ภูเก็ต กับแผนการสู่ความเป็น Smart City ในปี 2020

การเดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต นอกจากการติดตามการแข่งขันเขียนโปรแกรม ACM-ICPC 2016 รอบ World Finals แล้ว แอดมินยังได้โอกาสรับทราบข้อมูลถึงโครงการ “Smart City” ที่ภูเก็ตจะเป็นจังหวัดแรกๆ ที่นำร่องเรื่องนี้ โดยคุณประชา อัศวธีระ ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA สำนักงานภาคใต้ ภูเก็ต เป็นผู้ให้ข้อมูลครับ

phuket-1
คุณประชา อัศวธีระ ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA สำนักงานภาคใต้ ภูเก็ต

คุณประชา เล่าว่า Smart City เป็นการยกระดับเมืองให้มีความน่าอยู่ ซึ่งแพลนของภูเก็ตที่กำหนดไว้จะเป็นการยกระดับใน 4 ด้าน ภายในปี 2020 ได้แก่ 1. ด้านความปลอดภัย 2. การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ 3. ด้านสุขภาพ 4. ด้านสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของการดำเนินโครงการ Smart City ในจังหวัดภูเก็ต จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. Smart Economy การสร้างอุตสาหกรรมที่สองขึ้นมารองรับกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากต้องยอมรับว่าภูเก็ตมีการเติบโตด้านเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวเพียงด้านเดียวมาโดยตลอด ซึ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเป็นแนวทางที่มีความเข้ากันได้เป็นอย่างดี โดย Smart Economy จะเข้ามาช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับภูเก็ต อาทิ

– เป็นแหล่งรวมนักพัฒนา ในลักษณะของ Research Center หรือ Innovation Center

– ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เกิดการใช้ Smart Technology มากขึ้น

2. Smart Living Community เป็นการสร้างสังคมน่าอยู่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

– ภูเก็ต Safe City (ทางบก) เป็นในเรื่องการส้รางความปลอดภัยด้วยการใช้กล้อง CCTV โดยปัจจุบันกล้อง CCTV ในภูเก็ตมีที่ใช้งานได้จริงอยู่ประมาณ 1,700 ตัว ซึ่งสิ่งที่เป็นปัญหามาโดยตลอด เป็นเรื่องของการเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกัน เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ต่างมีการทำงานแยกส่วนกันออกไป ดังนั้นแนวหน้าของ Smart Living จะเป็นรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง พร้อมยกระดับประสิทธิภาพให้เกิดระบบการวิเคราะห์ข้อมูลได้ ยกตัวอย่าง การใช้กล้อง CCTV คอยสังเกตการณ์ความปลอดภัย โดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในพื้นที่ ระบบจะสามารถรายงานข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเข้าตรวจสอบในสถานที่นั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การรักษาความปลอดภัยยังจะนำระบบ face recognition หรือระบบตรวจจับและวิเคราะห์ใบหน้า เข้ามาใช้ร่วมกับระบบฐานข้อมูลด้วย ซึ่งการดำเนินการจะนำร่องใน 2 พื้นที่สำคัญ ได้แก่ เทศบาลป่าตอง กับเทศบาลนครภูเก็ต

– ภูเก็ต Safe City (ทางน้ำ) เป็นการสร้างความปลอดภัยในด้านการเดินเรือสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันภูเก็ตมีระบบที่ทำให้รับทราบได้ว่ามีเรือในทะเลอันดามันอยู่เท่าไหร่ และการต่อยอดจะเป็นการนำอุปกรณ์ประเภท Smart Band ให้นักท่องเที่ยวได้่ใส่ก่อนลงเรือออกไปท่องเที่ยว โดยระบบของ Smart Band จะเชื่อมต่อกับพาสสปอร์ต สามารถตรวจจับระยะห่างระหว่างตัวท่องนักเที่ยวกับเรือในขณะดำน้ำได้ ศูนย์กลางสามารถตรวจเช็คได้ว่ามีนักท่องเที่ยวอยู่บนเรือจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการวิเคราะห์ถึงด้านความเป็นส่วนตัวที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเมื่อสวมใส่ Smart Band, การลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัว, การประสานงานกับบริษัทท่องเที่ยวในการนำเทคโนโลยีไปใช้กับนักท่องเที่ยว, ระบบเรือ ตลอดจนความรู้ ความใจของผู้นำการท่องเที่ยว

3. Smart Sensor เป็นเซนเซอร์สำหรับการตรวจสอบสภาพอากาศ ตรวจเช็คสภาพของน้ำทะเล ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีการเกิดสาหร่ายในทะเล อันเนื่องมาจากความผิดปกติของปฏิกิริยาทางเคมีในน้ำทะเล ซึ่งเราจะรู้และแก้ไขก็ต่อเมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว การเซนเซอร์แบบใหม่ภายใต้อุปกรณ์ประเภท IoT มาใช้ในทะเล จะเป็นการตรวจวัดค่าเคมีต่างๆ ในทะเล หากมีความผิดปกติ ระบบจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลาง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น เป็นต้น

คุณประชา เสริมว่า บุคลากร นับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการยกระดับภูเก็ตให้เป็น Smart City ซึ่งประชาชนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้น โดยแนวทางในการส่งเสริมเรื่องนี้ ได้แก่ การสร้าง Pubilc Free Wi-Fi ในระดับ Hi-Speed ที่จะประชาชนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและใช้ได้ด้วยความเร็วอย่างน้อย 20MB ซึ่งการดำเนินการในเรื่องนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้าง และต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้ทันกับช่วง Hi Season ของจังหวัดภูเก็ต

สำหรับการดำเนินการทั้งหมดจะเริ่มขึ้นภายในเดือนธันวาคม 2559 และจะดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้ภูเก็ตก้าวสู่ความเป็น Smart City ภายในปี 2020

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here