NASA ส่งยานสำรวจอวกาศ Juno เข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสหับดีได้สำเร็จแล้ว

เตรียมเผยโฉมปริศนาดาวพฤหัสหับดี หลังยานสำรวจอวกาศที่ชื่อว่า “Juno” ได้บินเข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสหับดี (Jupiter) เป็นที่เรียบร้อบแล้ว หลังใช้เวลาเดินทางมานานถึง 5 ปี !!

pia20703

ข้างในมีอะไรกันแน่ ? ใครที่เข้าหน้าแรกของ Google ช่วงนี้ อาจสงสัยว่า วันนี้เค้าฉลองอะไรกัน ? คำตอบคือ เมื่อช่วงวันที่ 4 ก.ค 59 เวลา 23.55 น. (ตามเวลาสหรัฐฯ) ทาง NASA ได้ถ่ายทอดเหตุการณ์สด หลังยานสำรวจอวกาศที่ชื่อว่า “Juno” ได้บินเข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสหับดี (Jupiter) เป็นที่เรียบร้อบแล้ว หลังใช้เวลานานนับ 5 ปี ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 5 ส.ค 54 ที่ผ่านมา

jupiter-with-labeled-interior-layers-4k

ภารกิจของยานสำรวจอวกาศ Juno คือ “ค้นหาความลับของดาวพฤหัสหับดี” ภายใต้ผิวของดาวที่ประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมจำนวนมากนี้ ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า หากไขปริศนาของดาวพฤหัสหับดีได้ ก็อาจทำให้รู้ถึงต้นกำเนิดของดวงดาวอื่น ๆ อีกด้วย เนื่องจากขนาดของดาวที่ใหญ่โตที่สุดในระบบสุริยะแห่งนี้เอง

ในการสำรวจ ทาง NASA จะทำการจุดระเบิดเครื่องยนต์ของยาน Juno เพื่อส่งยานลำนี้เข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสหับดี โดยตัวยานวนรอบดาวพฤหัสบดีทั้งหมด 37 รอบ ซึ่งต้องใช้เวลา 20 เดือนหลังจากนี้ โดยการวนรอบนั้น จะมีอยู่บางจังหวะ ที่ยานจะเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีประมาณ 5,000 กม. (หรือใกล้กว่านั้น) ด้วย ซึ่งอาจทำให้ทราบว่า “แกนของดาวดวงนี้” เป็นอะไรกันแน่ (ไม่แน่อาจได้รู้ข้อมูลของ “Great Red Spot” เพิ่มมากขึ้นก็ได้ รวมถึงดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของมันอีก 4 ดวงด้วย)

juno_science_instruments

สำหรับตัวยาวสำรวจอวกาศ Juno ภายในประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ตรวจจับรังสี ตรวจวัดแรงโน้มถ่วง วัดสนามแม่เหล็ก วัดพลังงานของอนุภาค หรือตรวจสอบว่า มีน้ำในดาวดวงนี้ไหม จะมีสัญญาณอะไรส่งมายังยานไหม ที่เหลือก็เป็น อุปกรณ์ส่งสัญญาณกลับมายังโลก และกล้องถ่ายภาพคุณภาพสูงเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ตัวยาน Juno จะทำการพลีชีพตัวเอง หลังเสร็จสิ้นภารกิจสำรวจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตัวยานจะทำการลดความเร็วลง จากนั้นก็จะปล่อยให้แรงดึงดูดของดาวพฤหัสหับดี ดึงเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาว ซึ่งตัวยานจะถูกเผาทำลายทันที ทั้งหมดนี้ เพื่อแลกกับข้อมูลอันเป็นประโยชน์มหาศาล ให้กับพวกเราหรือคนรุ่นหลัง ได้ศึกษาความลับของดาวดวงนี้กันต่อไปครับ… (Press F to Pay Respects)

ที่มา : NASA

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here