รีวิว LG G Flex แม้ลีลาดูอ่อนช้อย แต่ยังไม่ใกล้กับคำว่า “ดี”

หากคุณเป็นผู้ที่เสพติดเทคโนโลยี LG G Flex ถือเป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่เป็นสมาร์ทโฟนแบบโค้งจอใหญ่ ทำให้ใครเห็นก็ต้องสงสัยว่า “เฮ้ย ! มันโค้งได้ไงฟร่ะ” พร้อมกับคำถามต่อมาว่า “แล้วจะโค้งไปเพื่อ …” เชื่อว่าหลายๆคนคงจะอยากรู้ใช่มั้ยล่ะครับว่านอกจากจะโค้งแล้ว LG G Flex จะมีอะไรดีบ้าง ไปอ่านรีวิวกันครับ

 

1.2

2

สิ่งแรกของ LG G Flex ที่ต้องพูดก่อนเลยคือตัวเครื่องแบบโค้ง ด้วยวัสดุที่ LG เรียกว่า P-OLED ทำให้หน้าจอขนาด 6 นิ้วโค้งงอได้ ถือเป็นครั้งแรกที่แอดมินหยิบจับสมาร์ทโฟนจอใหญ่ๆได้อย่างมั่นใจไม่กลัวหล่น และยังมาพร้อมความสามารถ “กดทับให้แบนได้และกลับมางอสู่สภาพเดิมได้” ส่วนฝาหลังแม้จะยังเป็นพลาสติกแต่ก็เด็ดไม่แพ้ความโค้งเนื่องจาก LG พ่วงเทคโนโลยีที่เรียกว่า Self Healing มาด้วย ช่วยในการลบริ้วรอยได้เองที่ไม่ว่าจะเกิดจากการขีดข่วนด้วยกุญแจหรือของมีคมในขณะที่พกพาในกระเป๋ากางเกง แต่พูดเลยว่าแอดมินกล้าลองทำจริงนิดๆหน่อยๆ และรอยก็หายจริง แต่ก็ไม่กล้าหนักมือ เดี๋ยวจะซวยเพราะเป็นเครื่องที่ยืมเขามา … 555

 

3

เรื่องที่สองน่าจะสำคัญกับผู้ใช้จริงนั่นคือการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งในบ้านเรา 3G จาก AIS, DTAC, Truemove-H กระจายไปแทบทุกพื้นที่ บางครั้งอาจตะกุกตะกักไปบ้างและเราก็คงจะชินไปแล้ว แต่ LG G Flex รองรับ 4G LTE ซึ่งเป็นเรื่องดีกับลูกค้าในไทยที่ใช้เครือข่าย Truemove-H ที่แม้พื้นที่การให้บริการยังมีอยู่อย่างจำกัด แต่ในอนาคตอันใกล้พื้นที่การให้บริการ 4G LTE จะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

4

ความรู้สึกต่อมาคือการใช้งานด้วยมือเดียวได้ทุกคำสั่ง แต่กับ LG G Flex แล้วเป็นอุปสรรคกับแอดมินนะ ยกตัวอย่าง การถือใช้เล่นบนรถไฟฟ้าปาดไปปาดมาดู Facebook, Instagram, Line หรือจะเป็นการลากแทบด้านบนเพื่อเรียกใช้งานฟังก์ชันต่างๆ เป็นต้น แต่ยังดีที่การพิพม์ข้อความด้วยมือเดียวดูจะสะดวกขึ้นมาแม้จอจะใหญ่ เพราะ LG ย่อแป้นพิมพ์ให้ชิดด้านใดด้านหนึ่งตามมือที่ถนัดของผู้ใช้ ขณะเดียวกันปุ่มด้านหลังที่เวลาจะถ่ายรูปมักไปกดเอาปุ่มพาวเวอร์ซะทุกที เรียกได้ว่าปุ่มหลังที่เกิดกับ LG G2 และถูกส่งต่อมาที่ LG G Flex คงต้องใช้เวลาเรียนรู้และทำความคุ้นเคยให้ชิน

