จับตายคาหนังคาเขา ตัวการทำเครื่องอืด (การใช้และดู Resource Monitor ของ Windows)

เรื่องเครื่องอืด เครื่องช้า ใครๆ ก็คงต้องเคยเจอกันมาทั้งนั้นแหละครับ คงไม่มีใครเถียง ไม่ว่าจะเกิดจากเครื่องที่ใช้งานมันเก่าจนจะต้องเกษียณอยู่แล้ว หรือเป็นเพราะสาเหตุอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งไวรัสเอง หรือมีโปรแกรมบางตัวที่คอยทำหน้าที่ (ที่ไม่ใช่หน้าที่หลักของมัน) ถ่วงความเจริญของเครื่องอยู่ก็ตาม แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าสาเหตุที่แท้จริงเป็นอย่างไร

จากประสบการณ์ที่เคยใช้ทั้งพีซีและแมคมา ผมบอกได้เลยว่าผมชอบพีซีมากกว่าก็ตรงเนี่ยะ ตรงที่เครื่องโน้ตบุ๊ก หรือเดสก์ทอปก็ตามมักจะมีไฟแสดงสถานะเช่นเปิดเครื่องอยู่นะ ฮาร์ดดิสก์กำลังทำงานอยู่นะ ถ้าเป็นโน้ตบุ๊กก็จะมีไฟล์ไวร์เลสส์แลนและแบตเพิ่มขึ้นมาอีก ทำให้เราสามารถสังเกตได้ว่ามีอะไรผิดปกติกับเครื่องเราหรือเปล่า แต่นอกจากไฟเหล่านี้แล้วยังมีวิธีการตรวจสอบอื่นๆ แบบละเอียดยิบกันอีก เรามาดูกันครับ

Task Manager

ผมเชื่อว่านี่คือวิธีการที่คลาสสิกที่สุดที่หลายๆ คนใช้งานกันเวลาเครื่องค้าง หรือเครื่องอืด เราจะต้องอยากรู้ทันทีว่ามีโปรแกรมอะไรรันอยู่บ้าง และตัวไหนที่มันสูบสเปกเครื่องของเราไปมากที่สุด มันเป็นโปรแกรมดี ที่ทำงานหนักอย่างสมเหตุสมผลเพื่อเรา หรือมันเป็นไวรัสกันแน่

วิธีการง่ายๆ กับการใช้งาน Task Manager มีดังนี้ครับ

101

1. คุณสามารถเลือกกดปุ่ม Ctrl + Alt + Del เหมือนความเคยชินครั้งเก่าก่อนเพื่อให้ได้เมนูระบบขึ้นมา แล้วค่อยเลือก Task Manager หรือจะกดปุ่ม Ctrl + Alt+ Esc เพื่อเรียก Task Manager ขึ้นมาตรงๆ เลยก็ได้

102

2. ที่หน้าต่าง Task Manager เราจะเห็นรายชื่อของโปรแกรมที่อยู่ Foreground คือทำงานเบื้องหน้า หรือก็คือหน้าต่างที่เราเปิดอยู่นั่นเอง เราจะได้เห็นสถานะว่าตัวไหน Active อยู่ และตัวไหน Not Response ซึ่งตัวที่ Not Response หรือไม่ตอบสนองนี่แหละ ส่วนใหญ่จะเป็นตัวการทำเครื่องอืด เช่น แฮงก์ หรือพยายามทำงานบางอย่างซ้ำๆ วนๆ ไปจนเครื่องเราอืดนั่นเอง

103

3. ต่อมาให้คลิกไปที่แท็บ Process ในแท็บนี้เราจะเห็นรายชื่อ Process ซึ่งก็คือโปรแกรมที่ทำงานอยู่ใน Background โดยจะสังเกตว่าเป็นชื่อไฟล์ที่ทำงานจริงๆ ไม่ใช่ชื่อโปรแกรมหรือชื่อหน้าต่าง ในหน้า Process นี้จะดูยากหน่อยว่าชื่อไหนคือโปรแกรมอะไร เอาเป็นว่าถ้าไม่มีประสบการณ์ก็ต้องเดากันล่ะครับ

104

4. ที่คอลัมน์ CPU จะแสดงว่า Process นั้นๆ ใช้ CPU ไปเท่าไหร่ รวมถึงคอลัมน์อื่นๆ เช่นเมโมรีด้วย แต่ตอนนี้ให้สนใจ CPU กันก่อนครับ ให้คลิกไปที่หัวคอลัมน์ มันจะทำการเรียกเอา Process ที่เรียกใช้ CPU เยอะที่สุดจากมากไปหาน้อย เพื่อความสะดวกของเราในการค้นหาว่าโปรแกรมตัวไหนกำลังเรียกใช้ซีพียูเราแบบสูบเลือดสูบเนื้อ

