Facebook ยอมจ่าย 1 พันล้านเหรียญ หนุนครีเอเตอร์สร้างคอนเทนต์

ล่าสุด Mark Zuckerberg ในโพสต์ข้อความว่า Facebook เตรียมงบประมาณเอาไว้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนคนทำคอนเทนต์ โดยเฉพาะเนื้อหาที่ได้รับความสนใจ บน Facebook และ Instagram

โปรแกรมครีเอเตอร์ใหม่ของ Facebook กำลังเริ่มต้นและจะสิ้นสุดในปี 2022 โดยครีเอเตอร์ที่เผยแพร่เนื้อหาบน Facebook และได้รับเชิญให้เข้าร่วมโปรแกรมใหม่ จะสามารถรับรายได้เพิ่มจากส่วนแบ่งรายได้โฆษณาปกติ เช่น โฆษณาในสตรีมที่แทรกในคลิปวิดีโอ

ขณะที่ครีเอเตอร์เกมบน Facebook สามารถรับรายได้เพิ่มผ่าน Stars Challenges คล้ายกับ Super Chat ของ YouTube หรือ Twitch’s Bits ช่วยให้สตรีมเมอร์มีรายได้รายได้เพิ่มจากการบริจาคโดยตรงจากแฟนคลับ และผู้ติดตาม 

ไม่เกิน 3 เดือนข้างหน้านี้ Facebook จะเริ่มให้โบนัสเป็นทางการเงินแก่ครีเอเตอร์ที่ทำเป้าหมาย Stars ได้สำเร็จ ซึ่งที่ผ่านมาจะจำกัดแค่ครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากและได้รับเชิญเท่านั้น แต่สำหรับโปรเจคใหม่นี้ คาดว่าจะเพิ่มโอกาสให้กับครีเอเตอร์รายย่อยเข้าร่วมได้มากขึ้น

รวมถึง Facebook กำลังเปิดตัวการสร้างรายได้พิเศษกับโฆษณาบน IGTV เพื่อจูงใจให้ครีเอเตอร์สร้างคอนเท้นต์วีดีโอแบบยาวบน Instagram มากขึ้น ยังไม่รวมรายได้จาก Reels Summer ที่เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อแข่งขันกับ TikTok ที่กวาดกระแสความนิยมวิดีโอสั้นไปอย่างรวดเร็ว

การลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับครีเอเตอร์ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ Facebook เพราะหากมองย้อนกลับไปในปี 2560 ยุคของการแข่งขันระหว่าง Facebook กับ YouTube ได้มีการพูดคุยกับครีเอเตอร์จำนวนมากถึงการเข้าร่วมเป็นพันธมิตร แต่ดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะ Facebook ไม่ได้ผลักดันมากพอ เมื่อเทียบกับ YouTube

แต่หลังจากการเปิดตัว Facebook Watch สำหรับคอนเทนต์ VDO โดยเฉพาะในปี 2560 ก็เริ่มมองเห็นการลงทุนเพื่อดึงครีเอเตอร์เข้ามาร่วมสร้างคอนเทนต์มากขึ้น อย่างเคสที่ Facebook ได้ประกาศกองทุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับผู้สร้างเกม Black เพื่อสร้างเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม

กับความพยายามครั้งล่าสุดของ Facebook ที่เตรียมสร้างรายได้พิเศษเพิ่มเติมสำหรับผู้สร้างเนื้อหาตลอดทั้งปี ต้องวัดใจกันต่อไปว่าโบนัสพิเศษจะสร้างแรงจูงใจให้ครีเอเตอร์ได้หรือไม่ ในยุคที่หลายคนเริ่มสละเรือจากเฟซบุ๊คไปพึ่งพาแพลตฟอร์มอื่นที่แบ่งปันรายได้ให้มากกว่า

#TechhubUpdate #Facebook #Creator