แคสเปอร์สกี้ แลป คว้าทุนวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากสิงคโปร์

รัฐบาลสิงคโปร์ให้ทุน 15.6 ล้านเหรียญสหรัฐ สนับสนุนแคสเปอร์สกี้ แลป จัดทำโครงการวิจัยนวัตกรรมในการระบุแหล่งที่มาของมัลแวร์ APT

แคสเปอร์สกี้ แลป เผยรัฐบาลสิงคโปร์ให้ทุนสนับสนุนแคสเปอร์สกี้ แลป จัดทำโครงการวิจัยด้วยวิธีการใหม่เน้นนวัตกรรมในการระบุแหล่งที่มาของมัลแวร์ APT เงินทุนสนับสนุนงานวิจัยนี้เป็นงบสนับสนุนจาก The Singapore National Research Foundation ในวงเงินถึง 15.6 ล้านเหรียญสหรัฐ อันเป็นส่วนหนึ่งของทุนวิจัยแผนกลยุทธ์ของเมืองในแผนการยกระดับงานวิจัยและพัฒนาศักยภาพด้านระบบความปลอดภัยไซเบอร์ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย National University of Singapore (NUS) ซึ่งโครงการวิจัยโดยแคสเปอร์สกี้ แลป นี้เป็นหนึ่งในเก้าโครงการด้านระบบความปลอดภัยไซเบอร์ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับงบสนับสนุน

หลังจากที่ได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2559 ทางโปรแกรมให้ทุนค้นคว้าวิจัยและพัฒนาความปลอดภัยไซเบอร์แห่งสิงคโปร์ได้ตอกย้ำหลักความสำคัญของการหาความเป็นไปได้การนำไอเดียและเทคโนโลยีด้านระบบความปลอดภัยไซเบอร์มาใช้งานได้จริง โดยได้กำหนดทิศทางมาดังนี้ ความปลอดภัยแห่งชาติ โครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อองค์รวม และประเทศอัจฉริยะ หรือ Smart Nation การประกาศเชิญชวนสมัครรับทุนวิจัยครั้งนี้ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อโครงการวิจัยเทคโนโลยีหลักด้านการตรวจจับภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์และการป้องกัน ระบบความปลอดภัยและป้องกัน IoT และเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่เน้นรวมความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและทดสอบก่อนใช้งาน (security-by-design and testing of emergent technologies)

จากผู้สมัครขอรับทุนทั้งสิ้น 23 ราย มีเพียง 9 รายเท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือก โดยพิจารณาจากความสำคัญของผลกระทบที่จะมีต่อสิงคโปร์ และความเป็นไปได้เมื่อนำมาใช้งานจริงในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป

แคสเปอร์สกี้ แลป ทำงานวิจัยร่วมกับ NUS ในการพัฒนาโครงการวิจัยในชื่อ “Malware Source Attribution through Multi-Dimensional Code Feature Analysis” เพื่อสร้าง automated solutions ที่จะช่วยนักวิเคราะห์มัลแวร์และทีมกู้ภัยให้ได้มีความเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงความคล้ายคลึงของมัลแวร์ต่างๆ กันที่ใช้ในการคุกคามไซเบอร์ และจะทำให้ระบุชี้ผู้กระทำการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

วิธีปฏิบัติการในปัจจุบันของเหล่ามืออาชีพด้านไซเบอร์นั้นยังต้องพึ่งพาประวัติการคุกคามของมัลแวร์เพื่อใช้คำนวณหาแหล่งที่มาที่น่าจะเป็นของผู้ก่อการ ผู้เชี่ยวชาญจะเก็บรวบรวมหลักฐานหลังถูกคุกคาม เช่น การวิจัย APT ที่นักวิเคราะห์มัลแวร์จะขุดคุ้ยข้อมูล หลักฐานแวดล้อมต่างๆ เท่าที่จะหาได้ วางแปลน โครงสร้าง ความเชื่อมโยง และวิเคราะห์รูปแบบของการดำเนินการคุกคาม จากนั้นติดตามร่องรอยต่างๆ เพื่อเปิดโปงและดำเนินการขั้นต่อไป

“เราตัดสินใจที่จะเข้าร่วมโครงการทุนสนับสนุนของ NRF นี้เนื่องเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้ทำการศึกษาวิจัยในบริบทของภูมิภาคเอเชีย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาร่วมกันกับ NUS จะพัฒนาความรวดเร็วของการวิจัย code attribution เราปรารถนาให้มีทางออกซึ่งการแก้ปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นประโยชน์ไม่เพียงต่อทางแคสเปอร์สกี้ แลปเท่ทานั้น แต่ยังหมายถึงหน่วยงานต่างๆ ของสิงคโปร์ด้วยเช่นกัน” นายวิตาลี คามลัก ผู้อำนวยการทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียแปซิฟิก กล่าว

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่แคสเปอร์สกี้ แลปทำงานอย่างใกล้ชิดในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในปี 2015 ยูจีน แคสเปอร์สกี้ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการที่ปรึกษานานาชาติสำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ และในปีเดียวกัน แคสเปอร์สกี้ แลป จึงได้เปิดสำนักงานใหญ่ประจำ APAC ขึ้นในประเทศสิงคโปร์ ความพยายามร่วมกันของทั้งสองฝ่ายที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ได้แก่ โครงการการพัฒนาทักษะผ่านคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสิงคโปร์ (EDB) ซึ่งนักศึกษาผู้มีพรสวรรค์จะได้รับการคัดเลือกให้ได้รับโอกาสฝึกงานที่สำนักงานใหญ่ของแคสเปอร์สกี้ แลปในกรุงมอสควา ในตำแหน่งนักวิเคราะห์มัลแวร์ เป็นระยะเวลาหนึ่งปี และหนึ่งในห้าที่ได้รับการส่งไปฝึกงานนั้น ปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่กับแคสเปอร์สกี้ แลป สองคนปฏิบัติงานที่หน่วยงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสิงคโปร์ และอีกสองคนทำงานให้กับบริษัทเอกชนในสิงคโปร์

จากการที่ประเทศสิงคโปร์ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้อการก้าวขึ้นเป็นประเทศอัจฉริยะ (Smart Nation) เป็นประเทศแรก ดังนั้นเรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทุกประเภทที่จะใช้งานได้อย่างปลอดภัย และในขณะที่สินทรัพย์ทั้งหมดของประเทศกำลังเคลื่อนย้ายไปสู่รูปแบบดิจิทัล จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาล ธุรกิจเอกชน และประชาชนจะต้องได้รับการป้องกันจากการล่วงละเมิดทางไซเบอร์

เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการศึกษา ในการคิดค้นวิธีการ โซลูชั่นที่จะค้นหาแหล่งที่มาของมัลแวร์ได้อัตโนมัติ ความคิดคิเริ่มโดยโครงการวิจัยพัฒนาความปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติในการสนับสนุนความคิดและเทคโนโลยีในด้านนี้ถือเป็นการให้กำลังใจ และเป็นการสรรค์สร้างระบบพึ่งพาตัวเองและการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบในการป้องกันตัวเองให้พ้นจากภัยไซเบอร์ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในทิศทางที่ถูกต้อง นายสเตฟาน นูเมียร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป เอเชียแปซิฟิก กล่าว