105

5. นอกจากคอลัมน์ CPU ที่ควรจะดูแล้ว อีกคอลัมน์หนึ่งก็คือ Disk ครับ ไม่ผิดหรอกครับ เพราะ Disk หรือฮาร์ดดิสก์ของเรานั้นถือว่าเป็นคอขวดของระบบ นั่นคือมันเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานช้าและถ่วงความเร็วของเครื่องอยู่แล้ว ถ้ามีโปรแกรมตัวไหนเรียกใช้งานมันเยอะๆ หรือมีโปรแกรมหลายตัวพยายามแย่งกันใช้งานมัน มันก็จะทำให้เครื่องอืดครับ สังเกตจากไฟล์ฮาร์ดดิสก์ที่ติดค้างก็ได้เช่นกัน วิธีการตรวจสอบทำเหมือนกับคอลัมน์ CPU เลยครับ สั่งให้เรียก Process ที่ใช้งานจากมากไปหาน้อย

Resource Monitor ยิ่งกว่าความเป็น Task Manager

หากสิ่งที่แนะนำไปเบื้องต้นยังไม่สามารถหาตัวการได้ คงต้องหาแบบละเอียดมากขึ้นครับ ต่อเนื่องจากที่เราได้ทำไว้ในขั้นตอนที่แล้ว คราวนี้ผมอยากให้ทุกคนคลิกไปที่แท็บ Performance ครับ ซึ่งหน้านี้จะเป็นหน้าที่บ่งบอกการทำงานด้านต่างๆ ของตัวเครื่อง ทั้ง CPU, Memory, Disk และ Network โดยแสดงเป็นกราฟอย่างสวยงาม (ยิ่งใน Windows 8 จะสวยขึ้นอีก)

200 201

1. วิธีการเรียก Resource Monitor ออกมาใช้งานนั้น หลังจากอยู่ที่แท็บ Performance แล้ว ให้คลิกที่ Open Resource Monitor ที่อยู่ด้านล่างของหน้าต่าง

202

2. หน้าต่าง Resource Monitor จะปรากฏขึ้นมา โดยเป็นข้อมูลที่คุณอาจจะดูไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ แต่อธิบายง่ายๆ ดังนี้ว่า มีการแบ่งทรัพยากรในเครื่องออกเป็น 4 ส่วน คือ CPU, Disk, Network และ Memory ซึ่งจะมีบอกระดับการถูกใช้งานอยู่ และเมื่อคลิกเปิดดูรายละเอียดในแต่ละส่วนก็จะมีรายละเอียดเพิ่มขี้นมาอีก

203

3. ในส่วนของ CPU นั้นจะคล้ายกับๆ ส่วนของ Performance ใน Task Manager นั่นแหละครับ ดังนั้นถ้าใน Task Manager ดูแล้วว่า CPU ถูกใช้งานไปเท่าไหร่ ในนี้ก็มักจะถูกใช้งานไปเท่านั้นเหมือนกัน ถ้าเครื่องจะอืดก็เพราะ CPU ถูกใช้งานไปเยอะ เช่นเกิน 80% เกือบตลอดเวลา คงต้องมาดูกันว่า Process ไหนกินซีพียูมากที่สุด

204

4. ในส่วนของ Disk มีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะมีเรื่องของปริมาณข้อมูลที่ถูกอ่านเขียน ซึ่งถ้าค่า Disk I/O ที่มีหน่วยเป็น Byte/sec (สีเขียว) ซึ่งถ้าเยอะก็แปลว่า Disk ทำงานหนักหรืองานล้นมือจนเครื่องอืด แต่บ่อยครั้งที่มีการถ่ายโอนข้อมูลไม่เยอะ แต่ “ถี่” เช่นมีโปรแกรมบางตัวเขียนโปรแกรมทีละ 1 Byte ล้านครั้งต่อวินาที ซึ่งคิดออกมาก็เป็นข้อมูลแค่ 1MB เท่านั้น แต่การเขียนข้อมูลล้านครั้งทำให้ Disk ทำงานหนักและเกิดงานล้นมือได้เหมือนกัน ซึ่งจุดนี้จะแสดงให้เห็นที่กราฟสีฟ้า หรือ Active Time นั่นเอง

205

5. ส่วน Network นั้นแทบจะไม่เป็นสาเหตุของเครื่องอืด แต่เน็ตอืดมากกว่า และส่วนสุดท้ายคือ Memory คือต้องดู Physical Memory (กราฟสีฟ้า) หรือแรม ซึ่งถ้าถูกใช้งานเกิด 80-90% แสดงว่าแรมถูกใช้งานไปจนหมดและกำลังเกิดการใช้ Virtual Memory ทดแทน ทำให้ภาระหนักตกไปอยู่กับ Disk เหมือนเดิม ซึ่งคุณจะได้เห็นได้เลยจากข้อ 4 ที่พูดไปแล้วนั่นเอง

คราวนี้ก็คงทราบวิธีการดูแล้วใช่ไหมครับว่า ตัวการที่ทำให้เครื่องของเราอืดนั้นคืออะไร?

เรียบเรียงโดย Toffee Latte

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here