมากกว่าร้อยละ 50 กล่าวว่า พวกเขาจะจ่ายมากขึ้นสำหรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่จะ “ช่วยให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในการทำงานทำงานได้ปลอดภัยขึ้น”
• เช่นเดียวกับส่วนที่เหลือของโลก เจ้าของบ้านชาวไทยส่วนใหญ่ยินดีจ่ายมากขึ้น โดยมีร้อยละ 11 เลือกข้อที่ว่าเขาไม่ยินดีจ่ายเพิ่ม

ราคาคือปัจจัยหลัก – ถึงแม้ว่า เจ้าของบ้านจะเต็มใจที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อช่วยให้บ้านของพวกเขาเป็น Connected home แต่เมื่อถามว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขา การเลือกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อบ้าน ฟอร์ติเน็ตได้คำตอบที่ตรงกันในทุกประเทศว่าเป็นด้านราคา ตามด้วยคุณสมบัติการทำงานและแบรนด์ของผู้ผลิต

แมนดิชั่นสรุปว่า “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งสามารถให้ประโยชน์มากมายกับผู้ใช้ แต่ยังมีประเด็นด้านการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ และในการข้ามอุปสรรคเหล่านี้จะต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยต่างๆ ที่มีความชาญฉลาด รวมถึงศักยภาพในการตรวจสอบตัวตนแบบระยะไกล การเชื่อมต่อเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (วีพีเอ็น) ระหว่างผู้ใช้และเชื่อมต่อบ้านของพวกเขา รวมถึงการป้องกันภัยมัลแวร์ บ็อตเน็ตและแอปพลิเคชั่นด้านการรักษาความปลอดภัย – ซึ่งควรนำมาใช้เป็นแบบบูรณาการโดยผ่านเครือข่ายคลาวด์”

วิธีการสำรวจ

ในการสำรวจแนวคิด “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง: บ้านที่มีการเชื่อมโยง” (Internet of Things: Connected Home) นี้จัดทำโดย GMI หน่วยงานหนึ่งของ Lightspeed Research ผู้นำด้านการสำรวจออนไลน์ระดับโลก โดยสอบถามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นเจ้าของบ้าน อายุระหว่าง 20-50 ปีและมีความรู้ด้านเทคโนโลยีระดับหนึ่ง ในประเทศออสเตรเลีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย อิตาลี มาเลย์เซีย แอฟริกาใต้ สหราชอณาจักรอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here