แคสเปอร์สกี้เผยผู้ใช้ในอาเซียน 67% ต้องการ OTP ผ่าน SMS ในทุกธุรกรรมการเงินออนไลน์

การศึกษาล่าสุดของแคสเปอร์สกี้เปิดเผยสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยากได้เกี่ยวกับความปลอดภัยของลูกค้าธนาคารและผู้ให้บริการชำระเงินผ่านมือถือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การวิจัยล่าสุดของแคสเปอร์สกี้พบว่าผู้ใช้ e-payment ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องข้อมูลทางการเงินของตนมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางกระแสการใช้การชำระเงินดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาค และผู้ใช้มีความชัดเจนเรื่องคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมที่หวังว่าจะได้รับจากธนาคารและผู้ให้บริการวอลเล็ตหรือกระเป๋าเงินออนไลน์

งานวิจัยเรื่อง “Mapping a secure path for the future of digital payments in APAC” พบว่าผู้ใช้ธนาคารดิจิทัลและแอป วอลเล็ตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมากกว่าสามในห้าคน (67%) อยากได้รับบริการการใช้รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (one-time-password หรือ OTP) ผ่าน SMS สำหรับธุรกรรมทุกรายการ

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (57%) ต้องการเห็นการใช้งานการรับรองความถูกต้องด้วยสองปัจจัยหรือ 2FA เช่นเดียวกับคุณสมบัติความปลอดภัยไบโอเมตริกซ์ เช่น การจดจำใบหน้าหรือลายนิ้วมือ (56%)

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ การใช้ OTP มีความสำคัญสูงสุดสำหรับผู้บริโภคในประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงอินโดนีเซีย (67%) มาเลเซีย (66%) ฟิลิปปินส์ (75%) ไทย (63%) และเวียดนาม (74%) ยกเว้นสิงคโปร์ที่การตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัยเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุด (65%)

ลูกค้าที่ใช้การชำระเงินดิจิทัลยอมรับการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งในการรับมือกับการโจมตีทางวิศวกรรมสังคม ลูกค้าจำนวนเกือบครึ่ง (40%) ตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทต่างๆ ควรเริ่มป้องกันการฉ้อโกงหลอกลวงอัตโนมัติ โดยอิงตามพฤติกรรมการใช้จ่ายและ/หรือประวัติการโอนเงิน

ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ (28%) ยังกล่าวอีกว่า Tokenization ซึ่งเป็นกระบวนการในการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนโดยแทนที่ด้วยหมายเลขที่สร้างตามอัลกอริทึมที่เรียกว่าโทเค็น สามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับธนาคารบนมือถือและแอปพลิเคชันการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคได้

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ขนาดของตลาดการชำระเงินดิจิทัลที่แท้จริงในภูมิภาคนี้ยังสามารถขยายตัวได้อีกมาก ในภาคธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง บริษัทด้านการชำระเงินควรได้รับการประเมินนวัตกรรมและพิจารณาถึงจุดยืนด้านความปลอดภัยด้วย เราสามารถดึงข้อมูลที่ค้นพบว่าลูกค้าเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของเทคโนโลยีเพื่อปกป้องการเงินทางออนไลน์มากขึ้น โดยทั่วไป คุณลักษณะด้านความปลอดภัยเหล่านี้เป็นมาตรการป้องกันที่มีประโยชน์ ซึ่งสามารถปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ในส่วนการชำระเงินดิจิทัลได้ อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาตัวเลือกเหล่านี้โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวม

ตัวอย่างเช่น การใช้การตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัย (2FA) ซึ่งมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงการตรวจสอบสิทธิ์ผ่าน SMS

ข้อความ SMS ที่มีรหัสผ่านอาจถูกดักจับโดยโทรจันที่อยู่ในสมาร์ทโฟน หรือโดยข้อบกพร่องในโปรโตคอล SS7 ที่ใช้ในการส่งข้อความ ทำให้ 2FA ที่ใช้ SMS ไม่น่าเชื่อถือในบางครั้ง ในกรณีเช่นนี้ ขอแนะนำให้ใช้แอปตัวตรวจสอบสิทธิ์ในตัว (authenticator apps) โดย SMS ถูกใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายในการจำกัดช่องโหว่ของบริษัทต่อการละเมิดข้อมูล

ด้วยลักษณะที่ซับซ้อนของการรักษาความปลอดภัยของแอปและการเงินออนไลน์ จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าสามในห้า (65%) กล่าวว่า ธนาคารและบริษัทวอลเล็ตควรโน้มน้าวลูกค้าในการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ ผู้ตอบแบบสอบถาม 60% ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ให้บริการควรให้ความรู้ผู้ใช้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภัยคุกคามทางออนไลน์

