Google เจ๋ง ใช้ AI ช่วยพยากรณ์อากาศ แจ้งเตือนก่อนฝนตก

Google เร่งช่วยชุมชนและเกษตรกรเพิ่มฟีเจอร์ AI พยากรณ์ฝนล่วงหน้าได้แม่นยำขึ้น การพยากรณ์ฝนถูกใช้งานแล้วทั่วแอฟริกาเป็นการจำลองการพยากรณ์ฝนที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของ Google Research ซึ่งใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและการสังเกตการณ์ภาคพื้นดินเพื่อสร้างการพยากรณ์ที่ทันสมัยที่สุด แอฟริกาถือว่าเป็นทวีปที่มีข้อมูลด้านฝนน้อยกว่าทวีปอื่นๆ จึงทำให้ต้องใช้เทคโนโลยีของ Google เข้ามาช่วย โดยจะคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนทั่วโลกได้อย่างแม่นยำภายในรัศมี 5 กิโลเมตรทุกๆ 15 นาทีเป็นเวลา 12 ชั่วโมงข้างหน้าซึ่งทั้งหมดใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งนาที การให้ AI ดึงข้อมูลจากดาวเทียมจะแม่นยำกว่าการใช้เรดาร์ภาคพื้นดินไม่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่ที่มีประชากรหลายพันล้านคนอาศัยอยู่ นับว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ห่างไกลให้สามารถรู้สภาพอากาศและเตรียมตัวรับมือได้ทัน ที่มา : blog.google #Google...

ครั้งแรกของปี ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก สังเกตพร้อมกัน 27 เม.ย. นี้

ครั้งแรกของปีปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตั้งฉากที่กรุงเทพฯ วันที่ 27 เม.ย. นี้เฝ้าสังเกตพร้อมกัน  ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกของปีเวลาประมาณ 12:16 น. หากสังเกตวัตถุที่อยู่กลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี  ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคมดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ประเทศไทย โดยเริ่มจากพื้นที่ภาคใต้ อ. เบตง จ. ยะลา เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่ผ่านมาและจะไล่ลำดับขึ้นไปทางเหนือเรื่อยๆ ก่อนจะสิ้นสุดที่ อ. แม่สาย จ....

ท้าแข่ง ประกวดถ่ายภาพดาราศาสตร์ ได้ทั้งผลงานภาพนิ่งและวิดีโอ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติชวนส่งผลงานร่วมประกวดภาพถ่ายและวิดีโอหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” กิจกรรมนี้จัดขึ้นทุกปีเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปทั้งเยาวชนและประชาชน ไม่จำกัดเพศอายุและการศึกษาร่วมแสดงฝีมือด้านการถ่ายภาพดาราศาสตร์ ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจะได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายดาราศาสตร์ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2568 พร้อมตีพิมพ์ลงปฏิทินดาราศาสตร์ประจำปี 2569 รวมถึงจะใช้ในสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ต่างๆ ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” แบ่งออกเป็น 6 ประเภทประกอบด้วย 1. Deep Sky Objects 2. ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์  3. วัตถุในระบบสุริยะ  4. วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ 5. ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก 6. วิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหววิดีโอแบบไทม์แลปส์ ผู้สนใจสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ - 4 กรกฎาคม 2568 อ่านเพิ่มเติม >> https://bit.ly/AstrophotoContest-2025   #TechhubUpdate

ตัวช่วยใหม่ Copilot เพิ่มฟีเจอร์ฮิต เปลี่ยนเสียงเป็นข้อความ

ทำงานง่ายขึ้น Microsoft 365 เพิ่มความฟีเจอร์เปลี่ยนเสียงให้เป็นข้อความใช้งานได้แล้วผ่าน iOS โปรแกรมจะช่วยให้เราจัดระเบียบเอกสารได้สะดวกยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นรายการซื้อของร่างอีเมลสูตรอาหารหรือโปรเจ็กต์งานผ่าน Microsoft Copilot วิธีการทำงาน 1. เปิดแอป Word บน iPhone 2. เลือกปุ่ม New (+) จากนั้นเลือกลิงก์ Use Copilot 3. เลือกภาษาที่คุณต้องการจากนั้นเลือกรูปแบบเอกสาร, บันทึกย่อหรืออีเมล 4. แตะปุ่มไมโครโฟนเพื่อเริ่มบันทึก 5. เมื่อบันทึกเสร็จสิ้นแล้วให้เลือกเสร็จสิ้นเพื่อให้ Copilot สร้างเอกสารตามข้อความเสียง 6. สามารถเลือกเก็บไฟล์เพื่อแก้ไขเนื้อหาได้ ฟีเจอร์นี้พร้อมใช้งานแล้วสำหรับผู้ใช้...
OpenAI

งดใช้คำสุภาพ ทุกคำสั่งมีต้นทุน เพิ่มค่าใช้จ่าย Gen AI

แซม อัลต์แมน CEO ของ OpenAI บอกบนโซเชียลมีเดียว่า การที่ผู้ใช้พิมพ์คำสุภาพอย่าง กรุณาหรือขอบคุณ ให้กับ ChatGPT
Android XR

Google เปิดตัวแว่นอัจฉริยะ มากับผู้ช่วย AI บน Android XR

Google สาธิตแว่นตาอัจฉริยะรุ่นต้นแบบล่าสุดที่งานประชุม TED2025 ภายในขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการ Android XR

