หัวเว่ย เลือกไทย เปิดตัวแคมเปญโฆษณาระดับโลกตัวใหม่ แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หัวเว่ย เปิดตัวแคมเปญแบรนด์ดิ้งระดับโลกใหม่ที่มีชื่อว่า “BREAKTHROUGH” ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคมเปญโฆษณาดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 ภาพ ซึ่งบอกเล่าถึงช่วงเวลาสำคัญของ “ความมุ่งมั่น ความมานะบากบั่น และการฟันฝ่า” จนนำไปสู่ผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในที่สุด

1

ภาพแรกของแคมเปญโฆษณาชิ้นนี้เน้นถึง “ความมุ่งมั่น” แสดงช่วงเวลาที่ชายจับปลารายหนึ่งโถมตัวพุ่งเครื่องมือดักปลาของเขา ซึ่งเป็นกระชังสานอันใหญ่โตออกไปอย่างมุ่งมั่น เพื่อดักปลากลางกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากของแม่น้ำลัวลาบา ในประเทศคองโก แอฟริกา ซึ่งชายคนนั้นจะต้องเลือกตำแหน่งจับปลาที่ดี และจดจ่ออยู่กับกระชังท่ามกลางมวลน้ำที่โหมกระหน่ำอย่างรุนแรง

2

ส่วนภาพที่สองถ่ายทอดเรื่องราวของเครื่องเร่งอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่สถาบันเซิร์น (ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป) ภาพนี้สื่อถึงความมานะบากบั่น ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ใช้เวลานานหลายสิบปีและลงทุนงบประมาณกว่าเก้าพันล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างเครื่องเร่งอนุภาคที่มีความซับซ้อนมากพอที่จะตรวจจับอนุภาค “ฮิกส์โบซอน” ซึ่งเป็นอนุภาคมูลฐานภายในอะตอมและมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้มนุษย์เราไขปริศนาเรื่องจักรวาลได้ ซึ่งสถาบันเซิร์นต้องลงทุนศึกษาวิจัยอย่างมุมานะอดทนหลายทศวรรษ และถือเป็นหนึ่งในการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการฟิสิกส์สมัยใหม่ 3

และภาพโฆษณาชิ้นที่สาม ซึ่งเป็นตัวอย่างของ “การผ่านพ้นอุปสรรค” เป็นภาพของฟลอเรนซ์ กริฟฟิธ จอยเนอร์ นักกรีฑาเหรียญทอง เจ้าของสถิติโลกประเภทวิ่ง 100 เมตรหญิง ที่กำลังวิ่งเข้าเส้นชัย พร้อมชูแขนทั้งสองข้างขึ้นแสดงความดีใจกับชัยชนะที่ได้รับ แม้ว่าภาพดังกล่าวจะเผยให้เห็นเพียงช่วงเวลาแห่งชัยชนะของเธอ แต่เบื้องหลังความสำเร็จนั้นก็คือการทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี

4
มิสเฉิน ลี่ฟาง ผู้อำนวยการ คณะกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด

มิสเฉิน ลี่ฟาง ผู้อำนวยการ คณะกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่าสิ่งที่ทำให้แคมเปญโฆษณาชุดนี้แตกต่างออกไปก็คือ หัวเว่ยเป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาแคมเปญชุดนี้ขึ้นเอง ในขณะที่หัวเว่ยยังคงสื่อสารไปถึงผู้บริโภคในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แคมเปญโฆษณาชุดนี้ก็ช่วยให้หัวเว่ยประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดอัตลักษณ์องค์กรที่ชัดเจน และสื่อถึงคุณค่าที่บริษัทยึดมั่นตลอดมา

สำหรับผลประกอบการปี 2558 ของหัวเว่ย

• รายได้: สูงกว่า 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตัวเลขที่ผ่านการตรวจสอบทางบัญชีเรียบร้อยแล้วจะเผยแพร่ในรายงานผลประกอบการประจำปี ในเดือนเมษายน 2559

ด้าน R&D และนวัตกรรม

• หัวเว่ยมีพนักงานรวม 176,000 คน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยพนักงานร้อยละ 45 หรือราว 79,000 คน ทำงานในด้านวิจัยและพัฒนา

• หัวเว่ยมีศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) 16 แห่ง ศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือ 36 แห่ง และศูนย์ฝึกอบรม 45 แห่ง ตั้งกระจายอยู่ทั่วโลก

• ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หัวเว่ยเป็นสมาชิกขององค์กรกำหนดมาตรฐาน องค์กรด้านอุตสาหกรรมและสมาคมโอเพ่นซอร์สต่างๆ กว่า 300 แห่ง และดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรเหล่านั้นกว่า 280 ตำแหน่ง นอกจากนี้ ยังเป็นสมาชิกคณะกรรมการใน IEEE-SA, ETSI, WFA, TMF, OpenStack, Linaro, OASIS และ CCSA อีกด้วย โดยถึงสิ้นปี 2558 หัวเว่ยได้นำเสนองานวิจัยไปแล้วกว่า 43,000 ชิ้น

• ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หัวเว่ยเป็นเจ้าของสิทธิบัตรรวม 50,377 ฉบับ และได้ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร 52,550 ฉบับในจีน และ 30,613 ฉบับในต่างประเทศ เฉพาะในยุโรป หัวเว่ยได้รับอนุมัติสิทธิบัตรแล้วจำนวน 11,474 ฉบับ ซึ่งนับรวม 2,247 ฉบับในปี 2558 แล้ว

• ในปี 2557 หัวเว่ยเป็นบริษัทที่ถือครองสิทธิบัตรนวัตกรรมมากที่สุดในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากที่สุด 50 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา และ 10 อันดับแรกในยุโรป (ตัวเลขประจำปี 2558 ยังไม่ได้เปิดเผยออกมา)

• หัวเว่ยได้เปิดตัวโครงการวิจัยด้านนวัตกรรมหัวเว่ย (Huawei Innovation Research Program – HIRP) ขึ้นในยุโรปเมื่อปี 2553 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ทั่วยุโรปถึง 120 แห่ง ซึ่งรวมทั้งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งมิวนิคและสถาบันวิจัยฟรอนโฮเฟอร์ โดยในปี 2558 หัวเว่ยได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่งานวิจัยมากถึง 107 โครงการผ่านโครงการ HIRP นี้ ครอบคลุมเทคโนโลยีด้านต่างๆ อาทิ กราฟีน การสื่อสารไร้สาย การสื่อสารใยแก้ว คลาวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยีมีเดีย และไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here