วิธีเริ่มต้นเป็นนักพัฒนาแอพ Android!

ระบบ Android ขณะนี้คงไม่มีใครเถียงว่าคือระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด ในวันนี้เราจะมาดูกัน ก่อนจะเป็นนักพัฒนาแอพฯ Android ได้นั้น เราจะต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง


Android คืออะไร?
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ก่อนว่าระบบ Android คืออะไร ง่ายๆ ให้เราลองนึกถึงคอมพิวเตอร์ที่บ้านว่าตอนนี้ใช้ Windows อะไรอยู่ บางคนก็ตอบว่า Windows 7, Windows Vista บางคนก็ตอบว่า Windows XP หรือบางคนตอบว่า ผมไม่ใช้ Windows ผมใช้ Linux ซึ่งจะเป็น Linux รุ่นไหนก็ว่ากันไป… Windows หรือ Linux เราเรียกว่า ระบบปฏิบัติการ (OS) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ลง Windows ก็จะเปิดเครื่องเพื่อทำงานไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น โทรศัพท์มือถือ SmartPhone ก็เช่นเดียวกัน มันต้องการ OS ซึ่งใน iPhone นั้นบริษัทแอปเปิลใช้ OS ที่ชื่อว่า iOS ในขณะที่บริษัทกูเกิ้ล (Google) บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอทีอีกราย ได้พัฒนา OS ที่มีชื่อว่า Android (แอนดรอยด์) ซึ่ง Android (แอนดรอยด์) เวอร์ชัน 1.0 ได้ถูกปล่อยออกมาใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ 2008

แอนดรอยด์ (Android) เป็นซอฟแวร์ที่มีโครงสร้างแบบเรียงทับซ้อนหรือแบบสแต๊ก (Stack) ซึ่งรวมเอาระบบปฎิบัติการมิดเดิลแวร์ และแอพพลิเคชันที่สำคัญเข้าไว้ด้วยกัน สำหรับทำงานบนอุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่

การทำงานของแอนดรอยด์มีพื้นฐานอยู่บนระบบลีนุกซ์ เคอร์เนล (Linux Kernel) ซึ่งใช้ Android SDK (Software Development Kit) เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชันบนระบบปฎิบัติการ Android โดยใช้ภาษา JAVA ในการพัฒนา

ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android เริ่มเข้ามามีความสำคัญและใกล้ตัวคนเรามากขึ้น โดยเฉพาะมือถือและแท็บเล็ต ในบทความนี้เราจะมากล่าวถึงการเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม Android ด้วยโปรแกรม Android Studio ซึ่งจัดเป็น Developer Tool ตัวใหม่ ของ Google ที่น่าสนใจ ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ eclips ที่เป็น Developer Tool ในปัจจุบัน

image4
สามารถพัฒนาอะไรได้บ้างใน Android Studio
การพัฒนาแอพพลิเคชันบน Android มีไลบารี (Library) การใช้งานมากมายที่อำนวยความสะดวกให้แก่นักพัฒนา ในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างเฉพาะไลบารีที่น่าสนใจ

image2
ไลบารี (Library) สำหรับใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชันจะมีโครงสร้างเป็นมาตรฐาน ซึ่งภายในไลบารีนั้นจะมีโค้ดที่นำกลับมาใช้ได้ (Reusable) อยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้นักพัฒนาประหยัดเวลาในการพัฒนาแอพพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างมากมาย เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องเขียนโค้ดเดิมซ้ำๆ อีก เมื่อมีการพัฒนาแอพพลิเคชันใหม่ หรือแอพพลิเคชันที่มีฟังก์ชันการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นไลบารีนี้จะทำหน้าที่หลักคือ การนำกลับมาใช้หรือพัฒนาต่อยอดการทำงานหลักให้ดีขึ้นนั่นเอง
– Dalvik Virtual Machine (VM) เป็นส่วนการสร้างเครื่องจำลองแบบเสมือนที่มีการออกแบบให้เหมาะสมกับอุปกรณ์
– Integrated Browser เป็นการผนวกกับ Web Browser เข้าไว้กับแอนดรอยด์
– Optimized Graphic เป็นส่วนรองรับการทำงานแบบกราฟิก ทั้งในส่วน 2 มิติและ 3 มิติ
– SQLite เป็นส่วนสนับสนุนการทำงานกับฐานข้อมูล
– Media Support เป็นส่วนรองรับการทำงานแบบสื่อประสม เช่น วีดีโอ รูปภาพ เสียง
– GSM Telephony เป็นส่วนรองรับการทำงานบนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ GSM (Global System for Mobile Communications)
– Bluetooth, EDGE,3G,WiFi เป็นส่วนรองรับการทำงานกับ Bluetooth, EDGE, 3G และ WiFi
– Camera, GPS, Compass, Accelerometer เป็นส่วนรองรับการทำงานของระบบกล้องถ่ายรูป, ระบบระบุตำแหน่งบนโลก, เข็มทิศ, การวัดอัตราความเร่ง
– Rich Development Environment เป็นส่วนรองรับฟังก์ชันต่างๆ ในการพัฒนาแอพพลิเคชัน เช่น Emulator, Debugging tool และ Plugin ใน Android Studio

สิ่งที่จำเป็นต้องมี
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ Core i3 กับ Ram 4GB ขึ้นไป เนื่องจากโปรแกรมนี้เวลาใช้ Simulation ค่อนข้างกินแรมมาก
2. พื้นฐานภาษา JAVA
3. อุปกรณ์โทรศัพท์หรือแท็บเล็ตที่มี OS Android ตั้งแต่เวอร์ชัน 2.1 (Eclair) ขึ้นไป
4. โปรแกรม Android Studio โหลดได้จาก http://developer.android.com/sdk/installing/studio.html
5. โปรแกรม Java Platform (JDK) โหลดได้จาก http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/index.html
6. Driver ADB ของอุปกรณ์ที่จะมารันทดสอบโปรแกรมที่เราเขียน

และนี่คือการเตรียมตัวง่ายๆก่อนการก้าวเป็นนักพัฒนาแอพฯ Android ในอนาคต

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here