ลายมือ มีสิทธิ์สูญพันธุ์

ความเจริญของโลกทำให้หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยเป็นมรดกสำคัญมีโอกาสสูญหายไป นักเขียนคนหนึ่งในอังกฤษเขียนหนังสือชื่อ Script and Scribble: The Rise & Fall of Handwriting ทำนายว่าการเขียนด้วยมือกำลังสูญพันธุ์อย่างช้า ๆ

คิตตี้ เบิร์นส์ ฟลอเรย์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าว บีบีซี ว่าศิลปะการเขียนหนังสือด้วยมือกำลังเสื่อมไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากคนรุ่นใหม่ใช้ปากกาเขียนหนังสือเองน้อยลงเพราะมีการใช้ระบบสื่อสารสมัยใหม่ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกและมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยตลอด ทำให้ไม่มีความจำเป็นในการเขียนหนังสือด้วยมืออีกต่อไป

ฟลอเรย์ระบุว่า การหัดคัดลายมือเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนการสอน ของโรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงศตวรรษที่ผ่านมาและคนอังกฤษก็มีวิธี การเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ เห็นได้จากเรื่องราวในช่วงสงครามครั้งที่สอง เมื่อทหารเยอรมันปลอมตัวเป็นทหารช่างอังกฤษและแอบเข้าประเทศอังกฤษ เพื่อสอดแนมโดยไปตั้งแคมป.ในต่างจังหวัดแต่โดนจับได้เนื่องจากชาวบ้าน เห็นทหารคนหนึ่งเขียนหนังสือไม่เหมือนคนอังกฤษ

สำนักข่าวบีบีซีสัมภาษณ์ มาร์ก บราวน์ ครูใหญ่ของโรงเรียนเซนต์แมรี่ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมคาทอลิกที่เมือง Axminster,Devon พบว่าโรงเรียนเอง ก็ได้เปลี่ยนวิธีการสอนจากที่เคยเน้นการคัดลายมือให้สวยงามเป็นระเบียบ มาเป็นการให้ความสำคัญต่อเนื้อหาสาระของการเขียนมากกว่า

บราวน์ ระบุว่ายังมีการสอนให้เด็กหัดคัดลายมืออยู่และผู้ปกครองส่วนใหญ่อยากให้เป็นแบบเดียวกับสมัยของตัวเองแต่โรงเรียนก็ได้เปลี่ยนการให้ความ สำคัญ ซึ่งทำให้เด็กเขียนเนื้อหาได้ดีขึ้นแต่ลายมือแย่ลงเมื่อเทียบกับคนสมัยก่อน

ฟลอเรย์ระบุว่า ความสำคัญของการเขียนและอ่านลายมือจะลดลงไปเรื่อยๆ ยกเว้นในวงการแพทย์เนื่องจากนายแพทย์ส่วนใหญ่ยังนิยมเขียน ด้วยมือในการวิเคราะห์โรค และใบสั่งยาแต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าลายมือของพวก หมออ่านยากที่สุดในโลกและบางครั้งก็เป็นต้นเหตุของการรักษาผิดพลาด

ประเทศไทยเองก็เป็นปัญหาอยู่เห็นได้จากข่าวเมื่อเร็วๆนี้ที่มีการขลิบอวัยวะเพศเด็กชายทั้งที่เด็กไปที่คลินิกเพื่อผ่าตัดฝีในปาก

สิ่งที่เชื่อกันว่าจะเป็นสาเหตุที่เร่งให้การเขียนด้วยมือและลายมือสูญพันธุ์เร็วยิ่ง ขึ้นคือพัฒนาการของโทรศัพท์มือถือซึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสาร สำหรับคน รุ่นใหม่และล่าสุดมีหนังสือขายดีในญี่ปุ่นเล่มหนึ่งชื่อ “ประสบการณ์ครั้งแรก” ของนักเรียนมัธยมญี่ปุ่นอายุ 22 ปีใช้นามปากกาว่า ยูมี-โฮตารุ ซึ่งแปลว่า หิ่งห้อยฝันเฟื่อง หนังสือเล่มนี้อาจจะเป็นหนังสือขายดีเล่มแรกของโลกที่เขียน ด้วยการกดปุ่ม

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่านายหิ่งห้อยฝันเฟื่องเขียนหนังสือทั้งเล่มบน โทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมคนรุ่นใหม่ชาวญี่ปุ่นโดยเขียน เรื่องที่ละบรรทัดบนโทรศัพท์มือถือและส่งไปที่เว็บไซต์ที่มีอยู่หลายแห่งในญี่ปุ่น

ความนิยมของนิยาย “ประสบการณ์ครั้งแรก” ทำให้สำนักพิมพ์ชื่อดังติดต่อนาย หิ่งห้อยฝันเฟื่อง เพื่อขอลิขสิทธิ์ไปตีพิมพ์และกลายเป็นหนังสือขายดีไปด้วย

ชาวญี่ปุ่นเรียกนิยายบนโทรศัพท์มือถือนี้ว่า ไคไต โชเซ็ทสุ หรือบทประพันธ์บน โทรศัพท์มือถือเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นักเขียนส่วน ใหญ่เป็นวัยรุ่นหญิงและชายซึ่งเขียนเรื่องต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์ตัวเอง บางเรื่องเป็นสิ่งที่ต้องปิดบังอำพราง อาทิ เรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ การเสพยา การทำแท้ง เขียนบนโทรศัพท์มือถือและส่งไปที่เว็บไซต์ บทประพันธ์เหล่านี้ สามารถติดตามอ่านได้บนโทรศัพท์มือถือเป็นตอนๆ

ความก้าวหน้าทางการสื่อสาร และปรากฏการณ์ทั้งหลายเหล่านี้มีส่วนสำคัญให้การเขียนหนังสือด้วยมือหดหายไปจากวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ ทำให้คนกลุ่มหนึ่ง ต้องกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง คนกลุ่มนี้ก็คือผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องเขียน

มีรายงานว่ายอดการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียนยังขยายตัวอยู่แต่ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเขียนในประเทศอเมริกาและประเทศต่างๆเริ่มไม่ แน่ใจในอนาคตของธุรกิจจึงจัดให้มีโครงการส่งเสริมการเขียนหนังสือขึ้นใน หลายประเทศโดยร่วมกับสมาคมการเขียน อาทิ สมาคมอุปกรณ์เครื่องเขียน ของอเมริกาสนับสนุนการจัดงาน วันแห่งการคัดลายมือขึ้นทุกๆวันที่ 23 มกราคมของทุกปี

ในประเทศอังกฤษมีการจัดการแข่งขันการคัดลายมือในระดับประถมโดยหน่วย งานในอังกฤษที่มีชื่อว่า Support and Training inPrep Schools (SATIPS) โดยจัดขึ้นทุกปีเช่นกัน ในประเทศจีนและญี่ปุ่นเองก็เขียนตัวหนังสือเป็นศิลปะ ชนิดหนึ่งที่รัฐบาลสนับสนุนอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามฟลอเรย์เขียนในหนังสือของเธอว่าในอนาคตลายมือของคนจะ เลวร้ายลงไปเป็นลำดับและในที่สุดก็จะกลายเป็นสิ่งอ่านยากเหมือนกับคัมภีร์ โบราณ และเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญเหมือนกับในสมัยก่อนที่การเขียนหนังสือ ต้องอาศัยอาลักษณ์ที่ฝึกมาอย่างเชี่ยวชาญเท่านั้น

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here