ครั้งแรกในโลก จีนเปิดสนามแข่งวิ่ง หุ่นยนต์ฮาล์ฟมาราธอน

หุ่นยนต์แพ้คน...การแข่งขันวิ่งฮาล์ฟมาราธอนในประเทศจีนสร้างสีสันด้วยการเปิดตัวหุ่นยนต์สองขาวิ่งแข่งกับมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลก ทีมจากบริษัทและมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ส่งหุ่นยนต์จำนวนกว่า 20 ตัวเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ซึ่งเป็นการแสดงถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของจีน หุ่นยนต์ถูกนำมาแข่งขันกับนักวิ่ง 12,000 คนโดยวิ่งข้างกันในเลนที่มีรั้วกั้น หลังจากออกตัวหุ่นยนต์จะต้องวิ่งบนทางลาดเล็กน้อยและสนามแข่งที่คดเคี้ยวเป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ระวังทางนักวิ่งสามารถแวะดื่มน้ำส่วนหุ่นยนต์ก็แวะเติมแบต (สำรอง) ได้เช่นกัน หุ่นยนต์ตัวแรกที่วิ่งเข้าเส้นชัยคือ Tiangong Ultra ซึ่งสร้างขึ้นโดยศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์มนุษย์แห่งปักกิ่ง  โดยวิ่งเข้าเส้นชัยได้ในเวลา 2 ชั่วโมง 40 นาทีแพ้นักวิ่งชาวอูกันดาที่เข้าเส้นชัยในเวลา 1 ชั่วโมง 2 นาทีเท่านั้น การแข่งขันนี้ชี้ให้เห็นถึงความชาญฉลาดของหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนามาได้ค่อนข้างไกลและจีนหวังว่าจะเป็นการเปิดประตูในภาคอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ได้ในอนาคต https://youtu.be/lMPngy86OAM?si=ZOdcDp5hnb9Ipudp ที่มา : edition.cnn  #TechhubUpdate

รอมานาน NASA จับภาพแสงออโรร่า ครั้งแรกบนดาวเนปจูน

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ของ NASA จับภาพแสงออโรร่าบนดาวเนปจูนได้เป็นครั้งแรกนับว่าเป็นแสงออโรร่าที่รอคอยมานานที่สุด แสงออโรร่าเกิดจากอนุภาคพลังงานสูงซึ่งมักมีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ติดอยู่ในสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์และพุ่งชนชั้นบรรยากาศด้านบนพลังงานที่ปล่อยออกมาจึงทำให้เกิดแสงออโรร่า ในปี 1989 นักดาราศาสตร์ยืนยันว่ามีแสงออโรร่าบนดาวเนปจูนจริงจากการบินผ่านของยานโวเอเจอร์ 2 แต่ก็ยังไม่สามารถเก็บภาพไว้เป็นหลักฐานได้และเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับนักดาราศาสตร์  เพราะปัจจุบันมีภาพแสงออโรร่าจากดาวเคราะห์มากมายทั้งดาวพฤหัสดาวเสาร์และดาวยูเรนัสแต่ดาวเนปจูนคือชิ้นส่วนที่ขาดหายไปในการบันทึกระบบสุริยะ ล่าสุดกล้องเจมส์เวบบ์ได้เผยภาพถ่ายดาวเนปจูนปรากฏแสงเหนือเป็นรอยด่างที่แสดงเป็นสีฟ้าอมเขียวแผ่รังสีออกมาแสดงให้เห็นว่าชั้นบรรยากาศมีไอออนไตรไฮโดรเจน (H3+) การตรวจจับแสงเหนือของดาวเนปจูนจะช่วยให้ NASA เข้าใจเรื่องสนามแม่เหล็กเพื่อค้นหาคำตอบบริเวณที่อยู่ห่างไกลในระบบสุริยะได้มากขึ้น ที่มา : science.nasa #TechhubUpdate
PoX

เร็วติดจรวด จีนสร้างหน่วยความจำ PoX ทำลายทุกสถิติความเร็ว

PoX สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้ในเวลาเพียง 400 พิโควินาที (พิโควินาที คือ หนึ่งส่วนล้านล้านของวินาที เร็วมากๆ)
สถานการณ์ CVE

เริ่มสั่นคลอน จับตา สถานการณ์ CVE กระทบความมั่นคงโลกไซเบอร์

ตอนนี้ วงการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกต่างจับตามองสถานการณ์ของโปรแกรม Common Vulnerabilities and Exposures หรือ CVE อย่างใกล้ชิด หลังจากมีคำเตือนว่าเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งบริหารจัดการโดยองค์กร MITRE กำลังจะหมดลง โชคดีที่หน่วยงาน CISA ของสหรัฐฯ ได้ต่ออายุสัญญาออกไปอีก 11 เดือนในนาทีสุดท้าย ทำให้โปรแกรมสำคัญนี้ยังคงดำเนินต่อไปได้ แต่เหตุการณ์นี้ก็จุดประกายคำถามสำคัญว่า ทำไมเราจึงต้องกังวลเกี่ยวกับ CVE และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นคืออะไรกันแน่ CVE เปรียบเสมือนตัวติดตามบั๊กสากล...

Hot Issue