LG G Flex มาพร้อมหน้าจอใหญ่ถึง 6 นิ้ว แต่ความละเอียดการแสดงผลกลับให้มาเพียง 1280 x 720 พิกเซล ซึ่งยอมรับเลยว่าผิดหวัง และยังอาจทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการใช้มือถือถ่ายรูปต้องรู้สึกไม่ดีไปกับความละเอียดการแสดงผลไปด้วย แม้กล้องหลังจะ 13 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 2.1 ล้านพิกเซล รวมถึงฟังก์ชันช่วยถ่ายภาพที่อัดมาแน่นมาเพียบก็ตาม อย่างไรก็ดี LG G Flex ยังมีคุณสมบัติที่ดีของการบันทึกวีดีโอในความละเอียดระดับ 4K หรือ Ultra HD และเหมาะกับการรับชมความบันเทิงในแนวนอนทั้งการดูหนัง, เล่นเกม อีกด้วย

เมนูต่างๆในโหมดถ่ายภาพ

6

5

ตัวเลือกในโหมดบันทึกวีดีโอที่ยืนยันได้ถึงคุณสมบัติในการบันทึกวีดีโอในความละเอียดแบบ Ultra HD หรือ 4K 

14

ภาพถ่ายในโหมดปกติ (ไม่ใช้แฟลช)

13

12

11

7

8

ภาพซ้ายแบบไม่ใช้แฟลช และภาพขวาแบบใช้แฟลช

9

ภาพจากกล้องหน้า

10

ภาพในขณะดูวีดีโอจาก Youtube

18

าพในขณะเล่นเกม

19

ภาพในขณะดูบอล

20

 

ในแง่ของฟีเจอร์เด่นๆใน LG G Flex อย่าง Knock On ที่หลังจากเคาะหน้าจอ 2 ทีแล้ว ยังสามารถเรียกใช้ 2 นิ้วถ่างหน้าจอออกไปด้านข้าง ซึ่งจะให้ผู้ใช้เข้าถึงเมนู Photos, Videos และ Youtube ได้ เรียกฟีเจอร์นี้ว่า Quick Theater

15

 

ต่อด้วยฟีเจอร์ Dual Windows หรือการเปิด 2 แอพบนหน้าจอพร้อมกันได้ เพียงกดปุ่ม back ค้างไว้

16

17

สรุปเลยนะครับว่า LG G Flex ยังมีทั้งข้อดีและไม่ดีอยู่ อย่างหน้าจอแสดงผลที่ความละเอียดไม่สมกับขนาดจอ 6 นิ้ว หรือจะเป็นความโค้งที่แม้จะแสดงถึงความเป็น “นวัตกรรม” ป้องกันการใส่มือถือในกระเป๋ากางเกงด้านหลังและเผลอนั่งทับลงไปซึ่งจะทำให้ตัวเครื่อง LG G Flex ไม่เสียหายแต่อย่างใด แต่พฤติกรรมคนไทยส่วนใหญ่แอดมินเชื่อว่าคงจะเก็บมือถือไว้ในกระเป๋ากางเกงด้านหน้าหรือใส่กระเป๋าถือมากกว่า ในทางกลับกันความโค้งของ LG G Flex ทำให้แอดมินรู้สึกว่ามันหยิบถือง่ายกว่ามือถือทรงเหลี่ยมๆ มนๆ ทั่วไปเสียด้วยซ้ำ แถมแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่า G2 ก็ย่อมอึดกว่าเป็นธรรมดา ซึ่งถือว่าประทับใจ

21

LG G Flex กับราคาในไทย 24,900 บาท ยังไม่ใช่คำตอบของผู้บริโภคทั่วไป แม้จะแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมแต่คนที่จะยอมจ่ายเงินขนาดนี้ ในยุคนี้จะไม่มองเพียงแค่รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น (หากเงินไม่เหลือกินเหลือใช้ หรือเป็นคนเสพติดเทคโนโลยีจริงๆ) แต่ส่วนอื่นๆจะต้องคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปอีกด้วย ซึ่ง LG G Flex แม้ลีลาดูอ่อนช้อย แต่ยังไม่ใกล้กับคำว่า “ดี” ครับ

 

 

 

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here