สัมภาษณ์ทีม CPCU Null ผู้ชนะเลิศ Thailand Open Hackathon 2017

จากการแข่งขัน Thailand Open Hackathon 2017 ในงาน Commart Work 2017 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มาดูคลิปสัมภาษณ์พิเศษกับ CPCU Null ทีมผู้ชนะเลิศกัน

สำหรับการแข่งขัน Thailand Open Hackathon 2017 หลายคนอาจยังสงสัยว่ามันคืองานอะไร แข่งเกี่ยวกับอะไร ต้องบอกก่อนว่า “Hackathon” ในที่นี้ ก็มาจากคำว่า Hacker นั้นเอง ซึ่งหมายถึงผู้แก้ไข คอยค้นหาช่องโหวและความผิดพลาดของระบบ ส่วนพวกที่คอยจ้องเจาะข้อมูลในทางมิชอบ พวกนี้จะถูกเรียกว่า “Cracker” ต่างห่าง เกริ่นซะยาว สรุปการแข่งขันนี้ก็คือ งานเฟ้นหาสุดยอดนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยในที่นี้เป็นระดับเยาวชน จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

ในการแข่งขันครั้งนี้ก็ได้ทาง dtac, ThaiBev และ Dell EMC มาเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ โดยจัดขึ้นที่งาน Commart Work 2017 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา 

รายละเอียดการแข่งขัน

1.ผู้เข้าแข่งขันจะมีไม่เกิน 24 ทีม (ทีมละ 4-6 คน) หากผู้เข้าสมัครเกิน 24 ทีม จะต้องมีการแข่งขันรอบคัดเลือกก่อน 1 รอบ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2560 โดยแต่ละทีมจะได้รับโจทย์คัดเลือก เพื่อทำมาจากที่บ้านและส่ง online โดยกรรมการจะคัดจากผู้ที่ส่งโปรแกรมโจทย์คัดเลือกมาทั้งหมด 28 ทีม (ทีมเข้ารอบ 24 ทีม และทีมสำรอง 4 ทีม) และประกาศผลผู้เข้ารอบในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560

2. ในวันแข่งจริง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีม จะต้องช่วยกันเขียนโปรแกรม เพื่อแก้ปัญหาจากข้อมูล (Big Data Problem) โดยจะมีข้อมูลตัวอย่าง ที่จะถูกส่งให้แต่ละทีมในรูปแบบไฟล์ csv แต่จะประกาศกลุ่มปัญหา (Problem Domain) ในวันแข่งจริง

3. ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด จะทำการแข่งขันเพื่อแก้ปัญหา 6 ข้อใหญ่ (ข้อละ 1 ชั่วโมง ตลอด 6 ชั่วโมง) ซึ่งเป็น ปัญหาที่มีคำตอบเป็นตัวเลขแน่นอน

4. เมื่อได้รับโจทย์แล้ว แต่ละทีมก็เขียนโปรแกรมที่ตัวเองถนัด (ภายใต้กลุ่มภาษาที่กำหนดไว้ในงาน)

5. และส่ง Source Code ของ ตัวโปรแกรมที่เขียน Online ไปที่ Server ที่ทางผู้จัดงานเตรียมไว้

6. Server จะทำการประมวลผลโปรแกรมดังกล่าว ด้วยข้อมูลจริงที่มีอยู่บนระบบ และเปรียบเทียบคำตอบที่ได้ และเวลาในการประมวลผล

7. การให้คะแนนของแต่ละทีม ขึ้นอยู่กับความแม่นยำของคำตอบที่แต่ละทีมหาได้ และ เวลาที่โปรแกรมในแต่ละ ทีมใช้ไปในการประมวลผล

8. ทั้ง 5 ทีม ที่ได้คะแนนดีที่สุดจาก 6 ข้อใหญ่ จะต้องทำโจทย์ รอบชิงชนะเลิศ อีก 2 ข้อ โดยเป็นโจทย์ ปลายเปิดที่ ไม่มีคำตอบแน่นอน เมื่อได้โปรแกรมแล้ว จะต้องทำการ Present แนวคิดและ Solution ให้กรรมการฟังเพื่อ ตัดสินหาทีมชนะเลิศ และ รองชนะเลิศ

  • รอบ 1 คัดจากทุกทีมเหลือ 24 ทีม (ทำ online)
  • รอบ 2 คัดจาก 24 ทีม เหลือ 5 ทีม (ในงาน วันที่ 4 พ.ย.2560 เวลา 8:00-15:00)
  • รอบ 3 รอบชิงชนะเลิศ ทั้ง 5 ทีม เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา และ Present แนวคิดให้กรรมการ

จากรายละเอียดการแข่งขัน ก็น่าจะทราบรูปแบบการแข่งกันแล้ว โดยหลัก ๆ คือการแก้โจทย์ระบบไอทีให้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดตามกติกา ส่วนมากจะหนักไปทาง Big Data พอควร ส่วนช่วงหลังที่ต้อง Present ก็คือทาง dtac จะให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดค้น “โปรโมชั่นเครือข่าย” ซึ่งจะค่อนข้างท้าทายกว่ารอบแรก เพราะต้องออกไปพูดเสนอต่อหน้ากรรมการด้วย

คุณรัฐเขต หาญชนะ Vice President, Head of Services Planning Unit จาก dtac กล่าวให้แรงบันดาลใจ ก่อนผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องไปวัดใจกับการพรีเซนต์ในรอบหลัง

หลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด ในที่สุดก็ได้ทีมผู้ชนะเลิศแล้วคือ CPCU Null จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่นี้ทาง Aripfan ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์น้อง ๆ ทีมนี้ด้วย โดยจะเป็นอย่างไรบ้างมาดูกันครับ

รายชื่อผู้ชนะ 5 ทีมที่ได้รับรางวัล Thailand Open Hackathon 2017 ได้แก่

  • รางวัลที่ 1 ทีม CPCU Null
  • รางวัลที่ 2 ทีม SIIT Dream Team
  • รางวัลที่ 3 ทีม Really
  • รางวัลชมเชย ทีม CSOO POLY และ ทีม “อะไรครับเนี่ยอ่านไม่ออก”