เกาหลีเหนือเอาบ้าง เริ่มใช้ Generative AI หาช่องว่างซุ่มโจมตี

Generative AI

Microsoft ออกรายงานว่า พวกเขาตรวจพบภัยคุกคามจากต่างประเทศ โดยมีที่มีจากการใช้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative AI) ที่บริษัทและ OpenAI พัฒนาขึ้น

ต้องยอมรับว่า ตอนนี้สหรัฐมีภับคุกคามจากไซเบอร์จากหลายประเทศ ตั้งแต่เกาหลีเหนือ อิหร่าน รัสเซีย และจีน ซึ่งปัจจุบัน ประเทศเหล่านี้ กำลังใช้ ChatGPT ในการหาแนวทางการโจมตีที่มากขึ้น ซึ่ง Microsoft ร่วมกับ OpenAI ได้ตรวจพบ และทำการหยุดยั้งภัยคุกคามจำนวนมากนี้

หากเปรียบเทียบกับบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ พวกเขาใช้ Machine Learning ในการป้องกันภัยคุกคามมาสักพักใหญ่แล้วล่ะ โดยจะเน้นไปที่การตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติในเครือข่าย แต่คิดหรอว่า แฮกเกอร์จะไม่ใช้ เพียงแต่พวกเขาอาจไม่ได้มีเงินทุนในการพัฒนา AI ของตัวเองขึ้น ซึ่งการใช้ AI ของบริษัทต่าง ๆ อย่าง OpenAI จึงเป็นตัวเลือกที่ดี ซึ่งอาจจะทำให้เกม “แมวไล่หนู” นั้นซับซ้อนยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ Microsoft ได้เปิดเผยถึงรายชื่อกลุ่มแฮกเกอร์ ที่พวกเขาได้ปิดบัญชีที่ใช้ Generative AI ในทางที่ไม่ดีไปแล้วคือ

  • กลุ่มจารกรรมไซเบอร์ของเกาหลีเหนือที่รู้จักกันในชื่อ Kimsuky ใช้โมเดลเพื่อวิจัยกลุ่มนักคิดต่างชาติที่ศึกษาประเทศ และสร้างเนื้อหาที่น่าจะใช้ในแคมเปญโจมตีด้วยการส่งอีเมลหลอกลวง (Spear-phishing)
  • กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติของอิหร่าน ได้ใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ เพื่อสร้างกลยุทธ์ตบตาทางสังคม แก้ไขข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการโจมตี และแม้แต่ศึกษาว่า จะหลีกเลี่ยงการตรวจจับในเครือข่ายที่ถูกโจมตีอย่างไร รวมถึงการสร้างเนื้อหาสำหรับใช้ใน อีเมลฟิชชิ่ง
  • หน่วยข่าวกรองทหาร GRU ของรัสเซียที่รู้จักกันในชื่อ Fancy Bear ใช้ Generative AI เพื่อวิจัยเทคโนโลยีดาวเทียมและเรดาร์ที่อาจเกี่ยวข้องกับสงครามในยูเครน
  • กลุ่มจารกรรมไซเบอร์ของจีนที่รู้จักกันในชื่อ Aquatic Panda ยังพยายามใช้ Generative AI เพื่อตรวจสอบบุคคลที่มีชื่อเสียง รวมทั้งหาใช้ประเมินกำลังทหารของสหรัฐ

สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า หลายประเทศมีความพยายามที่จะใช้โมเดลภาษาในทางที่ผิด และมันผิดวัตถุประสงค์ในการสร้าง AI ขึ้นมาแต่แรก หากไม่ได้มีการตรวจสอบ เครื่องมือนี้อาจถูกใช้ในทางที่ผิด มากขึ้นเรื่อย ๆ

ที่มา
https://www.theguardian.com/technology/2024/feb/14/north-korea-iran-ai-hacking-microsoft