เมื่อต้องเลือกผู้ให้บริการวอลเล็ตบนมือถือ การรักษาความปลอดภัยยังคงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ใช้บริการชำระเงินดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่ง (58%) ระบุว่าจะใช้ e-wallet ที่มีฟีเจอร์ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น ลายนิ้วมือและ 2FA ในขณะที่ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งในสาม (37%) กล่าวว่าจะใช้แอปธนาคารหรือกระเป๋าเงินออนไลน์จากผู้ให้บริการที่ไม่ได้ถูกละเมิดข้อมูลหรือโจมตีความปลอดภัยทางไซเบอร์ก่อนหน้านี้

ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนหนึ่งยังตั้งข้อสังเกตว่า e-wallet บนมือถือจะต้องเป็นอิสระ (42%) สามารถใช้ได้โดยตรงจากธนาคารหรือผ่านบุคคลที่สาม หรือ e-wallet ที่จำกัดการเชื่อมโยงกับร้านค้าเฉพาะ (35%) ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้เงินเพื่อชำระเงินสำหรับธุรกรรมกับผู้ค้ารายใดรายหนึ่งเท่านั้น

อีกข้อควรพิจารณาในการเลือกบริษัทกระเป๋าเงินดิจิทัลและแอป คือ 49% ควรเสนอโปรโมชั่น เงินคืน ค่าธรรมเนียมการโอนที่ต่ำกว่า 35% ให้ใช้บริการไม่เปิดเผยตัวตน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดบัตรเครดิตกับผู้ค้าจำนวนมากเกินไป 25% ไม่ต้องการรายละเอียดบัญชีธนาคาร และ 16% เป็นบริการในท้องถิ่น

นายเซียง เทียง โยว กล่าวเสริมว่า “ในการพัฒนากลยุทธ์การเติบโตในระยะยาวและยั่งยืน บริษัทชำระเงินดิจิทัลจำเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการและความจำเป็นบางอย่างของผู้ใช้ด้วย แม้ว่ามาตรการป้องกันบางอย่างจะไม่ใช่สิ่งใหม่ทั้งหมดและมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาว่าคุณลักษณะด้านความปลอดภัยสามารถผสานรวมในลักษณะที่ไม่กระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้ได้อย่างไร การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าลูกค้ายึดถือผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัลที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยทางการเงินทางออนไลน์มากขึ้นอย่างไร ดังนั้นเราจึงแนะนำให้บริษัทต่างๆ พิจารณาช่องว่างความปลอดภัยทางไซเบอร์ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการชำระเงิน และเหมาะสมกับมาตรการด้านไอทีที่เหมาะสมในลักษณะที่ปรับเทียบ”

แคสเปอร์สกี้ แนะนำให้ผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัลใช้มาตรการเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากการฉ้อโกงและเทคนิคอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบแพตช์และอัปเดตซอฟต์แวร์อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายตรงข้ามเจาะระบบได้
  • ใช้การเข้ารหัสระดับสูงสำหรับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน และบังคับใช้ข้อมูลประจำตัวที่รัดกุมและการรับรองความถูกต้องแบบหลายปัจจัย
  • ใช้โซลูชั่นการป้องกันเอ็นด์พ้อยต์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามและการตอบสนองเพื่อบล็อกความพยายามในการเข้าถึง และบริการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบการโจมตีและการตอบสนองจากผู้เชี่ยวชาญ
  • ให้ความรู้แก่ลูกค้าและพนักงานเกี่ยวกับกลอุบายที่อาจเป็นไปได้ที่ผู้ร้ายอาจใช้ บริษัทต่างๆ ควรทำงานร่วมกับผู้ให้บริการที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งสามารถรับประกันกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อประหยัดเวลาและรับบริการที่มีคุณภาพ
  • ดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยประจำปี และทดสอบการเจาะระบบเพื่อค้นหาปัญหาด้านความปลอดภัยในเครือข่ายของบริษัท
  • ติดตั้งโซลูชันป้องกันการฉ้อโกงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วเพื่อระบุรูปแบบและวิธีการโจมตีใหม่ๆ
  • สำหรับองค์กรที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ครบถ้วน ให้ติดตั้งโซลูชัน anti-APT และ EDR ซึ่งช่วยให้สามารถค้นหาและตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูง สอบสวน และแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ให้ทีม SOC เข้าถึงข่าวกรองภัยคุกคามล่าสุดและเพิ่มทักษะอย่างสม่ำเสมอด้วยการฝึกอบรมอย่างมืออาชีพ ข้อมูลทั้งหมดข้างต้นมีอยู่ในเฟรมเวิร์ก Kaspersky Expert Security

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://kas.pr/b6w8

ระเบียบวิธีการสำรวจ

รายงาน “Mapping a digitally secure path for the future of payments in APAC” ของแคสเปอร์สกี้ ดำเนินการโดยหน่วยงานวิจัย YouGov สำรวจประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงออสเตรเลีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม (รวม 10 ประเทศ) การสำรวจจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,618 คนจากทุกประเทศที่ระบุ ผู้ตอบแบบสอบถามมีช่วงอายุระหว่าง 18-65 ปี ซึ่งทั้งหมดเป็นวัยทำงานที่เป็นผู้ใช้การชำระเงินทางดิจิทัล