เร่งขับเคลื่อนนวัตกรรมของภาครัฐในประเทศไทย

บทความโดย โดย อีริค คอนราด กรรมการผู้จัดการสำหรับกลุ่มลูกค้าภาครัฐของ AWS ในภูมิภาคอาเซียน

ในวันนี้ผมมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (Ministry of Digital Economy and Society: MDES) ให้ความร่วมมือในการลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่ครอบคลุมและแพร่หลายมากที่สุดในโลก ในการสนับสนุนการปฏิรูประบบดิจิทัลของภาครัฐในประเทศไทย ด้วยบันทึกความเข้าใจนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยและหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐจะพิจารณาให้ AWS มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud) รวมถึงบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ส่วนกลางสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ

บันทึกความเข้าใจนี้จะช่วยให้ AWS สามารถมีส่วนร่วมช่วยให้ภาครัฐยกระดับระบบไอทีให้ทันสมัย โดยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับโลก มาช่วยหน่วยงานทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กในประเทศไทย สามารถใช้บริการด้านคลาวด์ ที่เป็นมาตรฐานระดับโลก โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีเสถียรภาพและความทนทานสูง เป็นผู้นำในด้านความสามารถและบริการด้านความปลอดภัย การมีบริการที่คลอบคลุมในเชิงกว้างและเชิงลึกมากกว่า 200 บริการ เพื่อช่วยให้ภาครัฐสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรม ประหยัดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน

นอกจากนั้นภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ ภายในปีแรก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยจะทำงานร่วมกับภาครัฐและ AWS เพื่อดำเนินโครงการนำร่องที่จะใช้งานบน AWS ผ่านบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ โครงการนำร่องเหล่านี้จะช่วยให้เห็นถึงความรวดเร็วที่หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้เทคโนโลยีคลาวด์เพื่อสร้างและส่งมอบบริการต่าง ๆ ได้สำเร็จ

ขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

การประกาศบันทึกข้อตกลงในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของ AWS ในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ของภาครัฐตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในด้านดิจิทัล ที่มีแนวทางให้ภาครัฐรวมถึงรัฐวิสาหกิจสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อการให้บริกาประชาชนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และแก้ปัญหา ที่สำคัญต่าง ๆ ในสังคม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ที่บริษัทอเมซอน ได้จัดตั้งสำนักงานในประเทศไทยเพื่อรองรับลูกค้าในประเทศของ Amazon และ AWS เราได้สร้างทีมงาน AWS Public Sector ประจำประเทศไทยโดยเฉพาะ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมให้กับลูกค้าและพันธมิตรคู่ค้ากลุ่มภาครัฐในประเทศ (ซึ่งรวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานด้านการศึกษา และหน่วยงานด้านสาธารณสุข) ลูกค้าของ AWS ในประเทศไทย มีทั้งองค์กรภาครัฐขนาดใหญ่ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รัฐบาลไทย และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยบริษัทชั้นนำของประเทศไทย อาทิ แอมพอส, บิทคับ, กลุ่มเซ็นทรัล, กสิกร บิซิเนส – เทคโนโลยี กรุ๊ป, เอสซีบี อบาคัส, โรบินฮู้ด เจริญโภคภัณฑ์อาหาร และอีกมากมาย

เครือข่ายพันธมิตรคู่ค้า AWS และสตาร์ทอัพที่กว้างขวางในประเทศไทย จะช่วยเร่งการสร้างนวัตกรรมด้านการบริการประชาชน และช่วยให้รัฐบาลสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เครือข่ายพันธมิตรคู่ค้าของ AWS (AWS Partner Network: APN) ประกอบด้วยพันธมิตรที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีและพันธมิตรที่ให้คำปรึกษามากมาย ที่สามารถช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ สร้างและส่งมอบโซลูชันที่ออกแบบมาเฉพาะตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน ตลอดจนสนับสนุนการโยกย้ายปริมาณงานไปยัง AWS  โดยมีตัวอย่างของพันธมิตรที่ให้บริการด้านเทคโนโลยี คือ 2C2P, Amity และ Omise และพันธมิตรที่ให้คำปรึกษา ได้แก่ โทรคมนาคมแห่งชาติ (National Telecom: NT), True IDC, G-Able และ Dailitech ตลอดจนบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก เช่น Deloitte และ Accenture

