เนบิวลาตุ๊กแก ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ใช้เวลาบันทึกภาพนาน 35 ชั่วโมง

สุดยอด ภาพถ่ายดาราศาสตร์ ฝีมือคนไทย

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย

ประจำปี 2568 กับหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์”

ในปีนี้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 500 ผลงาน เราจะเห็นได้ว่าภาพของผลงาน พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน และภาพถ่าย “ดาวหาง” คือภาพที่ส่งเข้าประกวดเป็นจำนวนเยอะที่สุด สะท้อนการเติบโตของวงการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในประเทศไทยที่มีเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี

ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลล้วนมีความโดดเด่นและน่าประทับใจ ไม่ว่าจะเป็น เนบิวลาตุ๊กแก , ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ , ดวงอาทิตย์ในช่วงคลื่นไฮโดรเจนอัลฟา , ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส , ออโรรากับเมฆแมกเจลแลน เป็นต้น

หนึ่งในนั้นคือภาพ “Red Riding Lacerta” โดยนายวชิระ โธมัส เจ้าของรางวัลชนะเลิศในประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก (Deep Sky Object)

เป็นภาพเนบิวลาสะท้อนแสงที่หาชมได้ยาก มีรูปร่างคล้ายตุ๊กแกในอวกาศ ผู้ถ่ายใช้เวลาบันทึกภาพรวมกว่า 35 ชั่วโมง

สำหรับประเภทวัตถุในระบบสุริยะ ใช้ความพิเศษด้านเทคนิคและอุปกรณ์ในการถ่ายภาพ ทำให้ภาพ

“Sun in Hydrogen Alpha with DIY Spectroheliograph” โดยนายธีรวัฒน์ เสถียรกาล คว้ารางวัลชนะเลิศ

ด้วยการบันทึกภาพดวงอาทิตย์ในช่วงคลื่นไฮโดรเจน-อัลฟา ร่วมกับอุปกรณ์ “DIY Spectroheliograph” ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง

อีกหนึ่งผลงานที่สร้างความประทับใจ คือภาพ “Aurora Australis with the Magellanic

Clouds” โดย นายพรเทพ เบญญาอภิกุล ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ ในประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก ภาพนี้ถ่ายด้วย “โทรศัพท์มือถือ”

แสดงให้เห็นว่าหัวใจรักในดาราศาสตร์และมุมมองที่เฉียบคมสามารถสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์ราคาแพง

ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัล >> https://bit.ly/NARIT-Astrophotography-Contest-2025

#ภาพถ่ายดาราศาสตร์ #TechhubUpdate