เหตุใด Apple Watch Series 4 กับการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จึงมีความสำคัญ

คลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือ EKG (หรือ ECG ตามที่แอปเปิ้ลเรียก) อาจจะเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จะเข้ามาช่วยมนุษย์ในเรื่องของการตรวจสอบทางการแพทย์

อย่างที่ทราบกันดีว่า Apple Watch Series 4  ที่พึ่งเปิดตัว ได้รวมเทคโนโลยีการตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจขั้นสูงที่เรียกว่า “คลื่นไฟฟ้าหัวใจ”  โดยคุณลักษณะนี้ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA)

นั่นหมายความว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันที่เพิ่มขึ้นของ Apple ในการที่จะสร้างแบรนด์นาฬิกาเป็นมากกว่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย

สำหรับ Apple Watch Series 4 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้รัับการยกย่องจากทั่วโลกตั่งแต่เปิดตัว  Apple Watch เมื่อสามปีก่อน

โดยที่ผ่านมา Apple Watch รุ่นก่อนหน้านี้มีวิธีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจอยู่แล้ว เช่นเดียวกับอุปกรณ์ wearable ทั่วไป จะตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจโดยใช้ไฟ LED สีเขียวที่ฝังอยู่ในตัวเครื่อง โดยแสงจะสะท้อนบนผิวเพื่อตรวจจับชีพจนและการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือด ซึ่งจะนำไปคำนวนและแสดงผลอัตราการเต้นของหัวใจ

แน่นอน วิธีข้างต้นค่อนข้างสะดวก เพียงแค่ใส่ ก็วัดได้เลย แต่อย่าลืมไปว่า ข้อมือไม่ได้เป็นจุดที่ดีที่สุดในการวัดค่าของหัวใจ เพราะเซ็นเซอร์ต้องพยายามแสกนผ่านชั้นเนื้อเยื่อมากมายเพื่อเก็บข้อมูล จึงอาจจะทำผลลัพธิ์ที่ได้รับ อาจไม่ตรงนัก

โดยใน Series 4 เพียงแค่ผู้ใช้วางนิ้วลงบนปุ่ม Digital Crown (ปุ่ม Home น่ะแหละ) ระบบจะทำกลไกแบบ single-lead handheld device ที่ใช้ข้อมือซ้ายเป็น (+) และนิ้วขวาเป็น (-) กับ ground นาฬิกาจะตรวจสอบคลื่นสัญญาณจากหัวใจโดยตรงผ่านชีพจรบนนิ้ว โดยวิธีจะแม่นยำว่าการแปลงค่าชีพจรของเซ็นเซอร์ กระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 30 วินาที และผู้ใช้จะได้รับการจำแนกจังหวะการเต้นของหัวใจ ว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือเปล่า โดยข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บอยู่ใน  Apple Health

ทั้งนี้ EKG เป็นคุณลักษณะที่สำคัญและเป็นขั้นตอนต่อไปสำหรับแอ็ปเปิ้ลในฐานะ บริษัท ด้านสุขภาพ ที่สามารถใช้เพื่อวินิจฉัยหรือตรวจสอบโรคหัวใจได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น โดยข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ได้ยกให้โรคหัวใจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตทั่วโลกได้มากที่สุด

นาฬิกาแอ็ปเปิ้ล 4 Series ใหม่จะเริ่มวางจำหน่ายในวันที่ 21 กันยายน แต่จะมีการแจ้งเตือน EKG หรือการแจ้งเตือนความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจในสิ้นปีนี้ นั่นแปลว่าตอนนี้ยังทำใด้แค่วัดอัตราการเต้นของหัวใจก่อน ส่วนการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับหัวใจนั้นยังมีดราม่าเรื่องความไม่แน่นอนอยู่

โดยตามคำนิยามของ  12-lead ECG ของการวัดค่าการเต้นของหัวใจ จะวิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้าที่บันทึกระหว่างขั้วบวก ขัวลบเป็นคู่ๆ (lead) หลายๆตำแหน่ง หลายๆมุม เช่น ห้องหัวใจห้องนี้ไปขา หัวใจห้องนี้ไปแขน หัวใจห้องนี้ไปหน้าอก จึงจะใช้วินิจฉัยโรค จากรูปคลื่นมุมต่างๆมาผสมกัน

แต่นาฬิกา apple ทำได้แค่ตรวจคลื่นไฟฟ้าคู่ขั้วบวกลบเดียว มุมเดียว แต่เคลมว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมาก  คือเอาจริงๆก็ถือว่ายกระดับมาตรฐานนาฬิกาเพื่อสุขภาพขึ้นมากๆจริง  เพราะมันวัดระดับการเต้นของหัวใจได้เม้นยำมากขึ้น แต่ระดับเอามาใช้งานทางการแพทย์จริงจัง ยังไม่สามารถได้ทั้งหมด

เพราะการตรวจของเครื่อง สามารถวัดได้แค่ค่าเดียวเท่านั้น โดยต้องบอกว่า Apple อาจจะยังไม่สามารถทำได้ไกล้เคียงกับอุปกรณ์ทางการแพทย์สักเท่าไหร่ เพราะการวัดค่าหัวใจแล้ววิเคราะห์โรคนั้นยังต้องพึ่งการคำนวนจากหลาย ๆ อย่างไมใช่แค่เพียงวิเคราะห์อัตราหการเต้นหัวใจอย่างเดียว ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ณ ตอนนี้

สรุปคือ 

1.เครื่องวัดค่าหัวใจทางการแพทย์ จะวิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้าที่บันทึกระหว่างขั้วบวก (+) ขั้วลบ (-) เป็นคู่ๆ
2.การวิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้าให้ได้มารตฐานจะต้องวัดทั้ง 12 Lead หรือก็คือ 12 มุม 12 รูปแบบคลื่นไฟฟ้า เช่นหัวใจห้องนี้วิ่งไปแขน หังใจห้องนี้วิ่งไปขา  และใช้ค่าในส่วนต่าง ๆ มาอิงเพื่อวินิจฉัยโรค
3.Apple Watch อ่านค่าหัวใจโดยใช้ ข้อมือซ้ายเป็นขั้วบวก (+)  และใช้นิ้วขวาเป็นขั้วลบ (-)
4.Apple Watch อ่านค่าได้แค่ Lead เดียว จากทั้งหมด 12 Lead
5.การวินิจฉัยภาวะการเต้นผิดปกติของหัวใจ อาจจะใช้ Apple Watch วินิจฉัยได้ แต่ความแม่นยำจะต่ำมาก
6.ดังนั้น การจะหาสาเหตุของโรคได้แม่นยำ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่สามารถอ่านค่าได้ทั้ง 12 Lead