สนับสนุนลูกค้าในการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล

จากรายงานการศึกษาโดย AlphaBeta พบว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีบุคลากร 149 ล้านคน ที่นำทักษะด้านดิจิทัลมาใช้ในการทำงานของพวกเขาในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการการประมวลผลคลาวด์ขั้นสูงและทักษะด้านข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายในปี 2568 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดสำหรับทักษะด้านดิจิทัลทั้งหมดที่ได้คาดการณ์ไว้

เพื่อช่วยเร่งสร้างนวัตกรรมร่วมกับรัฐบาลไทย AWS จะร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ในวางแผนพัฒนาทักษะและให้การสนับสนุนในการฝึกอบรมพนักงานมากกว่า 1,200 คน โดย AWS จะจัดหลักสูตรดิจิทัลแบบออนดีมานด์และอำนวยความสะดวกในการจัดอบรม เพื่อให้พนักงานภาครัฐสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการนำเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ตัดสินใจในการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนได้ดียิ่งขึ้น และสร้างบริการใหม่ ๆ เพื่อการบริการประชาชนที่ดีขึ้น

โครงการริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ AWS ในการช่วยแก้ปัญหาช่องว่างด้านทักษะการใช้ดิจิทัล (ICT Skill) โครงการพัฒนาทักษะและการวัดผลทักษะด้านคลาวด์ (AWS Training and Certification) สามารถช่วยให้ผู้เรียนทุกคนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาไปจนถึงวัยทำงาน สามารถเรียนรู้การใช้คลาวด์ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมฟรีทางออนไลน์ เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ AWS เสนอหลักสูตรฝึกอบรมดิจิทัลฟรีกว่า 30 หลักสูตรในภาษาไทย ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น พื้นฐานระบบคลาวด์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล ความปลอดภัย และอื่น ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ทักษะด้านคลาวด์ได้

AWS ยังมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อช่วยสร้างทักษะด้านระบบคลาวด์ที่เป็นที่ต้องการให้แก่นักเรียน ก่อนเข้าสู่วัยทำงานผ่าน AWS Academy ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านคลาวด์ที่หน่วยงานอุดมศึกษาสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 8 แห่งในกรุงเทพฯ เชียงราย และปทุมธานี ได้รวมหลักสูตร AWS Academy ไว้ในหลักสูตรของสถาบัน นอกจากนี้ AWS ยังทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ โดยตรง เพื่อช่วยสร้างทักษะด้านระบบคลาวด์ตามความต้องการองค์กร เราได้ทำงานร่วมกับลูกค้าในประเทศไทยอย่างกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย (SCG) เพื่อฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์ให้แก่บุคลากรของบริษัท

เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์สาธารณะระดับโลก

ด้วยความร่วมมือครั้งนี้ รัฐบาลไทยสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ AWS ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 26 ภูมิภาค (region) และ 84 Availability Zone (AZ) ทั่วโลก ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น สิงคโปร์ ซิดนีย์ มุมไบ โอซาก้า โตเกียว กรุงโซล และจาการ์ตา โครงสร้างพื้นฐานของ AWS ให้บริการคลาวด์ที่ครอบคลุมและเชี่ยวชาญมากที่สุดแก่ลูกค้า ด้วยบริการที่มากกว่า 200 รายการ ด้านการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล เครือข่าย การวิเคราะห์ แมชชีนเลิร์นนิ่งและปัญญาประดิษฐ์ การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะ (Internet of Things: IoT) อุปกรณ์เคลื่อนที่ ความปลอดภัย ไฮบริด เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) การพัฒนาสื่อและแอปพลิเคชัน การปรับใช้ และการจัดการ

