ซิป้า ส่งซอฟต์แวร์บูรณาการระบบสาธารณสุขเชื่อมโยงข้อมูลผ่านไอที นำร่องจ.นครนายก

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) จัดสัมมนาทางวิชาการและแสดงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่องานสาธารณสุขด้วยการใช้เทคโนโลยี (Healthcare Technology Summit 2016) โดยมีพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นาวาเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายศุภชัย จงศิริ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และผู้บริหารจากบริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทเอชพี อิงค์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมงาน

sipa-001

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การนำมติของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มาบูรณาการกับมติของสาธารณสุข เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้ประชาชน โดยการวางโครงข่ายเชื่อมโยงกัน ในด้านการติดต่อสื่อสารให้แพทย์พยาบาลได้นำข้อมูล ผ่านระบบไอทีมาใช้ประโยชน์ในการติดตาม แยกแยะ วิเคราะห์ก่อนการรักษาพยายาบาล ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่นอกสถานที่รักษาพยาบาล เพื่อจะได้ให้คำแนะนำผู้ป่วย และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ พร้อมกันนี้มีการจัดทำข้อมูลไว้บนอินเตอร์เน็ตโดยการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงไอซีทีและกระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันการรับข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดีในการบูรณาการร่วมกันเราต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของข้อมูล พัฒนาบุคลาการที่เกี่ยวข้อง จัดหาเครื่องมือให้สอดรับกับเทคโนโลยี และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในสองส่วน คือ เรื่องข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลการรักษาพยาบาล ซึ่งเราทราบกันดีว่าไม่ควรเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่อะไรที่เป็นข้อมูลทั่วไปก็สามารถเชื่อมโยงได้ในสังกัดโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ

sipa-003

sipa-002
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และคณะผู้บริหาร ร่วมเดินชมงาน Healthcare Technology Summit 2016

ด้าน นาวาเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า การรักษาพยาบาลผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เป็นเรื่องปกติที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการอยู่แล้ว แต่ตรงนี้กระทรวงไอซีทีจะไปเสริมให้มีความเสถียรและมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อรองรับผู้ป่วยโดยไม่ต้องพึ่งพาแพทย์ส่วนกลาง แต่อย่างไรก็ดีต้องระมัดระวังเรื่องการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้รั่วไหล รวมถึงองค์ประกอบด้านกฎหมาย

ด้าน นายศุภชัย จงศิริ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวว่า ทางซิป้าดำเนินการตอบรับตามนโยบายรัฐบาลกับกระทรวงไอซีที โดยนำซอฟต์แวร์ไปนำร่องที่โรงพยาบาลจังหวัดนครนายก เป็นเวลากว่า ๑ ปี ในโครงการศึกษาและพัฒนาระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล Personal Health Record หรือ PHR ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการบริการซอฟต์แวร์ สำหรับภาคประชาชนเพิ่มโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งช่วยทำให้การดูแลสุขภาพและการติดตามผลการรักษาพยาบาล ซึ่งประชาชนรวมถึงบุคลลากรทางการแพทย์สามารถใช้บริการได้ตลอดเวลา โดยที่ผ่านมาสำนักงานฯ ได้ดำเนินงาน

โครงการดังกล่าวมาแล้ว ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ เริ่มดำเนินการ PHR นำร่องใช้งานกับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ของจังหวัดนครนายก ผ่านรหัสเลขบัตรประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก โดยเปิดให้ประชาชนบุคคลกรทางการแพทย์ สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพส่วนตัวได้ผ่าน Web Browser ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมามีประชาชนและบุคคลากรทางการแพทย์เข้าใช้งานนำร่องจาก ๔ อำเภอ ใน ๔ หมู่บ้าน จำนวน กว่า ๖๐๐ ราย

ส่วนในระยะที่ ๒ จากความสำเร็จในระยะที่ ๑ เราได้ดำเนินการการพัฒนา Application Programming Interface หรือ API สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพประชาชนฯ จาก Web Service PHR ผ่าน API เพื่อให้สามารถต่อยอดการพัฒนาระบบ PHR ให้เป็นรูปแบบ Application บน Smart Device ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นส่งเสริมการใช้งานระบบ PHR ให้ครอบคลุมบริการที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีบริการซอฟต์แวร์สุขภาพ Healthcare เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาส่วนการเชื่อมต่อในลักษณะ Family Folder ซึ่งทำให้สมาชิกในครอบครัวของประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น ของคนในครอบครัวที่ได้รับอนุญาต

ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของประชาชน ตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยในดำเนินงานในระยะที่ ๒ นั้นมีจำนวนประชาชนเปิดใช้งานระบบ PHR จำนวน ๒,๔๘๓ ราย อย่างไรก็ดีหากการดำเนินการได้ผล ในส่วนระยะที่ ๓ เราจะขยายไปยัง ๔ จังหวัด ใน ๔ ภูมิภาค โดยได้พิจารณาความเหมาะสมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ ที่ติดต่อขอเข้าร่วมโครงการจำนวน ๔ จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์ และ กาญจนบุรี พร้อมกันนี้จะมีการหารือกับกระทรวงสาธารณสุขต่อไปเพื่อขยายผลต่อ ปรับปรุงด้านเทคนิค ด้านเน็ตเวิร์ก หารือเรื่องแพลทฟอร์มเพื่อให้ออกมาในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถส่งมอบระบบ PHR ที่สมบูรณ์ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการต่อไปในอนาคตได้

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here