มือถือเจอศึกหนัก มัลแวร์ ในไทยพุ่ง พบช่องโหว่มาจากแอปดัง

แม้ว่าจำนวน มัลแวร์ บนมือถือทั่วโลกจะลดลง แต่การโจมตีกลับมีความซับซ้อนและหวังผลมากขึ้น Kaspersky บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตรวจพบแฮกเกอร์หน้าใหม่ปรากฎตัวอยู่ตลอดเวลา และไทยเองก็ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์มือถือไม่แพ้ประเทศอื่น

Kaspersky ออกมาให้ข้อมูลว่า ในปี 2021 พบความพยายามใช้มัลแวร์โจมตีผู้ใช้งานผ่านสมาร์ตโฟนหรือมือถือในประเทศมากกว่า 6 หมื่นครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 130% ติดอันดับ 3 รองจาก อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

จากรายงาน DIGITAL 2022 Global Overview report ระบุว่าสถิตินี้สัมพันธ์กับการเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือที่เพิ่มขึ้นถึง 95.6 ล้านเครื่อง อีกทั้งยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของไทยในปี 2021 เพิ่มมากขึ้นกว่า 2 พันล้านรายการ โดยมีแอปพลิเคชั่นอันตรายปะปนอยู่

ผู้เชี่ยวชาญสังเกตเห็นความผิดปกติของแอปยอดนิยมที่ใช้วิธีแทรกโค้ดอันตราย ผ่าน SDK โฆษณา อย่างในกรณีของ CamScanner ที่พบโค้ดที่เป็นอันตรายในไลบรารีโฆษณาในไคลเอ็นต์ APKPure ทางการ เช่นเดียวกับใน WhatsApp เวอร์ชันแก้ไข

อีกทั้ง ยังพบมัลแวร์ในแอที่ดาาวน์โหลดได้จาก Google Play แม้ว่า Google จะพยายามป้องกันแอปอันตรายมากแค่ไหน แต่ก็ดูเหมือนว่าโทรจันจะเปลี่ยนวิธี สร้างลูกเล่นลวงให้ผู้ใช้งานติดกับอยู่ดี เช่นให้สมัครสมาชิกใช้บริการแบบชำระเงิน หรือขโมยข้อมูลจากบัญชี Facebook และเลขบัญชีบัตรเครดิตไปแทน

โดยมัลแวร์ที่อันตรายที่สุดคือสปายแวร์ และแบ้งกิ้งมัลแวร์ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ผู้ใช้ที่ทำธุรกรรมโอนเงินและชำระบิลต่างจากอุปกรณ์มือถือ

5 มัลแวร์มือถือที่ตรวจพบในไทยปี 2021
1. Trojan
2. Trojan-Dropper
3. Trojan-Spy
4. Trojan-Downloader
5. Trojan-Proxy

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ใช้อุปกรณ์มือถือต้องระวังมากขึ้น เพื่อลดโอกาสในการเจอมัลแวร์ ให้ดาวน์โหลดแอปจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ แม้ว่าจะเป็นร้านค้าทางการก็ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยได้ 100%

อย่าหลงเชื่อกลโกงของมิจฉาชีพ แอปที่บอกว่าจะให้เงินรางวัลเกินจริง อย่าติดตั้งแอปที่ไม่รู้จัก และให้สิทธิ์แอปเข้าถึงฟังก์ชั่นสำคัญในเครื่อง สุดท้ายเลือกใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสบนมือถือ ที่สามารถตรวจจับและบล็อกมัลแวร์ได้

ดูข้อมูลเพิ่มเติม >> https://wearesocial.com/uk/blog/2022/01/digital-2022/

โหลดแอปป้องกันไวรัส >> https://play.google.com/store/search?q=Kaspersky%20Antivirus%20%26%20VPN&c=apps

#TechhubUpdate #APP #Mobile #Malware #Trojan