นอกจากนั้น ลูกค้าในประเทศไทยจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ปลายทาง (Edge computing) ต่างๆจากAWS เช่น Amazon CloudFront ซึ่งเป็นป็นบริการเครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา (CDN) ทั่วโลก ที่สร้างขึ้นโดยมีประสิทธิภาพสูง ความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกให้แก่นักพัฒนา AWS Outpost เป็นบริการที่นำ API พร้อมทั้งบริการและเครื่องมือต่าง ๆ จากระบบคลาวด์ของ AWS ลงมายังระบบ on-premise AWS เตรียมเพิ่มบริการใหม่ที่มีชื่อว่า AWS Local Zone ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นนำเอาการประมวลผล การจัดเก็บช้อมูล ดาต้าเบส และบริการอื่นๆ บางตัว มาไว้ใกล้กับลูกค้ามากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานที่ต้องความเร็วของการรับและส่งกลับของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางต่ำมากๆ เพียงหลักหน่วยของมิลลิวินาที

มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสูงสุด

AWS ให้ความสำคัญอย่างมากต่อความต้องการของลูกค้าในด้านความปลอดภัยในทุกแห่งที่ AWS ให้บริการ บริการของ AWS ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและปลอดภัยที่สุดบนระบบคลาวด์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐานหลักของ AWS สร้างขึ้นตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับการทหาร ธนาคารทั่วโลก และองค์กรอื่น ๆ ที่ต้องการความมั่นคงปลอดภัยระดับสูง AWS ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เดียวกันที่มีความปลอดภัยในการสร้างและดำเนินการในแต่ละภูมิภาค บริการต่าง ๆ ของ AWS และซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องได้รับการตรวจสอบและยอมรับว่าปลอดภัยเพียงพอสำหรับปริมาณงานที่เป็นความลับสูงสุด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าของ AWS ทั่วโลก

ความปลอดภัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยชุดเครื่องมือรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ที่ซับซ้อน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยกว่า 280 รายการ การปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตราฐานข้อบังคับ และการกำกับดูแลและฟีเจอร์ต่าง ๆ และบริการของ AWS ทั้ง 117 รายการที่จัดเก็บข้อมูลลูกค้าสามารถเข้ารหัสข้อมูลนั้นได้ นอกจากนี้ AWS ยังรองรับถึง 98 มาตรฐานความปลอดภัยและผ่านการรับรองการปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตราฐานข้อบังคับ ซึ่งมากกว่าบริการอื่น ๆ ได้แก่ PCI-DSS, HIPAA/HITECH, FedRAMP, GDPR, FIPS 140-2, SOC 1,2,3, CSA, ISO Standard และ NIST 800-171 ซึ่งช่วยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลแทบทุกแห่งทั่วโลก

ความมุ่งมั่นต่อประเทศไทยในระยะยาว

การดำเนินงานของ AWS ในประเทศไทยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา แสดงถึงความมุ่งมั่นระยะยาวของ AWS ต่อภาครัฐและประเทศชาติ และมุ่งหวังที่จะร่วมงานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยและภาครัฐของไทย ในการสร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลและเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อสนับสนุนการจัดการระบบและข้อมูลของรัฐบาลอย่างปลอดภัย

อีริค คอนราด กรรมการผู้จัดการกลุ่มลูกค้าภาครัฐของ AWS ในภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ AWS ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยรัฐบาลไทยในการปฏิรูปทางดิจิทัลของคลาวด์ภาครัฐ ซึ่งเป็นบริการระบบคลาวด์กลางสำหรับหน่วยงานของภาครัฐ กระทรวงดิจิทัลฯและภาครัฐบาลของไทยจะสามารถใช้บริการด้านคลาวด์ของ AWS ที่มีบริการที่คลอบคลุมในเชิงกว้างและเชิงลึกมากกว่า 200 บริการ มีความสามารถด้านความปลอดภัยที่โดดเด่นในวงการอุตสาหกรรม และมีมาตรฐานระดับโลก เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนที่มีความทันสมัยและประหยัดค่าใช้จ่าย และAWS จะนำโครงการพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ให้แก่ประชาชนมาใช้เพื่อช่วยสร้างทรัพยากรของชาติที่มีความรู้ และทักษะด้านดิจิทัล เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญต่างๆ ในสังคมอีกด้วย”