7 เทคนิค ใช้งาน IG ให้ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวโดนแฮก

ต้องยอมรับว่าในแต่ละวันมีผู้ใช้ Instagram ทั่วโลกจำนวนมาก แต่การใช้ Instagram เพื่อความพึงพอใจและประโยชน์ต่างๆ อาจพบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้เชี่ยวชาญจาก Kaspesky บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้เคล็ดลับ 7 วิธี ที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนบุคคลและบัญชี Instagram ครับ
.
1. Account privacy level – ให้ความสนใจกับระดับความเป็นส่วนตัวของบัญชี Instagram ของตัวเอง ซึ่งจะช่วยป้องกันอาชญากรไซเบอร์ไม่ให้ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ตัวเลือกที่ดีคือตั้งค่าบัญชีเป็นแบบส่วนตัว เพื่อให้ follower ที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้นที่จะเห็นโพสต์ของคุณได้
.
2. Online footprints – ตรวจสอบ ควบคุม และทำความสะอาดร่องรอยออนไลน์ของเรา ตัวอย่างเช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการชำระเงินออกจากบัญชี Instagram โดยสามารถดูคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีกำหนดค่านี้ได้ในแอป iOS และ Android นอกจากนี้การลบหมายเลขโทรศัพท์จะช่วยป้องกันไม่ให้คนแปลกหน้าติดต่อคุณได้ด้วยการโทร
.
3. Personal data – สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น และยังช่วยควบคุมข้อมูลที่คุณแชร์บนแพลตฟอร์ม เบื้องต้นให้ลบรายชื่อผู้ติดต่อ (contact) ที่ซิงโครไนซ์ไว้ ซึ่ง Instagram จะใช้รายชื่อนี้เพื่อแนะนำให้คุณติดตามบัญชีของคนที่คุณรู้จัก หรือเพื่อแสดงโฆษณาที่ตรงเป้าหมาย
.
4. Third-party applications – อีกทางเลือกหนึ่งคือการบล็อกแอปพลิเคชั่นของเธิร์ดปาร์ตี้ที่เชื่อมต่อกับบัญชี Instagram (เช่น แอปสำหรับการค้นหา follower แอปนับยอดไลค์ ฯลฯ) เนื่องจากแอปเหล่านี้อาจเข้าถึงข้อมูลโปรไฟล์ รูปภาพ และวิดีโอที่คุณโพสต์ รายการ subscription ต่างๆ การบล็อกแอปดังกล่าวจะกำจัดกิจกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตในบัญชี Instagram และลดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลได้
.
5. Password – อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชี Instagram และบริการอื่นๆ เพราะหากบัญชีใดบัญชีหนึ่งถูกขโมย บัญชีอื่นๆ จะไม่ได้รับผลกระทบ หากคุณคิดว่าการจำรหัสผ่านที่ยาวและไม่ซ้ำกันเป็นเรื่องยาก สามารถใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน (password manager) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้จดจำรหัสผ่านหลักเพียงอันเดียวได้
.
6. Trust but verify – ‘เชื่อถือได้แต่ก็ต้องตรวจสอบ’ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปกป้องข้อมูลและอุปกรณ์ส่วนบุคคล ลิงก์ที่เป็นอันตรายสามารถส่งมาจากเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือพันธมิตรเกมออนไลน์ที่บัญชีถูกโจมตีในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบลิงก์จากเพื่อนของคุณก่อนคลิกลิงก์นั้น คุณสามารถป้อนที่อยู่เว็บลงในเว็บเบราว์เซอร์ได้โดยตรง หากอีเมลมีลิงก์ ก่อนคลิกให้วางเมาส์เหนือลิงก์เพื่อดูว่าลิงก์นั้นถูกต้องหรือไม่
.
7. Scans and photos – ระวังให้มากเมื่อโพสต์ภาพสแกนและรูปถ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัตรประจำตัว ตั๋ว และเอกสารการเรียกเก็บเงิน ควรเก็บข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่และตารางการเดินทางให้เป็นข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลต่างๆ นี้สามารถใช้เพื่อปล้นเมื่อคุณใม่อยู่บ้าน หรือขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร
.
หากใครทำแล้วเวิร์ค มาบอกเล่าให้ฟังกันบ้างนะคับ